เอกสารตัวเขียน ของ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า_ฉบับหลวงประเสริฐ

เอกสารตัวเขียน ชุดธนบุรี

สมุดไทยที่ได้มามีอยู่สามชุด

  • ชุดอยุธยา คือ ชุดที่หลวงประเสริฐอักษรนิติ์มอบให้หอพระสมุดวชิรญาณเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2450 ตามที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงระบุใน ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 1[8] แต่ทะเบียนของหอสมุดแห่งชาติระบุว่า เป็นวันที่ "19/3/2450" (19 มีนาคม พ.ศ. 2450)[18] ชุดนี้เป็นสมุดไทยดำหนึ่งเล่ม เขียนด้วยหมึกสีเหลืองทำจากหรดาล ลายมือสมัยกรุงศรีอยุธยา มีรอยถูกฝนชื้น และหมึกลบเลือนไปหลายแห่ง[8] หอสมุดแห่งชาติขึ้นทะเบียนว่า "พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เรื่อง ลำดับศักราช สมัยกรุงศรีอยุธยา (พงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐฯ) เลขที่ 30 มัดที่ 2 ตู้ 111 ชั้น 1/1 (ตัวหรดาล เขียนครั้งอยุธยา)"[1]
  • ชุดธนบุรี ได้มาเมื่อปี พ.ศ. 2456 เป็นสมุดไทยดำสองเล่มต่อกัน เขียนขึ้นเมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2317 ในรัชกาลสมเด็จพระกรุงธนบุรี แต่เนื้อหาเท่ากับฉบับที่หลวงประเสริฐอักษรนิติ์ได้มานั้นเอง[8] สมุดชุดนี้อักษรยังสมบูรณ์ดี จึงมีประโยชน์ที่สามารถใช้สอบทานกับสมุดของหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ซึ่งตัวอักษรเลือนไปหลายแห่งแล้ว[8] ในการพิมพ์ ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 เมื่อ พ.ศ. 2542 กรมศิลปากรระบุว่า สมุดชุด พ.ศ. 2317 นี้หาไม่พบแล้ว[1] อย่างไรก็ดี สำนักนายกรัฐมนตรีเคยนำสมุดชุดนี้ออกพิมพ์ โดยคงการเขียนสะกดคำไว้ตามเดิม พิมพ์เป็นส่วนหนึ่งของ ประชุมจดหมายเหตุ สมัยอยุธยา ภาค 1 เมื่อ พ.ศ. 2510[20]
  • ชุดรัตนโกสินทร์ หรือ ชุดรัชกาลที่ 1 คือ ชุดที่คุณหญิงปทุมราชพินิจจัย (ปทุม บุรณศิริ) มอบให้แก่หอสมุดแห่งชาติเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2511[18] เป็นสมุดไทยดำ เขียนด้วยดินสอขาว[18] อาลักษณ์ลงหมายเหตุไว้ว่า อาลักษณ์ชื่อ ชุม และเขียนจบ ณ วันจันทร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 1 ปีมะแม จ.ศ. 1149 ตรงกับวันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2330[19] ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช[18] หอสมุดแห่งชาติขึ้นทะเบียนว่า "พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ลำดับศักราชกรุงศรีอยุธยา จ.ศ. 686–966 เลขที่ 30/ก มัดที่ 2 ตู้ 111 ชั้น 1/1 (ตัวดินสอขาว คัดลอกครั้งรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)"[1]

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชวังต้องห้าม พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังดุสิต พระราชวังสนามจันทร์