หมายเหตุ ของ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า_ฉบับหลวงประเสริฐ

  1. ^ เช่น มีผู้วิจารณ์ว่า แฟรงก์เฟอร์เทอร์แปล "มหาธรรมราชา" ว่า "Mahādharmarājā [of Chiengmai]" ("มหาธรรมราชา [แห่งเชียงใหม่]")[43] แต่ที่จริงแล้วเป็นกษัตริย์สุโขทัย คือ พระมหาธรรมราชาที่ 2,[44] ข้อความ "หมื่นณครรให้ลอกเอาทองพระเจ้าลงมาหุ้มดาบ" แฟรงก์เฟอร์เทอร์แปลว่า "Hmün Nakhon presented gold threads to cover the sword" ("หมื่นนครถวายดิ้นทองไว้หุ้มดาบ"),[45] ข้อความ "มหาราชท้าวลูก" แฟรงก์เฟอร์เทอร์แปลว่า "Maharaj [of Chiengmai] sent his son" ("มหาราช [แห่งเชียงใหม่] ส่งลูกชาย")[46] แต่ที่จริงแล้ว "ท้าวลูก" เป็นชื่อของมหาราช,[47] หรือคำว่า "เมืองหลวง" แฟรงก์เฟอร์เทอร์แปลว่า "capital city"[48] แต่ที่จริงแล้วหมายถึง เมืองที่ชื่อว่า "หลวง" หรือ "ห้างหลวง"[49]
  2. ^ เช่น แจน อาร์. เดรสส์เลอร์ (Jan R. Dressler) เห็นว่า มีหลายจุดที่แปลผิดอย่างประหลาด[50] ส่วนแบเรนด์ แจน เทอร์วีล (Barend Jan Terwiel) เห็นว่า การเลือกใช้คำบางคำในการแปลของคัชแมนชวนให้ต้องเลิกคิ้ว เช่น การแปล "เมือง (ฝรั่งเศส)" ว่า "Municipality (of Farangset)" อาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่า คนไทยมองฝรั่งเศสเป็น "municipality" เพราะขาดความรู้เกี่ยวกับอาณาเขตและความยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศส แต่ในความเป็นจริงแล้วราชสำนักอยุธยารับทราบเรื่องราวเกี่ยวกับยุโรปเป็นอย่างดียิ่งกว่าราชสำนักแห่งอื่น ๆ ในเอเชียอาคเนย์ หรือการที่คัชแมนมักแปลราชาศัพท์แบบตรงตัว เช่น แปล "พระประชวร" ว่า "holy illness" ก็ไม่สามารถใช้การได้ดีทุกกรณี[51]

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชวังต้องห้าม พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังดุสิต พระราชวังสนามจันทร์