การสำเร็จราชการแทนพระองค์ ของ พระเจ้าฌูเอาที่_6_แห่งโปรตุเกส

พระบรมสาทิสลักษณ์เจ้าชายฌูเอา วาดโดยดูมิงกุช ซึไกรา ราวปี พ.ศ. 2345 ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พระราชวังหลวงอาฌูดา

ในขณะเดียวกันสมเด็จพระราชินีนาถทรงปรากฏพระอาการอันเป็นสัญญาณถึงความวิปลาสเพิ่มขึ้น ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2335 คณะแพทย์จำนวน 17 คนได้วินิจฉัยและออกประกาศลงในเอกสารของสำนักพระราชวังว่า สมเด็จพระราชินีนาถไม่ทรงสามารถประกอบราชกิจในการบริหารราชอาณาจักรได้ และไม่มีความหวังที่พระอาการประชวรของพระนางจะดีขึ้น ในตอนแรกเจ้าชายฌูเอาทรงลังเลที่จะสืบต่อพระราชอำนาจของพระมารดาโดยทรงปฏิเสธความคิดที่จะให้พระองค์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อย่างเป็นทางการ นี่เป็นการเปิดทางให้สมาชิกขุนนางหลายคนจัดตั้งรัฐบาลโดยพฤตินัยผ่านทางสภา มีกระแสข่าวลือว่าเจ้าชายฌูเอามีพระอาการวิปลาสเช่นกันและอาจทรงถูกกีดกันไม่ให้ขึ้นครองราชย์ กฎหมายเกี่ยวกับการสำเร็จราชการแผ่นดินที่ใช้กันมานานระบุไว้ว่า ถ้าผู้สำเร็จราชการเสียชีวิตหรือไร้ความสามารถที่จะปกครองอาณาจักรไม่ว่าจากเหตุผลใด โดยที่บุตรยังมีอายุต่ำกว่า 14 ปี (ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ของเจ้าชายฌูเอาในขณะนั้น) รัฐบาลจะได้รับการบริหารโดยผู้ปกครองของบุตรเหล่านั้นหรือโดยภริยาของผู้สำเร็จราชการ (หากผู้ไม่มีการแต่งตั้งผู้ปกครองอย่างเป็นทางการ) ซึ่งในกรณีของเจ้าชายฌูเอาก็ได้แก่เจ้าหญิงแห่งสเปน ตอนนี้ความหวาดกลัว ความแคลงใจ และการสมรู้ร่วมคิดได้กลืนกินโครงสร้างสถาบันสูงสุดของชาติไว้หมดแล้ว[6]

ในเวลานั้น ข่าวการปฏิวัติฝรั่งเศสได้สร้างความสับสนและความหวาดกลัวแก่บรรดาราชวงศ์ต่าง ๆ ที่กำลังมีอำนาจอยู่ในยุโรป การสั่งสำเร็จโทษพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2336 โดยคณะปฏิวัติได้เร่งให้เกิดการตอบสนองจากนานาประเทศอย่างรวดเร็ว ในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2336 ได้มีการลงนามในอนุสัญญาฉบับหนึ่งระหว่างโปรตุเกสกับสเปน และในวันที่ 26 กันยายน โปรตุเกสก็ดำเนินการเป็นพันธมิตรกับบริเตนใหญ่ ข้อตกลงทั้งสองกำหนดให้มีความช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อต่อต้านฝรั่งเศสสมัยปฏิวัติ และนำทหารโปรตุเกส 6,000 นายเข้าสู่สงครามพิเรนีส (พ.ศ. 2336-2338) ซึ่งเริ่มต้นด้วยการเข้ารุกรานดินแดนรูซียงของฝรั่งเศส และจบลงด้วยความปราชัยโดยกองทัพปฏิวัติฝรั่งเศสสามารถยึดครองภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสเปนได้ เหตุการณ์นี้ได้สร้างปัญหาที่ละเอียดอ่อนทางการทูตเนื่องจากโปรตุเกสจะไม่สามารถทำสนธิสัญญาสันติภาพกับฝรั่งเศสได้หากไม่ยุติความเป็นพันธมิตรกับอังกฤษซึ่งมีส่วนพัวพันกับผลประโยชน์ต่าง ๆ ในดินแดนโพ้นทะเล ดังนั้นโปรตุเกสจึงต้องแสวงหาความเป็นกลางซึ่งก็เป็นไปอย่างเปราะบางและตึงเครียด[7][8]

หลังจากพ่ายแพ้สงครามพิเรนีส สเปนได้ยกเลิกการเป็นพันธมิตรกับโปรตุเกสและหันไปสร้างสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสภายใต้สนธิสัญญาบาเซิล ด้วยอังกฤษมีแสนยานุภาพเกินกว่าฝรั่งเศสจะโจมตีโดยตรงได้ ฝรั่งเศสจึงวางแผนที่จะจัดการโปรตุเกสซึ่งยังคงเป็นพันธมิตรกับอังกฤษแทน[9] ในปี พ.ศ. 2342 เจ้าชายฌูเอาทรงเข้ารับหน้าที่บริหารประเทศอย่างเป็นทางการในฐานะเจ้าชายผู้สำเร็จราชการในพระนามของพระราชมารดา[10] ในปีเดียวกันนายพลนโปเลียน โบนาปาร์ตได้ก่อรัฐประหารในฝรั่งเศสและบีบบังคับสเปนให้ยื่นคำขาดแก่โปรตุเกสให้ยกเลิกการเป็นพันธมิตรกับอังกฤษและให้ยอมอ่อนน้อมต่อผลประโยชน์ของนโปเลียน เมื่อเจ้าชายฌูเอาทรงปฏิเสธ ความเป็นกลางของประเทศจึงไม่อาจอยู่รอด กองทัพสเปนและฝรั่งเศสเข้ารุกรานโปรตุเกสในปี พ.ศ. 2344 เกิดเป็นสงครามออเรนจ์ (War of the Oranges) ความพ่ายแพ้จากสงครามทำให้โปรตุเกสยอมลงนามในสนธิสัญญาบาดาโคซ และตามมาด้วยสนธิสัญญามาดริด ซึ่งโปรตุเกสต้องยกเมืองโอลีเบนซาให้สเปน และต้องยกอำนาจเหนือดินแดนอาณานิคมบางแห่งให้ฝรั่งเศส[11][12] เพราะผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกันระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การเคลื่อนไหวอย่างคลุมเครือและการทำข้อตกลงลับจึงเป็นลักษณะเด่นของสงครามนี้ โปรตุเกสในฐานะผู้เล่นที่อ่อนแอที่สุดไม่สามารถหลีกเลี่ยงการต่อสู้อันต่อเนื่องนี้ได้[9] ในขณะเดียวกัน เจ้าชายฌูเอาต้องทรงเผชิญหน้ากับศัตรูในประเทศของพระองค์เอง เจ้าหญิงการ์โลตา โคอากีนา พระมเหสีของพระองค์ซึ่งทรงมีความจงรักภักดีต่อสเปนบ้านเกิดของพระนางมากได้ทรงริเริ่มแผนการถอดถอนพระสวามีออกจากตำแหน่งเพื่อยึดพระราชอำนาจมาไว้ในพระหัตถ์ของพระนางเอง ซึ่งก็เป็นความพยายามที่ล้มเหลวในปี พ.ศ. 2348 ทำให้สมเด็จพระราชินีนาถต้องเสด็จออกจากราชสำนักไปประทับที่พระราชวังหลวงเกลุช ส่วนเจ้าชายผู้สำเร็จราชการก็เสด็จไปประทับที่พระราชวังหลวงมาฟรา[13][14]

การเดินทางสู่บราซิล

ภาพการเสด็จลงเรือพระที่นั่งของเจ้าชายฌูเอาและพระราชวงศ์ วาดโดยฟรันซิสโก บาร์โตลอซซี ในปี พ.ศ. 2358

เจ้าชายฌูเอาทรงพยายามถ่วงเวลาอย่างเต็มที่โดยทรงแสร้งจนนาทีสุดท้ายว่าโปรตุเกสจะยอมจำนนต่อฝรั่งเศสแต่โดยดี ไปจนถึงทรงแนะนำพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ให้ทรงประกาศสงครามหลอก ๆ ระหว่างประเทศทั้งสอง แต่ที่จริงพระองค์กลับไม่ทรงกระทำตามแผนการระบบภาคพื้นทวีป (การสกัดกั้นอังกฤษ) ของจักรพรรดินโปเลียนแต่อย่างใด สนธิสัญญาลับฉบับใหม่ได้ถูกจัดทำขึ้นโดยอังกฤษให้การรับรองว่าจะช่วยเหลือโปรตุเกสหากราชวงศ์ของเจ้าชายฌูเอาจะต้องหลบหนีในที่สุด สัญญาฉบับนี้เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายอังกฤษมาก เนื่องจากอังกฤษมีข้อผูกพันเพียงแค่การช่วยเหลือรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นมิตรกับตนเองมาตลอดเท่านั้น และอังกฤษยังสามารถรักษาอิทธิพลเหนือโปรตุเกสและแสวงหาผลตอบแทนมหาศาลจากการค้ากับจักรวรรดิระหว่างทวีปอย่างโปรตุเกสได้ต่อไปอีกด้วย โปรตุเกสจำต้องเลือกว่าจะเข้าข้างฝ่ายใดระหว่างฝรั่งเศสหรืออังกฤษ และความลังเลที่จะติดสินใจให้เด็ดขาดก็ทำให้โปรตุเกสตกอยู่ในสถานะอันเสี่ยงต่อสงครามไม่เฉพาะกับมหาอำนาจชาติใดชาติหนึ่งเท่านั้น แต่กับทั้งสองชาติ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2350 มีข่าวรายงานว่ากองทัพฝรั่งเศสได้เคลื่อนทัพเข้ามาใกล้ และในวันที่ 16 พฤศจิกายน กองเรือรบอังกฤษเข้ามาเทียบท่าที่กรุงลิสบอนด้วยกำลังทหาร 7,000 นายพร้อมคำสั่งให้พาราชวงศ์โปรตุเกสลี้ภัยไปยังบราซิล หรือถ้ารัฐบาลยอมจำนนต่อฝรั่งเศสก็ให้โจมตีและยึดเมืองหลวงให้ได้ ราชสำนักแบ่งเป็นสองฝ่ายระหว่างพวกนิยมอังกฤษกับพวกนิยมฝรั่งเศส หลังจากการพิจารณาอย่างรวดร้าวภายใต้แรงกดดันของทั้งสองฝ่าย เจ้าชายฌูเอาก็ทรงตัดสินพระทัยยอมรับการอารักขาจากอังกฤษและลี้ภัยไปยังบราซิล[9][15][16]

กองทัพฝรั่งเศสที่นำโดยนายพลฌ็อง-อ็องด็อช ฌูว์โน ได้รุกคืบเข้ามาโดยประสบความยากลำบากอยู่บ้าง แต่ก็มาถึงประตูเมืองลิสบอนในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2350[13] เมื่อถึงตอนนี้ เจ้าชายฌูเอาพร้อมด้วยพระราชวงศ์ทั้งหมด และขุนนางผู้ติดตาม เจ้าหน้าที่ของรัฐ และข้าราชบริพารกลุ่มใหญ่ พร้อมทั้งสัมภาระที่หลากหลายอันได้แก่งานศิลปะและหนังสือที่มีค่า เอกสาร และสมบัติอื่น ๆ ได้อยู่บนเรือเรียบร้อยแล้ว ทรงปล่อยให้รัฐบาลอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการแทนพระองค์และทรงแนะกองทัพว่าอย่าปฏิบัติตนเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้รุกราน การออกเดินทางอย่างรีบเร่งท่ามกลางพายุฝนที่โหมกระหน่ำนั้นได้ทำให้เกิดความอลหม่านในกรุงลิสบอน เนื่องจากประชาชนรู้สึกตกตะลึงอย่างมากและไม่อยากเชื่อว่าเจ้าชาย พระราชินี และพระราชวงศ์กำลังจะละทิ้งพวกเขา[17][18] บันทึกเรื่องเล่าของฌูเซ อากูร์ซีอู ดัช เนวิช ได้บรรยายความรู้สึกของเจ้าชายผู้สำเร็จราชการไว้ว่า

พระองค์มีพระประสงค์ที่จะตรัสออกมาแต่ไม่สามารถทำได้ พอมีพระประสงค์จะขยับพระองค์ พระวรกายก็สั่นและย่างพระบาทไม่ออก พระองค์ทรงพระดำเนินผ่านหุบเหวลึกและทรงมีจินตนาการถึงอนาคตที่มืดมิดและไม่แน่นอนดั่งมหาสมุทรที่ทรงกำลังจะเดินทางข้ามไป ประเทศชาติ เมืองหลวง ราชอาณาจักร ข้าทาสบริวาร พระองค์ต้องสละสิ่งเหล่านี้อย่างกะทันหัน ด้วยความหวังอันริบหรี่ที่จะได้กลับมาเห็นสิ่งเหล่านี้อีกครั้ง และทั้งหมดนี้เป็นเหมือนหนามที่ทิ่มแทงพระราชหฤทัยของพระองค์[19]

ภาพ การเสด็จลงเรือพระที่นั่งของพระราชวงศ์ ไม่ปรากฏชื่อผู้วาด

เพื่ออธิบายพระองค์เองต่อประชาชน เจ้าชายฌูเอามีพระบัญชาให้ติดป้ายประกาศตามถนนสายต่าง ๆ โดยระบุว่าการเดินทางของพระองค์เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แม้ว่าได้ทรงพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาความเป็นปึกแผ่นและความสงบสุขของราชอาณาจักรแล้วก็ตาม ข้อความในประกาศแนะนำให้ทุกคนอยู่ในความสงบและไม่ต่อต้านผู้รุกรานเพื่อจะได้ไม่มีการนองเลือดไปโดยเปล่าประโยชน์ เนื่องจากการเสด็จออกเดินทางอย่างเร่งรีบ เจ้าชายผู้สำเร็จราชการ, สมเด็จพระราชินีนาถมารีอา, เจ้าชายเปดรู เจ้าชายแห่งไบรา (ต่อมาคือ พระเจ้าเปดรูที่ 4 แห่งโปรตุเกสและจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล) และเจ้าชายมีเกลแห่งโปรตุเกส (ต่อมาคือ พระเจ้ามีเกลแห่งโปรตุเกส) ทั้งหมดจึงประทับอยู่ในเรือลำเดียวกัน นี่เป็นการตัดสินใจที่ประมาทถ้าพิจารณาถึงอันตรายในการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกในสมัยนั้น และเป็นการเสี่ยงต่อการสืบราชสันตติวงศ์หากเรือพระที่นั่งเกิดอับปางกลางมหาสมุทร ส่วนพระนางการ์โลตา โคอากีนากับเหล่าเจ้าหญิงประทับบนเรือพระที่นั่ง 2 ลำอื่น[20] จำนวนของผู้ตามเสด็จไปพร้อมกับเจ้าชายฌูเอายังคงเป็นที่ถกเถียง ในศตวรรษที่ 19 มีการกล่าวว่ามีผู้ตามเสด็จถึง 30,000 คน[21] ในยุคหลังประเมินกันว่ามีผู้ตามเสด็จระหว่าง 500 ถึง 15,000 คน ข้อสรุปหลังนี้น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดในการจุผู้คนในกองเรือรบ 15 ลำ ซึ่งรวมลูกเรือด้วย ถึงกระนั้นเรือก็ยังคงแออัดมากเกินไป ปึไดรรา อี กอชตา ได้พิจารณาข้อมูลการประเมินต่าง ๆ แล้วสรุปว่าจำนวนผู้ตามเสด็จที่เป็นไปได้มากที่สุดอยู่ระหว่าง 4,000 ถึง 7,000 คนรวมทั้งลูกเรือ

หลายครอบครัวถูกพรากจากกัน แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงหลายคนยังจับจองที่นั่งบนเรือไว้ไม่ได้และถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง การเดินทางครั้งนี้ไม่สงบนัก เรือหลายลำอยู่ในสภาพที่ไม่ปลอดภัยและความแออัดบนเรือได้ทำให้กลุ่มขุนนางถูกบั่นทอนเกียรติลง โดยส่วนใหญ่ต้องนอนเบียดกันในที่เปิดหรือตรงดาดฟ้าท้ายเรือ สุขลักษณะก็ไม่ดี เกิดการระบาดของเหา หลายคนไม่ได้เปลี่ยนเสื้อผ้า หลายคนป่วย เสบียงอาหารก็มีน้อยทำให้ต้องแบ่งสรรปันส่วนกันไป นอกจากนี้ กองเรือดังกล่าวต้องใช้เวลาสิบวันในเขตเส้นศูนย์สูตรภายใต้ความร้อนที่แผดเผาเพราะแทบไม่มีลมช่วยพัดใบเรือ ทำให้อารมณ์ของคนเริ่มขุ่นมัวและมีเสียงบ่นพึมพำ กองเรือรบยังต้องเผชิญพายุอีกสองลูกและในที่สุดก็กระจัดกระจายกันบริเวณหมู่เกาะมาเดรา ในช่วงกลางของการเดินทาง เจ้าชายฌูเอาทรงเปลี่ยนพระทัยและตัดสินพระทัยเดินทางสู่เมืองซัลวาดอร์ในรัฐบาเยีย คงด้วยเหตุผลทางการเมือง กล่าวคือ เพื่อให้ผู้ที่อาศัยอยู่ที่นั่นรู้สึกพอใจขึ้นหลังจากที่ซัลวาดอร์ได้สูญเสียสถานะเมืองหลวงของอาณานิคมไป ในขณะที่เรือพระที่นั่งที่มีเหล่าเจ้าหญิงประทับอยู่ได้เดินทางไปตามเส้นทางเดิมสู่รีโอเดจาเนโร[22][23]

การเปลี่ยนสภาพอาณานิคม

พระราชกฤษฎีกาเปิดเมืองท่า ปัจจุบันได้รับการเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติบราซิล

ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2351 เรือพระที่นั่งของเจ้าชายผู้สำเร็จราชการและเรืออื่น ๆ อีกสองลำได้เทียบท่าที่อ่าวแห่งนักบุญทั้งหลายในบราซิล ท้องถนนเมืองซัลวาดอร์นั้นว่างเปล่า เนื่องจากผู้ว่าราชการ เคานต์แห่งปงตึ ต้องการรับพระบัญชาจากเจ้าชายก่อนที่จะอนุญาตให้ราษฎรเข้าเฝ้า ด้วยทรงมองว่าเป็นทัศนคติที่แปลก เจ้าชายจึงทรงอนุญาตให้ราษฎรเข้าเฝ้าได้หากพวกเขามีความประสงค์[24] อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการให้เวลาขุนนางได้จัดเตรียมตนเองหลังการเดินทางที่แสนเข็ญ การเทียบท่าได้ถูกเลื่อนไปในวันถัดมาซึ่งพวกเขาก็ได้รับการต้อนรับอย่างครื้นเครงท่ามกลางขบวนแห่ การตีระฆัง และการเฉลิมฉลองเพลง Te Deum ที่มหาวิหารซัลวาดอร์ ในวันถัดมาโปรดให้ผู้ที่มีความประสงค์สามารถเข้าเฝ้าเพื่อถวายความเคารพได้ โปรดให้มีพิธีไบฌา-เมา (การจุมพิตพระหัตถ์ขององค์กษัตริย์) และพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณต่าง ๆ[25] ในจำนวนนี้ พระองค์ทรงประกาศให้จัดตั้งห้องเรียนสาธารณะในวิชาเศรษฐกิจและโรงเรียนสอนการผ่าตัด[26] แต่พระราชกรณียกิจที่สำคัญเด่นชัดที่สุดในช่วงเวลานี้คือการประกาศพระราชกฤษฎีกาการเปิดเมืองท่าแก่ชาติพันธมิตร (Decreto de Abertura dos Portos às Nações Amigas) ที่ถือเป็นมาตรการที่มีความสำคัญยิ่งทางการเมืองและเศรษฐกิจ และเป็นมาตรการแรกจากหลาย ๆ มาตรการที่ทรงนำมาใช้เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของอาณานิคม อย่างไรก็ตาม เป็นธรรมดาว่า อังกฤษ (ซึ่งเศรษฐกิจของตนขึ้นอยู่กับการค้าทางทะเล และมีฐานะเสมือนเป็นผู้อารักขากษัตริย์โปรตุเกสและบราซิลอยู่กลาย ๆ ในตอนนี้) จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์โดยตรงมากที่สุด โดยได้รับสิทธิพิเศษมากมาย[27]

การเสด็จถึงของเจ้าชายฌูเอาในบราซิล

ในซัลวาดอร์ได้มีการเฉลิมฉลองการประทับของราชสำนักอยู่หนึ่งเดือน และมีความพยายามชักจูงให้ราชสำนักให้เลือกซัลวาดอร์เป็นราชธานีแห่งใหม่ของราชอาณาจักร มีการเสนอให้สร้างพระราชวังที่หรูหราวิจิตรเพื่อเป็นที่ประทับของพระราชวงศ์ แต่เจ้าชายฌูเอาทรงปฏิเสธและทรงออกเดินทางต่อไป ด้วยได้ทรงประกาศต่อนานาชาติไว้แล้วว่าจะทรงก่อตั้งราชธานีแห่งใหม่ที่เมืองรีโอเดจาเนโร เรือพระที่นั่งของพระองค์ได้เข้าสู่อ่าวกวานาบาราในวันที่ 7 มีนาคม และทรงได้พบกับเหล่าเจ้าหญิงและสมาชิกราชวงศ์พระองค์อื่น ๆ ที่เรือพระที่นั่งของตนมาเทียบท่าที่นี้ก่อนแล้ว ในที่สุดเมื่อวันที่ 8 ราชสำนักทั้งหมดก็ได้เสด็จขึ้นฝั่ง และได้พบกับเมืองที่มีการตกแต่งอย่างวิจิตรเพื่อรับเสด็จ พร้อมด้วยการเฉลิมฉลองอย่างไม่ขาดสายเป็นเวลาเก้าวัน[28] บาทหลวงปึรึเรกา ซึ่งเป็นนักบันทึกเหตุการณ์ที่มีชื่อเสียงและเป็นประจักษ์พยานในการเสด็จมาถึงของพระราชวงศ์ในคราวนั้น นอกจากจะคร่ำครวญกับข่าวการรุกรานโปรตุเกสภาคพื้นทวีปยุโรปแล้ว เขายังสัมผัสได้ถึงความสำคัญของการประทับบนแผ่นดินบราซิลของราชสำนักอีกด้วย ดังที่บรรยายไว้ว่า

หากต้นเหตุของความโศกเศร้าและความเสียใจมันยิ่งใหญ่ถึงเพียงนั้นแล้ว ต้นเหตุของความสบายใจและความยินดีก็ไม่ได้ยิ่งใหญ่ไปน้อยกว่ากัน เพราะระเบียบแบบแผนของสิ่งใหม่ ๆ กำลังจะเริ่มต้นขึ้นบนดินแดนทางซีกโลกใต้แห่งนี้ จักรวรรดิบราซิลเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นแล้ว และพวกเราก็ปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะให้พระหัตถ์อันทรงอำนาจของเจ้าชายผู้สำเร็จราชการ องค์เหนือหัวของพวกเรา วางศิลาฤกษ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความมั่งคั่ง และอำนาจของจักรวรรดิใหม่ในอนาคต[29]

เมื่อมีราชสำนัก กลไกที่จำเป็นของรัฐอธิปไตยจึงกลายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ในระดับสูงที่มีทั้งพลเรือน นักบวช และทหาร กลุ่มชนชั้นสูงและผู้ประกอบอาชีพอิสระ ช่างฝีมือผู้ชำนาญและข้าราชการ ในความเห็นของนักวิชาการหลายคน การย้ายราชสำนักมาที่รีโอเดจาเนโรนั้นเป็นจุดเริ่มต้นการสถาปนารัฐบราซิลสมัยใหม่ และถือเป็นก้าวแรกของบราซิลในการเดินหน้าสู่เอกราชที่แท้จริง[30] ในขณะที่บราซิลในเวลานั้นยังคงเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสอย่างเป็นทางการตามกฎหมาย กายู ปราดู ฌูนีโอร์ ก็ได้กล่าวไว้ว่า

ภาพ พระเจ้าฌูเอาทรงสดับธรรมจากบาทหลวงฌูเซ เมารีซีอู วาดโดยเองรีกี เบร์นาเดลี

เมื่อทรงสถาปนาราชธานีขึ้นในบราซิลแล้ว เจ้าชายผู้สำเร็จราชการก็ทรงยกเลิกระบอบอาณานิคมซึ่งดำรงอยู่ในบราซิลจนถึงขณะนั้นไปโดยพฤตินัย ลักษณะต่าง ๆ ของระบอบ [อาณานิคม] นั้นได้สูญหายไปหมดแล้ว สิ่งที่ยังหลงเหลืออยู่จากสถานะอาณานิคมคือการอยู่ภายใต้รัฐบาลต่างชาติเท่านั้น กลไกเก่า ๆ ของกระบวนการบริหารอาณานิคมได้ถูกล้มเลิกไปทีละอย่าง และถูกแทนที่ด้วยกลไกการบริหารอย่างชาติเอกราช ข้อจำกัดทางเศรษฐกิจได้สิ้นสุดลง แนวคิดเรื่องผลประโยชน์ของชาติกลายเป็นนโยบายที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ของรัฐบาล[31]

แต่สิ่งแรกที่จำเป็นในการจัดหาที่พักอาศัยแก่ผู้มาเยือน เป็นปัญหาที่ยากจะแก้ไขอันนำมาซึ่งการจำกัดสัดส่วนของเมืองริโอในขณะนั้น โดยเฉพาะ มีที่พักอาศัยจำนวนน้อยที่เหมาะสมกับชนชั้นขุนนาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาในพระราชวงศ์เอง ซึ่งได้เข้ามาประทับในพระราชวังอุปราช ที่ซึ่งในปัจจุบันคือ ปาซูอิงเปรีอัล ("วังจักรพรรดิ") อย่างไรก็ตาม สถานที่แห่งนี้ไม่มีซึ่งความสะดวกสบายไม่เหมือนกับพระราชวังโปรตุเกส ขนาดใหญ่แต่ก็ไม่สามารถจำกัดได้อย่างเพียงพอสำหรับแต่ละคน จึงมีการเรียกคืนอาคารที่ใกล้เคียงกับพระราชวัง เช่น คาร์มิลิตท์ คอนแวนต์, ศาลาว่าการเมือง และแม้กระทั่งเรือนจำ เพื่อตอบสนองความต้องการของขุนนางต่าง ๆ และในการจัดตั้งทำเนียบของรัฐบาลใหม่ ที่อยู่อาศัยจำนวนมากมายถูกยึดคืนอย่างรีบเร่ง ผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ได้ขับไล่คนอย่างไม่มีเหตุผล ทำให้เกิดกระแสการต่อต้านที่รุนแรง แม้ความพยายามของอุปราชมาร์กุช ดึ นูโรนญา อี บรีตู กับฌูอากิง ฌูเซ ดึ อาซีเวดู ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการก็ยังคงถูกบังคับในข้อตกลงอย่างน่าเห็นใจ พ่อค้า เอลีอัส อังโตนีอู ลอปิส ได้เสนอบ้านพักในชนบทของเขา กิงตาโบอาวิสตา ซึ่งเป็นคฤหาสน์ที่หรูหราในทำเลที่เยี่ยมยอด ที่ซึ่งในทันทีทันใดก็สร้างความพอพระทัยแก่เจ้าชาย การปฏิสังขรณ์และการขยับขยายที่ดินเป็นปาซูจีเซากริสตอเวา (พระราชวังแห่งนักบุญคริสโตเฟอร์) ในส่วนของเจ้าหญิงการ์โลตา โคอากีนา ทรงพอพระทัยในการประทับในฟาร์มใกล้กับชายหาดบอตาโฟกู ทรงเริ่มต้นดำรงพระชนม์ชีพโดยพยายามออกห่างจากพระสวามี[32]

มุมมองตำหนักลาร์กูดูการ์มู ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของจัตุรัส 15 พฤศจิกายน ใจกลางกรุงรีโอ ไม่กี่ปีหลังจากมีการย้ายราชสำนักมายังบราซิล

เมืองที่ซึ่งมีประชากรประมาณ 70,000 คน ได้แปรสภาพเปลี่ยนไปเพียงชั่วข้ามคืน จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น เต็มไปด้วยสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีพ การกำหนดการบริหารจัดการเสบียงอาหารอย่างเป็นระบบและสินค้าต่าง ๆ รวมทั้งสินค้าฟุ่มเฟือย เวลาเป็นปีในการที่ชาวโปรตุเกสเข้ามาตั้งถิ่นฐาน เป็นสาเหตุให้เกิดความยุ่งเหยิงในชีวิตประจำวันและสังคมชาวรีโอ ค่าเช่าเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า, ภาษีเพิ่มขึ้น และอาหารมีอยู่ในเสบียงระยะสั้น ๆ มีการเรียกร้องสิทธิจากกลุ่มขุนนางที่เข้ามา เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้ความนิยมในการเสด็จมาถึงของเจ้าชาย ผู้สำเร็จราชการได้หมดไป ผังเมืองและรูปแบบเมืองได้เปลี่ยนไป ด้วยสิ่งก่อสร้างนับไม่ถ้วนได้แก่ ที่พักอาศัย, หมู่บ้าน และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ และมีการปรับปรุงการบริการและโครงสร้างพื้นฐานอย่างมากมาย นอกจากนั้น การวางตัวของราชสำนักได้นำมาซึ่งมาตรฐานธรรมเนียมปฏิบัติแบบใหม่, เสื้อผ้าล้ำสมัยและวัฒนธรรมใหม่ได้นำมาซึ่งการแบ่งชนชั้นทางสังคมแบบใหม่[33][34][35][36]

ท่ามกลางขนบธรรมเนียมประเพณี เจ้าชายฌูเอาทรงริเริ่มดำเนินประเพณีโปรตุเกสโบราณในบราซิลคือ "ไบฌา-เมา" (beija-mão) ที่ซึ่งพระองค์ทรงชื่นชอบอย่างมาก และที่ซึ่งสร้างความประทับใจในพสกนิกรบราซิลและกลายเป็นส่วนหนึ่งของตำนานพื้นบ้านของพวกเขา[37] พระองค์เสด็จออกรับพสกนิกรเกือบทุกวัน ยกเว้นวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ แถวของประชาชนยาวเหยียดเพื่อเข้าเฝ้าและทรงรับของกำนัลจากทั้งขุนนางและสามัญชน ตามคำกล่าวของจิตรกร อ็องรี เลแว็ก ที่ว่า "เจ้าชาย ร่วมกับรัฐมนตรี กรมวังและพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพารทางราชการ ได้รับการถวายฎีกาทั้งหมดที่ซึ่งเสนอแก่พระองค์ ทรงฟังทุกเรื่องราวที่ไม่พอพระทัยอย่างตั้งพระทัยแน่วแน่ ทรงวิงวอนแก่ผู้ร้องทุกข์ทุกคน ทรงปลอบโยนคนหนึ่ง ทรงให้กำลังใจคนอื่น ๆ........ มารยาทที่หยาบคาย วาทะที่คุ้นเคย การยืนกรานในบางสิ่ง การขยายความในอื่น ๆ ไม่มีผู้ใดเบื่อพระองค์เลย ดูเหมือนว่าพระองค์จะทรงลืมแล้วเสียว่าทรงเป็นเจ้านายพวกเขา และพวกเขาจดจำพระองค์ได้ในฐานะของพ่อ"[38] มานูเอล จี โอลีเวย์รา ลีมา ได้เขียนเกี่ยวกับพระองค์ว่า "ไม่ทรงเคยปฏิเสธการเผชิญหน้าหรือคำร้อง และผู้ถวายฎีกาทุกคนประหลาดใจว่าทำไมพระองค์ทรงทราบอย่างดีถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขา ครอบครัวของพวกเขา แม้เหตุการณ์เล็กน้อยที่ซึ่งได้เกิดขึ้นในอดีตและที่ซึ่งพวกเขาไม่เชื่อว่าสามารถล่วงรู้ถึงพระกรรณของพระองค์ได้อย่างไร"[39]

ภาพพระราชพิธีไบฌา-เมา (การจุมพิตพระหัตถ์ขององค์กษัตริย์) ในราชสำนักบราซิลของพระเจ้าฌูเอา ที่ซึ่งยังคงเป็นโบราณราชประเพณีของราชสำนักโปรตุเกสจนกระทั่งสิ้นสุดราชาธิปไตย

ตลอดเวลาที่พระองค์ประทับในบราซิล เจ้าชายฌูเอาทรงก่อตั้งสถาบันต่าง ๆ จำนวนมากมายอย่างเป็นทางการและการบริการสาธารณะต่าง ๆ และทรงผลักดันเศรษฐกิจ, วัฒนธรรมและวิถีชีวิตประจำชาติตามพื้นที่ต่าง ๆ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ถูกยึดโดยส่วนใหญ่ เพราะความต้องการในสิ่งที่จำเป็นของการบริหารจัดการจักรวรรดิใหญ่ในดินแดนที่แต่ก่อนเคยขาดแคลนทรัพยากร เพราะว่าความคิดที่มีอิทธิพลได้ดำเนินต่อไปที่ซึ่งเชื่อว่าบราซิลยังคงเป็นอาณานิคม ได้ให้สิ่งที่ถูกคาดว่าราชสำนักที่นี่ควรจะกลายเป็นอดีตราชธานีเมื่อสถานการณ์ทางการเมืองในยุโรปกลับสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาในสิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นรากฐานสำหรับเอกราชของบราซิลในอนาคต[40][41] นี้ไม่ได้กล่าวถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและความก้าวหน้าทั้งหมด ลำดับของวิกฤตทางการเมืองได้เกิดขึ้นเพียงเวลาสั้น ๆ หลังจากพระองค์เสด็จมาถึงด้วยการรุกรานกาแยน (ค.ศ. 1809) ในเฟรนช์เกียนาของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2352 ในการโต้กลับสำหรับการที่ฝรั่งเศสเข้ารุกรานโปรตุเกส[42], ปัญหาทางเศรษฐกิจที่รุนแรง และความลำบากจากข้อตกลงทางการค้าที่กำหนดในปี พ.ศ. 2353 โดยพันธมิตรอย่างอังกฤษ ที่ซึ่งในการปฏิบัติการเอ่อล้นของตลาดเล็ก ๆภายในด้วยสิ่งเล็กน้อยที่ไร้ค่าและการส่งออกที่เป็นผลเสีย และในการก่อตั้งอุตสาหกรรมใหม่ในชาติ[43][44] หนี้สินของชาติได้เพิ่มจำนวนทวีคูณถึง 20 และการคอร์รัปชั่นแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในสถาบันใหญ่ ๆ รวมทั้งธนาคารแห่งบราซิลแห่งแรก ที่ซึ่งสิ้นสุดด้วยการล้มละลาย เช่นเดียวกับราชสำนักที่ฟุ่มเฟือยและสิ้นเปลือง, สะสมอภิสิทธิ์ต่าง ๆ และดำรงไว้ซึ่งกองทหารที่ประจบสอพลอและฉวยโอกาส กงสุลอังกฤษ เจมส์ เฮนเดอร์สัน ได้สังเกตการณ์ว่า ราชสำนักในยุโรปส่วนน้อยเท่านั้นที่จะมีขนาดใหญ่เท่ากับราชสำนักโปรตุเกส ลอเรนติโน โกเมซได้เขียนไว้ว่า เจ้าชายฌูเอาทรงพระราชทานยศอันเป็นมรดกตกทอดมากมายในช่วงแปดปีแรกในบราซิลซึ่งมากกว่าประวัติศาสตร์การพระราชทานยศก่อนหน้านี้ในรอบสามร้อยปีแห่งราชาธิปไตยโปรตุเกส ไม่ได้มีการนับการพระราชทานเครื่องยศมากกว่า 5,000 ยศและการยกย่องเกียรติยศในเครื่องราชอิสริยาภรณ์โปรตุเกส[45]

เมื่อจักรพรรดินโปเลียนพ่ายแพ้ในปี พ.ศ. 2358 มหาอำนาจยุโรปได้พบปะกันในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนาเพื่อจัดระบบแผนที่ทางการเมืองในภาคพื้นทวีปใหม่ โปรตุเกสได้เข้ามีส่วนร่วมในการเจรจาต่อรองแต่ต้องให้นักวางแผนการชาวบริติชหรืออังกฤษที่ขัดแย้งกันในการสนับสนุนราชวงศ์บรากังซา อัครราชทูตโปรตุเกสในคองเกรส เคานต์แห่งปัลเมลา ได้เสนอแนะให้เจ้าชายผู้สำเร็จราชการยังคงประทับอยู่ในบราซิล ดังที่คำแนะนำของบุคคลผู้ทรงอำนาจอย่างเจ้าชายตาแลร็อง เพื่อจำกัดความแข็งแกร่งระหว่างราชธานีกับอาณานิคม รวมทั้งการเสนอแนะให้ยกระดับบราซิลเป็นราชอาณาจักรรวมกับโปรตุเกส ผู้แทนจากสหราชอาณาจักรก็ยังยุติด้วยการสนับสนุนข้อเสนอนี้ ที่ซึ่งเป็นผลให้เกิดการสถาปนาสหราชอาณาจักรโปรตุเกส บราซิล และแอลการ์ฟในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2358 เป็นสถาบันที่ได้รับการพิจารณาผ่านทางกฎหมายอย่างรวดเร็วโดยชาติต่าง ๆ[41]

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระเจ้าฌูเอาที่_6_แห่งโปรตุเกส http://bndigital.bn.br/djoaovi/cronologia.html http://bndigital.bn.br/redememoria/joaovi.html http://veja.abril.com.br/070600/p_126.html http://veja.abril.com.br/200607/p_114.shtml http://www.correios.com.br/selos/selos_postais/sel... http://www.revistadacultura.com.br:8090/revista/rc... http://www.dichistoriasaude.coc.fiocruz.br/iah/P/v... http://www.dichistoriasaude.coc.fiocruz.br/iah/P/v... http://www.historiacolonial.arquivonacional.gov.br... http://www.historiacolonial.arquivonacional.gov.br...