สงครามจีน–พม่า
สงครามจีน–พม่า

สงครามจีน–พม่า

หลิว จ่าว
หยาง อิงจวี
หมิงรุ่ย [1]
เอ๋อเอ่อร์เติงเอ๋อ
อาหลี่กุย [1]
ฟู่ เหิง [1]
อาหลี่กุ่น 
อากุ้ย อะแซหวุ่นกี้
มหาซีตู
เนเมียวสีหตู
บาลามินดิน
เนเมียวสีหบดี
เต็งจามินกอง
ปีแยร์เดอมิลารด์ กองธงเขียวมองโกลกองทัพไทใหญ่ทั้งหมด: ทหารราบ 5,000, ทหารม้า 1,000[note 1]
ครั้งที่ 2
ทั้งหมด: ทหารราบ 25,000, ทหารม้า 2,500[note 1]
ครั้งที่ 3
ทั้งหมด: 50,000[4]
ครั้งที่ 4
ทั้งหมด: 60,000[6]
ทั้งหมด: ไม่ทราบครั้งที่ 2
ทั้งหมด: ไม่ทราบครั้งที่ 3
ทั้งหมด: ~ทหารราบ 30,000, ทหารม้า 2,000[note 2]ครั้งที่ 4
ทั้งหมด: ~40,000[note 3]'ครั้งที่ 3: 30,000+[note 4]
'ครั้งที่ 4: 20,000+[7]
ทั้งหมด: 70,000+
ถูกจับ 2,500 [8]สงครามจีน–พม่า (พม่า: တရုတ်-မြန်မာ စစ်, อักษรจีน: 中緬戰爭, 清緬戰爭) หรือ การบุกพม่าของราชวงศ์ชิง หรือ การทัพพม่าแห่งราชวงศ์ชิง (อังกฤษ: Qing invasions of Burma, Myanmar campaign of the Qing Dynasty)[9] เป็นการสงครามระหว่างราชวงศ์ชิงของจีน กับราชวงศ์โก้นบองของพม่า กินเวลา 4 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2308–2312 ตรงกับรัชสมัยจักรพรรดิเฉียนหลงและพระเจ้ามังระการสงครามครั้งนี้เริ่มขึ้นในระหว่างการทำสงครามของอาณาจักรโก้นบองกับอาณาจักรอยุธยา และยาวไปจนถึงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ใน พ.ศ. 2310 ในพงศาวดารพม่าระบุว่า พระเจ้ามังระมีพระราชสาส์นให้นายทหารและแม่ทัพในสงครามคราวนี่เร่งรีบกระทำการ และรีบเดินทางกลับอังวะเพื่อที่จะเตรียมการรับสงครามคราวนี้[ต้องการอ้างอิง]เหตุแห่งสงครามมาจากความขัดแย้งระหว่างพม่ากับจีนในเรื่องหัวเมืองไทใหญ่ ซึ่งกองทัพพม่าได้ยกเข้าดินแดนไทใหญ่และรุกคืบไปเรื่อยๆ ทำให้พวกเจ้าฟ้าไทใหญ่ได้ไปขอความช่วยเหลือจากจีน ซึ่งทั้งสองมีพรมแดนติดต่อกันระหว่างจีนกับพม่าทางมณฑลยูนนานในปัจจุบัน ซึ่งเคยมีปัญหามาก่อนตั้งแต่ยุคพระเจ้าบุเรงนองแห่งราชวงศ์ตองอู โดยในครั้งนี้ราชวงศ์ชิงซึ่งปกครองโดยจักรพรรดิเฉียนหลง ได้ส่งกองทหารจากแปดกองธงอันเกรียงไกรเข้าทำลายพม่าแต่ก็ต้องผิดหวังทุกครั้ง โดยในระหว่างสงคราม หลิวเจ้าแม่ทัพกองธงเขียว (บุกครั้งที่ 1) หยางอิงจวี่แห่งกองธงเขียว (บุกครั้งที่ 2) รวมถึงพระนัดดาหมิงรุ่ยแห่งกองธงเหลือง (ขึ้นตรงต่อฮ่องเต้) ขุนพลเอกแห่งราชวงศ์ชิงผู้พิชิตมองโกลและเติร์ก (บุกครั้งที่ 3) ต้องฆ่าตัวตายหนีความอัปยศเพราะความพ่ายแพ้ โดยในการบุกครั้งที่ 4 จักรพรรดิเฉียนหลงได้เรียกเสนาบดีระดับสูงให้มารวมตัวกันครั้งใหญ่ที่สุดในยุคของพระองค์ ประกอบด้วยองค์มนตรีฟู่เหิงแห่งกองธงเหลืองขลิบซึ่งเป็นลุงของหมิงรุ่ยผู้มีประสบการณ์ในการรบกับมองโกลมาแล้วอย่างโชกโชน พร้อมด้วยเสนาบดีอีกหลายนายเช่น เสนาบดีกรมกลาโหมอากุ้ยแห่งกองธงขาว(ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นบิดาบุญธรรมของจักรพรรดิเจี่ยชิ่งเช่นเดียวกับฟู่เหิง) [10] แม่ทัพใหญ่อาหลีกุ่น รวมทั้งเอ้อหนิงสมุหเทศาภิบาลมณฑลยูนนานและกุ้ยโจว (ภายหลังได้รับแต่งตั้งเป็นเสนาบดีกรมกลาโหม) ให้เตรียมการบุกพม่าเป็นครั้งที่ 4 และทำพิธีส่งกองทัพนี้อย่างยิ่งใหญ่โดยจักพรรดิเฉียนหลงเป็นประธานในพิธี กองทัพนี้ประกอบไปด้วยกำลังพลจากทั้งแปดกองธงและกองธงเขียว ในครั้งนี้กองทัพต้าชิงสามารถรุกเข้าไปในดินแดนของพม่าได้ลึกพอสมควร แต่กองทัพของเนเมียวสีหบดีก็กลับมาได้ทัน สงครามเป็นไปอย่างดุเดือดสุดท้ายกองทัพพม่าสามารถล้อมกองทัพต้าชิงเอาไว้ได้ แต่อะแซหวุ่นกี้ได้ตัดสินใจยุติสงครามที่ปล่าวประโยชน์ครั้งนี้ลง ด้วยการบีบให้กองทัพต้าชิงซึ่งติดอยู่ในวงล้อมตัดสินใจเจรจาสงครามสิ้นสุดลงด้วยการเจรจาและบรรลุสนธิสัญญากองตน โดยยึดเอาแนวเขตพรมแดนเดิม[11] โดยทั้งสองฝ่ายต่างอ้างชัยชนะในสงครามครั้งนี้ และสงครามครั้งนี้ยังทำให้พระเกียรติยศของพระเจ้ามังระเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด หลังจากก่อนหน้านี้กองทัพของพระองค์ก็สามารถพิชิตอยุธยาได้ในเวลาไล่เลี่ยกัน รวมถึงอะแซหวุ่นกี้แม่ทัพฝ่ายพม่าเริ่มมีชื่อเสียงขึ้นมา ก่อนที่จะมีบทบาทสำคัญต่อมาอีกหลายครั้งในภายหลังทั้งทางด้านการเมืองและการศึกสงคราม

สงครามจีน–พม่า

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่ธันวาคม พ.ศ. 2308 – 22 ธันวาคม พ.ศ. 2312
สถานที่ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาน, รัฐกะชีน, มณฑลยูนนาน, พม่าตอนบน
ผลลัพธ์พม่าได้รับชัยชนะ
สถานที่ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาน, รัฐกะชีน, มณฑลยูนนาน, พม่าตอนบน
ผลลัพธ์ พม่าได้รับชัยชนะ
วันที่ ธันวาคม พ.ศ. 2308 – 22 ธันวาคม พ.ศ. 2312

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามแปซิฟิก สงครามเกาหลี สงครามอ่าว สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามครูเสด สงครามกัมพูชา–เวียดนาม