ผลต่อสุขภาพ ของ อาหารเมดิเตอร์เรเนียน

งานทบทวนวรรณกรรมปี 2017 พบหลักฐานว่า การรับประทานอาหารนี้ลดความเสี่ยงโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด มะเร็งโดยทั่วไป โรคทำให้ประสาทเสื่อม (neurodegenerative diseases เช่น โรคพาร์คินสันและโรคอัลไซเมอร์) โรคเบาหวาน และการเสียชีวิตก่อนวัย[5]งานทบทวนวรรณกรรมปี 2018 แสดงว่า อาหารอาจทำให้สุขภาพดีขึ้นโดยทั่วไป เช่น ลดความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ ลดค่าครองชีพ และลดค่าใช้จ่ายในระบบสาธารณสุข[12]งานทบทวนวรรณกรรมปี 2016 พบว่า ช่วยลดน้ำหนักเท่ากับการคุมอาหารแบบอื่น ๆ[13]

โรคหัวใจ

งานทบทวนวรรณกรรมแบบคอเคลนปี 2013 พบหลักฐานที่จำกัดว่า อาหารนี้มีผลดีต่อปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด[4]โดยเปรียบเทียบอาหารเมดิเตอร์เรเนียน อาหารเวแกน (เลี่ยงผลิตภัณฑ์สัตว์) อาหารผักผลไม้ (เลี่ยงเนื้อสัตว์) อาหารไกลซีมิกต่ำ (ควบคุมการเปลี่ยนระดับซูโครสในเลือด) อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ อาหารใยอาหารสูง อาหารโปรตีนสูง และอาหารกลุ่มควบคุมงานวิจัยนี้สรุปว่า อาหารเมดิเตอร์เรเนียน อาหารไกลซีมิกต่ำ อาหารคาร์โบรไฮเดรตต่ำ อาหารโปรตีนสูง มีประสิทธิผลปรับปรุงตัวบ่งชี้โรคหัวใจร่วมหลอดเลือดและโรคเบาหวาน และมีหลักฐานจำกัดว่า อาหารผักผลไม้ช่วยควบคุมระดับซูโครสและไขมันในเลือดที่ไม่เกี่ยวกับผลลดน้ำหนัก[14]

แต่งานทบทวนวรรณกรรมปี 2016 รอบคอบกว่า คือได้ยกปัญหาคุณภาพของงานปริทัศน์เป็นระบบและงานวิเคราะห์อภิมานในอดีตที่ตรวจผลของอาหารเมดิเตอร์เรเนียนต่อปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด[15]และเน้นความจำเป็นให้สร้างมาตรฐานงานวิจัยให้ดีกว่านี้[16]โดยพบหลักฐานการป้องกันโรคหลอดเลือดของอาหารเมดิเตอร์เรเนียนว่า "จำกัดและต่าง ๆ กันมาก"[17]งานทบทวนวรรณกรรมต่อ ๆ มาก็ได้สรุปเหมือนกันว่า อาหารช่วยปรับปรุงปัจจัยโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจต่าง ๆ[5][18]

อาหารชนิดนี้บ่อยครั้งอ้างว่ามีประโยชน์เพราะมีไขมันอิ่มตัวต่ำ มีไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่เดี่ยว (MUFA) และใยอาหารสูงประโยชน์โดยหลักเชื่อว่ามาจากน้ำมันมะกอก ซึ่งมีไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่เดี่ยวมากที่เด่นที่สุดคือกรดโอเลอิกซึ่งก็กำลังวิจัยว่ามีผลดีต่อสุขภาพหรือไม่[7]องค์กรความปลอดภัยอาหารยุโรป (EFSA) ปี 2012 ได้อนุมัติให้อ้างผลต่อสุขภาพของน้ำมันมะกอก ว่ามีโพลีฟีนอล (polyphenol) ที่ป้องกันการออกซิไดส์ไขมันในเส้นเลือด[19]และช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือดแบบไม่ดี (LDL) เพราะทดแทนไขมันอิ่มตัวในอาหารด้วยกรดโอเลอิก[20][21]

งานวิเคราะห์อภิมานปี 2014 สรุปว่า การรับประทานน้ำมันมะกอกมากขึ้นสัมพันธ์กับอัตราความตายโดยเหตุทั้งหมดที่ลดลง กับปัญหาโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดที่ลดลง และกับความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองที่ลดลง แต่การเพิ่มรับประทานกรดไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่เดี่ยว (MUFA) ที่มาจากพืชผสมกับสัตว์ไร้ผลที่มีนัยสำคัญ[8]

โรคเบาหวาน

งานวิเคราะห์อภิมาน 2 งานในปี 2014 พบว่า อาหารนี้สัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิด 2 ที่ลดลง[22][23]เหมือนกับที่พบในงานปี 2017 ดังที่กล่าวมาแล้ว[5]

มะเร็ง

งานวิเคราะห์อภิมานปี 2008 พบว่า การรับประทานอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนอย่างเข้มสัมพันธ์กับความเสี่ยงตายเพราะมะเร็งที่ลดลง 6%[24]งานทบทวนวรรณกรรมปี 2017 พบว่า มีผลลดอัตราการเกิดมะเร็ง[5]งานปริทัศน์เป็นระบบและงานวิเคราะห์อภิมานปี 2014 พบว่า การรับประทานอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนสัมพันธ์กับความเสี่ยงตายเพราะมะเร็งที่ลดลง[25]มีหลักฐานเบื้องต้นว่า การรับประทานน้ำมันมะกอกเป็นประจำอาจลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง[9]

สมรรถภาพทางประชาน

งานปริทัศน์เป็นระบบปี 2016 พบว่าการยึดรับประทานอาหารเมดิเตอร์เรเนียนได้ดีกว่าสัมพันธ์กับการทำงานทางประชาน/ความคิดอ่านที่ดีกว่าแต่ก็ไม่ชัดเจนว่าเป็นความสัมพันธ์โดยเหตุหรือไม่[26]

ตามงานปริทัศน์เป็นระบบปี 2013 การรับประทานอาหารเมดิเตอร์เรเนียนแบบเข้มสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ที่ลดลงและความเสื่อมทางประชานที่ช้ากว่า[27]ส่วนงานปริทัศน์เป็นระบบอีกงานหนึ่งในปี 2013 ก็ได้สรุปอย่างเดียวกัน และพบด้วยว่าสำหรับผู้พิการทางประชานในระดับอ่อน ๆ (mild cognitive impairment) การรับประทานอาหารสัมพันธ์กับความเสี่ยงแย่ลงกลายเป็นโรคอัลไซเมอร์ที่ลดลงแต่ผู้วิจัยก็ยอมรับว่า งานที่ทำในเรื่องนี้ยังมีจำนวนน้อย[28]

โรคซึมเศร้า

การรับประทานอาหารที่ถูกสุขภาพ เช่น อาหารเมดิเตอร์เรเนียน สัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคซึมเศร้าที่ลดลงแต่งานที่ศึกษาความสัมพันธ์เช่นนี้เป็นงานศึกษาแบบสังเกต จึงไม่ได้พิสูจน์ความเป็นเหตุและผล[29]

กลูเตน

เพราะอาหารชนิดนี้ปกติจะรวมผลิตภัณฑ์ที่มีกลูเตน เช่น พาสตาและขนมปัง การรับประทานอาหารมากขึ้นอาจมีส่วนให้อัตราการเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับกลูเตน (gluten-related disorders)[upper-alpha 1]สูงขึ้น[32]

พีระมิดอาหารเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งย่อความรูปแบบการรับประทานอาหาร อาหารที่ฐานพีระมิดควรรับประทานมากสุด และที่ยอดพิระมิดควรรับประทานน้อยสุด

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาหารเมดิเตอร์เรเนียน http://bmj.com/cgi/pmidlookup?view=long&pmid=18786... http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.2903/j.efsa.... http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.2903/j.efsa.... http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/?uri... http://www.editions-harmattan.fr/index.asp?navig=c... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2533524 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3199852 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3946820 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4003198 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4176656