กรณีข้อโต้แย้ง ของ เดอะแลนซิต

วารสารได้ถือจุดยืนทางการเมืองเกี่ยวกับประเด็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และเรื่องอื่น ๆ หลายอย่างตัวอย่างเร็ว ๆ นี้รวมทั้งการวิจารณ์องค์การอนามัยโลก (WHO) โดยปฏิเสธคำอ้างของ WHO ว่า การแพทย์ทางเลือกแบบการใช้โรครักษาโรค (homoeopathy) มีประสิทธิผลใช้เป็นวิธีการรักษาได้[7]การแสดงความไม่เห็นด้วยในการรับจัดงานสินค้าบริษัทขายอาวุธโดยบริษัทในเครือข่ายแอ็ลเซอเฟียร์เองการเรียกร้องในปี 2546 ให้บุหรี่เป็นสินค้าผิดกฎหมาย[8]และการเรียกร้องให้มีการตรวจสอบอิสระในกรณีกองทัพอากาศอเมริกันทิ้งระเบิดใส่โรงพยาบาลในประเทศอัฟกานิสถานในปี 2558[9]

โรคออทิซึมและข้อขัดแย้งเกี่ยวกับวัคซีน (2541)

วารสารถูกตำหนิหลังจากที่พิมพ์บทความในปี 2541 ที่ผู้เขียนเสนอว่า การฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (วัคซีน MMR) สัมพันธ์กับโรคออทิซึม[10]ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 วารสารพิมพ์ข้อความจากผู้เขียนดั้งเดิม 10 คนจาก 13 คน ที่ปฏิเสธโอกาสที่วัคซีน MMR จะเป็นเหตุของโรคออทิซึม[11]หัวหน้าบรรณาธิการนายริชาร์ด ฮอร์ตัน ต่อมากล่าวไว้เป็นบันทึกประวัติว่า หัวหน้าคณะผู้เขียนดั้งเดิมคือ นพ.แอนดรู เวกฟิลด์ มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างรุนแรงที่ไม่ได้แจ้งวารสาร[12]ต่อจากนั้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553 วารสารจึงถอนคืนบทความนั้นอย่างสิ้นเชิง หลังจากที่มีการตัดสินว่า นพ.เวกฟิลด์ได้ดำเนินการวิจัยโดยผิดจริยธรรม[13]

ถึงกระนั้น บรรณาธิการของวารสารหกท่านรวมทั้งนายฮอร์ตันเอง ถูกวิจารณ์ในปี 2554 เพราะได้ปิดบังความจริงเกี่ยวกับกรณี "ความกลัววัคซีน MMR ที่เวกฟิลด์ได้กุขึ้น" ด้วย "การปฏิเสธแบบถล่มทลาย"[14]

การควบคุมบุหรี่ (2546)

ในเดือนธันวาคม 2546 วารสารตีพิมพ์บทความบรรณาธิการชื่อว่า "คุณหลับตอนกลางคืนได้อย่างไร มิสเตอร์แบลร์?" ซึ่งร้องเรียกให้ห้ามสูบบุหรี่อย่างสิ้นเชิงในสหราชอาณาจักรแต่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งลอนดอนปฏิเสธข้ออ้างของวารสารคือ แม้ประธานของกลุ่มที่ให้คำปรึกษากับบริษัทบุหรี่ของราชวิทยาลัยจะสรรเสริญวารสารที่กล่าวถึงปัญหาสุขภาพ แต่ก็สรุปว่า "การห้ามสูบบุหรี่จะเป็นเหมือนกับฝันร้าย"ส่วนโฆษกของกลุ่มต่อต้านการสูบบุหรี่กลุ่มหนึ่งกล่าวว่า การจัดพฤติกรรมของประชากร 26% ให้เป็นอาชญากรรมเป็นเรื่องไม่สมเหตุผลแล้วกล่าวว่า "เราไม่สามารถย้อนคืนเวลาได้ ถ้าห้ามสูบบุหรี่ เราจะมีคน 13 ล้านคนลงแดงอยากจะได้ยาเสพติดที่หาไม่ได้"ส่วนผู้ช่วยบรรณาธิการของวารสารท่านหนึ่งตอบข้อวิจารณ์เหล่านี้โดยอ้างว่า ไม่มีวิธีอื่นนอกจากการห้ามอย่างเด็ดขาดที่มีโอกาสลดการสูบบุหรี่[15]

ส่วนกลุ่มสิทธิผู้สูบบุหรี่กลุ่มหนึ่งกล่าวว่า บทความบรรณาธิการให้ทั้งความขบขันและความไม่อยากจะเชื่อผู้อำนวยการของกลุ่มเรียกวารสารว่า "เผด็จการ" และอ้างว่า เป็นเรื่องหน้าไหว้หลังหลอกที่จะห้ามการสูบบุหรี่แต่อนุญาตให้รับประทานจั๊งฟู้ด ดื่มสุรา และเล่นกีฬาอันตรายส่วนรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขกล่าวย้ำนโยบายของรัฐที่จะช่วยคนให้เลิกบุหรี่แล้วกล่าวเพิ่มว่า "แม้ว่านี่จะเป็นปัญหาที่สำคัญ แต่มันเป็นเรื่องสุดโต่งเกินไปสักหน่อยสำหรับเราคนอังกฤษ ที่จะจับคนขังเพราะว่ามีบุหรี่นิดหน่อยซ่อนไว้ที่ตรงไหน"[16]

ข้อโต้แย้งเรื่องจำนวนคนตายในสงครามอิรัก (2547)

วารสารได้พิมพ์ประเมินค่าคนตายในสงครามอิรักที่ทำให้เกิดการโต้แย้ง คือประมาณ 100,000 คนในปี 2547ต่อมาในปี 2549 งานศึกษาติดตามของกลุ่มเดียวกันเสนอว่า อัตราการตายเพราะความรุนแรงในอิรักไม่เพียงแต่เข้ากับค่าประเมินก่อน แต่ได้เพิ่มขึ้นอย่างสำคัญหลังจากนั้นโดยประเมินว่ามีคนอิรักตายกว่า 654,965 คนโดยเป็นผลของสงครามและมีช่วงความเชื่อมั่น (confidence interval) ระดับ 95% ที่ 392,979-942,636 คนโดยสำรวจครอบครัว 1,849 ครัวเรือนประกอบด้วยสมาชิก 12,801 คน[17]

แต่ว่าค่าประเมินที่ให้ในบทความที่สองสูงกว่าที่พิมพ์ในงานสำรวจในช่วงเวลาเดียวกันเป็นอย่างมากที่เด่นที่สุดก็คือ งานสำรวจที่พิมพ์ในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ (NEJM) ที่สำรวจครอบครัว 9,345 ครอบครัวแล้วประเมินความตายแบบรุนแรงที่ 151,000 คน (โดยมีช่วงความเชื่อมั่นระดับ 95% ที่ 104,000-223,000 ในช่วงเวลาเดียวกัน)บทความของ NEJM กล่าวว่า งานสำรวจของ เดอะแลนซิต "ประเมินจำนวนคนตายแบบรุนแรงสูงเกินไปมาก" และผลที่ได้ "เป็นไปได้น้อย เมื่อพิจารณาความสอดคล้องกันของข้อมูลทั้งภายในภายนอก ขนาดตัวอย่างที่สูงกว่ามาก และการควบคุมคุณภาพ (ของงานที่พิมพ์ใน NEJM)"

การถอนคืนบทความกุขึ้น (2549)

ในเดือนมกราคม 2549 มีการเปิดเผยว่า บทความหนึ่งที่พิมพ์ในวารสารในเดือนตุลาคม 2548[18]มีข้อมูลกุขึ้น โดย นพ.ชาวนอร์เวย์ท่านหนึ่งกับผู้ร่วมเขียนอีก 13 ท่าน[19][20]ต่อมาบทความหลายบทความในวารสารวิทยาศาสตร์อื่น ๆ จึงถูกถอนคืนหลังจากการถอนคืนบทความต้นประเด็นของเดอะแลนซิตภายในอาทิตย์หลังจากเกิดเหตุ วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ (NEJM) ก็ได้ตีพิมพ์ความเป็นห่วงของบรรณาธิการเกี่ยวกับผลงานวิจัยที่เขียนโดย นพ.คนเดียวกัน และต่อมาในเดือนพฤศจิกายนน 2549 NEJM ก็ถอนคืนงานศึกษามะเร็งในช่องปากที่นพ.ชาวนอร์เวย์เป็นหัวหน้า[21]

ข้อโต้เถียงกับกรุงวาติกันเรื่องถุงยางอนามัยกับการป้องกันเอดส์ (2552)

ในบทความบรรณาธิการปี 2552 วารสารกล่าวหาสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ที่ทรงบิดเบือนต่อสาธารณชนเรื่องหลักฐานวิทยาศาสตร์ของถุงยางอนามัยเพื่อโปรโหมตหลักคำสอนชาวคริสตังเรื่องการประพฤติพรหมจรรย์เพื่อป้องกันโรคเอดส์[22]กรุงวาติกันกล่าวแก้โดยชี้บทความที่พิมพ์ในวารสารปี 2543 ที่กล่าวว่า การใช้ถุงยางอนามัยไม่เพียงพอที่จะแก้วิกฤติการณ์โรคเอดส์[23]

อินเดียกับซูเปอร์โรค (2553)

ในเดือนสิงหาคม 2553 วารสาร The Lancet Infectious Diseases พิมพ์บทความเกี่ยวกับเอนไซม์ที่ให้การดื้อยาแบบหลายชนิด (multi-drug-resistance) แก่แบคทีเรีย[24]ซึ่งก่อนหน้านี้เรียกว่า New Delhi metallo-beta-lactamase (NDM-1) โดยตั้งชื่อตามแหล่งกำเนิดตามที่คิดของกลไกการดื้อยา[25][26]บทความรายงานตัวอย่างแบคทีเรียที่ตรวจพบ NDM-1 44 ตัวอย่างจากเมืองเจนไน, 26 ตัวอย่างจากเมือง Haryana, 37 ตัวอย่าง (จากคนไข้ 29 คน) จากสหราชอาณาจักร และ 73 ตัวอย่างจากที่อื่น ๆ ในประเทศอินเดีย ปากีสถาน และบังกลาเทศและในบรรดาคนไข้ในสหราชอาณาจัก 29 คน 17 คนได้เดินทางไปประเทศอินเดียและปากีสถานภายใน 1 ปี โดย 14 คนได้เข้าโรงพยาบาลในประเทศเหล่านี้ผู้เขียนบทความโทษทัวร์การแพทย์ในอินเดียว่าเป็นเหตุของการแพร่กระจายแบคทีเรียที่มี NDM-1 แต่รัฐบาลอินเดียต่อมากล่าวปฏิเสธ[27][28]

ผลกระทบสุราต่อสุขภาพ (2553)

บทความเดือนธันวาคม 2553 กำหนดว่า แอลกอฮอล์มีผลร้ายแรงทางการแพทย์และทางสังคมมากที่สุด เทียบกับยาเสพติดอื่น ๆ เช่นเฮโรอีน และโคเคนแบบสูบโดยแม้แต่กัญชา ยาอี และแอลเอสดี ก็ล้วนแต่สร้างความเสียหายน้อยกว่าแม้ว่าผู้เขียนจะไม่ได้เสนอให้ห้ามเหล้า แต่ก็เสนอว่า รัฐบาลควรจะขึ้นราคาจนกระทั่งมันไม่แพร่หลาย[29]โฆษกของสมาคมการค้าไวน์และแอลกอฮอล์ตอบโต้รายงานว่า การใช้แอลกอฮอล์อย่างผิด ๆ มีผลกระทบต่อคนส่วนน้อยที่ต้องการการศึกษา การรักษาบำบัด และการบังคับตามกฎหมายแต่ว่ามีชาวอังกฤษเป็นล้าน ๆ ที่เพลิดเพลินกับแอลกฮอล์โดยเป็นเครื่องดื่มสังคมประจำที่ชอบใจ[30]

งานศึกษา PACE (2554)

กลุ่มงานศึกษา PACE trial management group รายงานความสำเร็จในการใช้การออกกำลังกายและการบำบัดโดยการพูด (talk therapy) สำหรับกลุ่มอาการล้า (chronic fatigue syndrome) ในวารสารปี 2554[31]แต่ว่า งานศึกษานี้มีข้อโต้แย้งมาก ยกตัวอย่างเช่น นักสถิติศาสตร์ชีวภาพที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียกล่าวถึงงานศึกษาว่า "เป็นยอดของการทดลองทางคลินิกมือสมัครเล่น" และศาสตราจารย์ทางชีวเคมีและพันธุศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดกล่าวว่า "ผมตกใจที่เดอะแลนซิต พิมพ์บทความนี้ งานศึกษา PACE มีปัญหามากมายและมีคำถามเยอะแยะที่ควรจะถามจนกระทั่งว่า ผมไม่เข้าใจว่ามันผ่านกระบวนการทบทวนระดับเดียวกันไปได้อย่างไร"[32]

การโต้เถียงไม่ได้มีเหตุจากเพียงแค่สิ่งตีพิมพ์เท่านั้น แต่เป็นเพราะการปฏิเสธโดยทั้งผู้เขียนและวารสารที่จะแชร์ข้อมูลของงานศึกษาสำนักข่าว Slate รายงานว่า

เริ่มตั้งแต่ปี 2554 คนไข้ที่ต้องการวิเคราะห์งานศึกษาได้ยื่นคำร้องทางกฎหมายอิสรภาพข้อมูลเพื่อจะรู้ว่า ผลการทดสอบควรจะเป็นอย่างไรถ้าใช้กฎเกณฑ์วิธีดั้งเดิมที่ตั้งไว้แต่ต้น

แต่ว่าก็ถูกปฏิเสธเหมือนกับการร้องขออื่น ๆ เกี่ยวกับงานทดลอง โดยคำขอบางฉบับถูกปฏิเสธในฐานว่า เป็นการก่อกวน...(นอกจากนั้นแล้ว) ริชารด์ ฮอร์ตันผู้เป็นบรรณาธิการของเดอะแลนซิต ยังแก้ตัวแทนกลุ่มทดลองอย่างดุเดือดในการสัมภาษณ์ทางวิทยุ เขาเรียกผู้วิจารณ์ว่า "กลุ่มบุคคลค่อนข้างเล็ก แต่จัดระเบียบประสานงานกันดี พูดจาเปิดเผย และก่อความเสียหายได้มาก เป็นกลุ่มบุคคลที่ผมควรกล่าวว่า เข้าครอบครองประเด็นของเรื่องและบิดเบือนคำอภิปรายจนกระทั่งเป็นอันตรายต่อคนไข้ส่วนใหญ่อื่น"[33]

จดหมายเปิดถึงชนชาวกาซา (2557)

ในเดือนสิงหาคม 2557 วารสารพิมพ์จดหมายของกลุ่มนายแพทย์ "ที่ประณามประเทศอิสราเอลโดยคำที่แรงที่สุดที่จะเป็นไปได้ แต่กลับไม่กล่าวอะไรเกี่ยวกับความเหี้ยมโหดของกลุ่มฮะมาส"[34]ตามสำนักข่าวที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศอิสราเอล ผู้เขียนจดหมายรวมนายแพทย์ผู้ "เห็นใจต่อมุมมองของเดวิด ดู๊ก ผู้เป็นนักนิยมคนขาวเป็นใหญ่ และประธานระดับรัฐขององค์กร KKK"[35]นพ.คนหนึ่งจากกลุ่มตอบว่า "ผมได้ใช้สิทธิอิสรภาพทางความเห็นของผม และผมไม่เห็นด้วยหรือให้คุณค่ากับการเมืองของรัฐบาลอิสราเอล หรือของชาวยิวทั้งในและนอกประเทศอิสราเอล"ส่วน นพ.คนที่สองตอบว่า "ผมไม่รู้จักว่าใครคือเดวิด ดู๊ก หรือว่าเขามีความสัมพันธ์กับ KKK แต่ผมเป็นห่วงว่ามีความจริงในวิดีโอหรือไม่ คือความจริงว่าคนยิวควบคุมสื่อ การเมือง และการธนาคาร อะไรกำลังเกิดขึ้น ผมรู้สึกกังวลใจ"[34]

หัวหน้าบรรณาธิการนายริชาร์ด ฮอร์ตันกล่าวว่า "ผมไม่มีแผนที่จะถอนคืนจดหมาย และจะไม่ถอนคืนแม้ว่า (ประเด็นที่ตำหนิ)จะเป็นเรื่องจริง"[35]แต่ว่า นายฮอร์ตันต่อมาเดินทางมาเยี่ยมเยือนที่โรงพยาบาลหนึ่งในประเทศอิสราเอลแล้วกล่าวว่า เขารู้สึก "เสียใจเสียใจอย่างลึกซึ้ง"[36][37][38]ที่ได้พิมพ์จดหมายนั้น

ศาสตราจารย์แพทย์คนหนึ่งที่มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอนกล่าวว่า“ความล้มเหลวของผู้เขียนบทความในการเปิดเผยความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เป็นข้อผิดพลาดที่ร้ายแรงที่สุด ที่ไม่สมกับอาชีพ ที่ผิดจริยธรรมและความพยายามกลบเกลื่อนคำด่าอย่างรุนแรงทางการเมืองที่ร้ายกาจและเป็นเท็จโดยระดับหนึ่งนี้ว่าเป็นคำอุทธรณ์เพื่อมนุษยภาพ ไม่ควรจะมีส่วนในวรรณกรรมที่สำคัญไม่ต้องไปพูดถึงวารสารการแพทย์มืออาชีพ และเป็นเรื่องที่สามารถทำแม้แต่สิ่งตีพิมพ์ที่แย่ที่สุดให้เสื่อมเสีย”นอกจากนั้น ยังกล่าวหานายฮอร์ตันเป็นส่วนตัวอีกด้วยว่า“พฤติกรรมของฮอร์ตันในกรณีนี้ สอดคล้องกับการใช้ เดอะแลนซิต เป็นพาหะแสดงความคิดทางการเมืองสุดโต่งของเขาเอง ที่ทำมาเนิ่นนานและอย่างไม่สมควรโดยประการทั้งปวง มันเป็นการลดระดับของวารสารที่อยู่ในที่สูงมาก่อน”ส่วนนายฮอร์ตันตอบว่า "คุณจะแยกการเมืองออกจากสุขภาพได้อย่างไร ทั้งสองต้องไปด้วยกัน"[39]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เดอะแลนซิต http://www.eurekastreet.com.au/article.aspx?aeid=1... http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601103&si... http://www.bmj.com/cgi/content/full/327/7428/1364-... http://www.boston.com/news/world/europe/articles/2... http://briandeer.com/solved/bmj-wakefield-3-1.htm http://www.cnn.com/2010/HEALTH/02/02/lancet.retrac... http://www.elsevier.com/wps/find/journaldescriptio... http://www.haaretz.com/jewish-world/jewish-world-n... http://www.haaretz.com/news/diplomacy-defense/1.61... http://www.hindustantimes.com/MNCs-behind-superbug...