อาการ ของ โรคจิตเภท

ใจความของโรคจิตเภทเป็นวิดีโอภาษาอังกฤษ (มีคำบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ)
ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: อาการที่เป็นมูลฐานของโรคจิตเภท

คนไข้โรคจิตเภทอาจมีอาการประสาทหลอน (โดยมากเป็นการได้ยินเสียงพูด) หลงผิด (บ่อยครั้งเป็นแบบแปลก ๆ [bizarre] หรือว่ามีคนตามรังควาน) และคิดกับพูดสับสนซึ่งอาจรวมการคิดไม่ปะติดปะต่อ พูดประโยคต่อ ๆ กันที่ความหมายไม่ค่อยเชื่อมกัน และพูดเข้าใจไม่ได้ (เรียกว่า word salad)การถอนตัวจากสังคม การใส่เสื้อผ้าที่ไม่เรียบร้อย การรักษาสุขอนามัยที่ไม่ดี การไม่มีแรงจูงใจจะทำอะไร ๆ การตัดสินใจไม่ได้ เหล่านี้ล้วนสามัญในโรค[22]

ความบิดเบือนทางความรู้สึกเกี่ยวกับตน (self-disorder) เช่น ความรู้สึกว่าความคิดและความรู้สึกไม่ใช่ของตนเอง จนกระทั่งถึงความเชื่อว่า คนอื่นเอาความคิดมาใส่ในใจของตน (บางครั้งเรียกว่า passivity phenomena) ก็เป็นเรื่องสามัญด้วย[23]บ่อยครั้งสามารถสังเกตเห็นปัญหาทางอารมณ์ เช่น การไม่ตอบสนองต่ออะไร ๆ[24]ความพิการในเรื่องปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (social cognition)[upper-alpha 1][25]เช่นเดียวกับอาการหวาดระแวง ก็สัมพันธ์กับโรคนี้ด้วย

ปัญหาอื่น ๆ รวมทั้งการแยกตัวจากสังคม[upper-alpha 2][27],ปัญหาทางความจำใช้งาน (working memory)[upper-alpha 3]และความจำระยะยาว, ปัญหาความใส่ใจ, ปัญหาทาง executive functions และความล่าช้าในการแปลผลข้อมูล[9]ก็เกิดอย่างสามัญด้วยในรูปแบบย่อยของโรคที่มีน้อยอย่างหนึ่ง บุคคลอาจจะไม่พูดอะไร ๆ โดยมาก คงอยู่ในท่าทางที่เแปลกโดยไม่เคลื่อนไหว หรือมีความไม่สงบทางกายใจอย่างไร้จุดหมาย นี่ล้วนเป็นอาการของอาการเคลื่อนไหวน้อยหรือมากเกิน (catatonia)[30]คนไข้บ่อยครั้งรับรู้อารมณ์คนอื่นทางสีหน้าได้ยาก[31]ไม่ชัดเจนว่าอาการความคิดชะงัก (thought blocking) ที่บุคคลซึ่งกำลังพูดอยู่เงียบไปเป็นเวลา 2-3 วินาทีจนเป็นนาที ๆ เกิดในโรคนี้หรือไม่[32][33]

คนไข้ประมาณ 30-50% ไม่ยอมรับว่าตนเป็นโรคหรือยอมทำตามการรักษาของหมอ[34]การรักษาอาจทำให้เข้าใจตนเองได้ดีขึ้น[35]

คนไข้อาจมีอัตราเกิดกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น (IBS) สูง แต่บ่อยครั้งก็จะไม่พูดถึงมันยกเว้นถามตรง ๆ[36]อาการดื่มน้ำมากเหตุจิต (psychogenic polydipsia) โดยไร้เหตุผลทางสรีรวิทยาเพื่อดื่มน้ำ ค่อนข้างสามัญในคนไข้[37]

การจำแนกอาการ

โรคจิตเภทมักบรรยายเป็นอาการเชิงบวก (positive symtoms) และอาการเชิงลบ/อาการบกพร่อง (negative symptoms)[38]อาการเชิงบวกก็คือที่คนโดยมากปกติไม่มี แต่มีในคนไข้ซึ่งอาจรวมอาการหลงผิด ความคิดและคำพูดสับสน และประสาทหลอนทางหู ทางตา ทางจมูก ทางลิ้น ทั้งหมดปกติจัดว่าเป็นอาการโรคจิต[39]ประสาทหลอนปกติจะสัมพันธ์กับตีมของความหลงผิด[40]อาการเชิงบวกทั่วไปตอบสนองได้ดีต่อยารักษา[40]

อาการเชิงลบ/อาการบกพร่องก็คือความบกพร่องของการตอบสนองทางอารมณ์หรือของกระบวนการทางความคิดอื่น ๆ โดยคนไข้ตอบสนองต่อยารักษาได้แย่กว่า[22]อาการรวมทั้งการไร้การตอบสนองทางอารมณ์ ไม่พูด ไม่สามารถเกิดความยินดี ไร้ความต้องการที่จะสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น และไร้แรงจูงใจที่จะทำอะไรเองอาการบกพร่องดูเหมือนจะทำให้คุณภาพชีวิต, สมรรถภาพการดำเนินชีวิต และความเป็นภาระต่อคนอื่นแย่กว่าอาการเชิงบวก[19][41]คนไข้ที่มีอาการบกพร่องมากกว่าบ่อยครั้งมีประวัติการปรับตัวไม่ดีก่อนจะเกิดโรค และการตอบสนองต่อยารักษาบ่อยครั้งจะจำกัด[22][42]

งานวิเคราะห์ปัจจัย (factor analysis) หลายงานได้วิเคราะห์อาการที่จัดเป็นอาการเชิงบวกและอาการเชิงลบเช่นนี้ แล้วพบว่า สามารถแบ่งอาการของโรคจิตเภทออกเป็น 5 มิติหรือ 5 กลุ่มอย่างคงเส้นคงวาแม้งานอาจจะใช้ชื่อต่าง ๆ กันคืออาการโรคจิต (psychotic symptoms) อาการบกพร่อง (negative symptoms) อาการสับสนวุ่นวาย (disorganization symptoms) ความซึมเศร้าและความวิตกกังวล (depression and anxiety) และอาการกายใจไม่สงบ (agitation) นักวิชาการเชื่อว่า ถ้ารวบรวบข้อมูลอาการของโรคและประวัติคนไข้เพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ ก็จะสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ มากขึ้นในอนาคต[43]

การทำงานผิดปกติทางประชาน

ภาพ My Eyes at the Moment of the Apparitions (ตาของผมเมื่อปีศาจปรากฏ) โดยจิตรกรชาวเยอรมัน August Natterer ผู้มีโรคจิตเภท

ความบกพร่องของสมรรถภาพทางประชาน/ความคิด ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นอาการหลักอย่างหนึ่งของโรคจิตเภท[44][45][46]ระดับความบกพร่องทางประชานเป็นตัวพยากรณ์ว่าคนไข้จะดำเนินชีวิต ทำงาน และดำรงอยู่ในการรักษาของแพทย์ได้ดีขนาดไหน[47]การทำงานผิดปกติทางประชานและความรุนแรงของมันในคนไข้รายงานว่าเป็นตัวพยากรณ์การดำเนินชีวิตได้ดีกว่าอาการเชิงบวกและเชิงลบของโรค[44]ความบกพร่องทางประชานพบอยู่ในเรื่องต่าง ๆ มากมายรวมทั้ง ความจำใช้งาน[upper-alpha 3] ความจำระยะยาว[48][49]ความจำเกี่ยวกับภาษา (verbal declarative memory)[50],การแปลผลความหมายของคำ (semantic processing)[upper-alpha 4][51]ความจำอาศัยเหตุการณ์[47]ความใส่ใจ[19]และการเรียนรู้ (โดยเฉพาะในเรื่องของภาษา)[48]

ความบกพร่องในเรื่องความจำทางภาษาชัดเจนที่สุดในคนไข้โรคจิตเภท ซึ่งแม้ความใส่ใจที่บกพร่องก็ไม่สามารถเป็นคำอธิบายได้และสัมพันธ์กับสมรรถภาพที่ลดลงของคนไข้ในการเข้ารหัสความหมายของภาษา ซึ่งอ้างว่าเป็นเหตุของความบกพร่องอีกอย่างหนึ่งในความจำระยะยาว[48]เมื่อได้รายการคำ คนปกติจำคำดี ๆ ได้บ่อยครั้งกว่า (ซึ่งเรียกว่า Pollyanna principle) แต่คนไข้โรคนี้มักจะจำคำทั้งหมดได้เท่า ๆ กันไม่ว่าจะมีความหมายดีหรือไม่ดี ซึ่งแสดงว่า ภาวะสิ้นยินดีก่อความบกพร่องต่อการเข้ารหัสความหมายของคำ[48]ความบกพร่องเช่นนี้จะพบในคนไข้ก่อนจะปรากฏโรคเป็นระยะหนึ่ง[44][46][52]ญาติใกล้ชิด[upper-alpha 5]รวมทั้งพ่อแม่ลูกของคนไข้โรคจิตเภทและบุคคลเสี่ยงสูงอื่น ๆ ปรากฏว่ามีความบกพร่องทางประชาน/ความคิด โดยเฉพาะในเรื่องความจำใช้งาน[52]

งานทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับความบกพร่องทางประชานของคนไข้โรคนี้แสดงว่า ความบกพร่องอาจมีตั้งแต่ต้นวันรุ่น หรืออาจเกิดขึ้นก่อนหน้านั้นในวัยเด็ก[44]ความบกพร่องที่พบมักจะดำรงอยู่ในระดับเดียวกันในระยะยาวสำหรับคนไข้โดยมาก หรือมีวิถีการดำเนินที่ระบุได้โดยตัวแปรทางสิ่งแวดล้อม[44][48]แม้หลักฐานที่แสดงว่าความบกพร่องจะเสถียรตามเวลาจะน่าเชื่อถือและมีมาก[47][48]แต่งานวิจัยในประเด็นนี้โดยมากก็เพ่งความสนใจไปที่วิธีการปรับปรุงความใส่ใจและความจำใช้งาน[48][49]

ความพยายามปรับปรุงสมรรถภาพการเรียนรู้ของคนไข้โดยให้รางวัลมีค่าสูงหรือมีค่าน้อย และเมื่อสอนหรือไม่สอน พบว่า การเพิ่มรางวัลทำให้การเรียนรู้แย่ลง ในขณะที่การสอนทำให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น ซึ่งแสดงว่า วิธีการรักษาโรคบางรูปแบบอาจเพิ่มสมรรถภาพทางประชาน/ความคิด[48]เช่น การฝึกคนไข้ให้เปลี่ยนการคิด การใส่ใจ และพฤติกรรมทางภาษาโดยให้ออกเสียงงานที่ต้องทำ, การฝึกการแก้ปัญหา (cognitive rehearsal), การให้คำสอนแก่ตนเอง, การให้คำปลอบใจแก่ตนเองเพื่อรับมือกับความล้มเหลว, และการชมตนเองเมื่อประสบความสำเร็จ ช่วยให้ระลึกถึงความจำ (recall task) ได้ดีขึ้นอย่างสำคัญ[48]การฝึกเช่นนี้ ซึ่งเรียกว่า self-instructional (SI) training (การฝึกสอนตนเอง) มีประโยชน์ต่อปัญหาต่าง ๆ เช่น การพูดไร้ความหมายที่ลดลง และการระลึกถึงความจำได้ดีขึ้นเมื่อสับสนหรือวิตกกังวล[48]

การเริ่มต้น

ปลายวัยรุ่นและต้นวัยผู้ใหญ่เป็นช่วงที่โรคจิตเภทเริ่มต้นมากที่สุด[9]ซึ่งเป็นปีวิกฤติในเรื่องพัฒนาการทางสังคมและอาชีพ[53]ในชาย 40% และหญิง 23% ที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ อาการเริ่มปรากฏก่อนถึงอายุ 19 ปี[54]อาการทั่วไปของโรคมักจะปรากฏระหว่างอายุ 16-30 ปี[3][6]ชายมักจะเริ่มเกิดโรคระหว่างอายุ 18-25 ปีและหญิง 25-35 ปี[55]เพื่อลดปัญหาทางพัฒนาการเนื่องกับโรคจิตเภท มีงานศึกษาที่ทำเป็นจำนวนมากเพื่อระบุและรักษาระยะอาการบอกเหตุ (prodrome)[upper-alpha 6]ของโรคซึ่งได้ตรวจพบถึง 30 เดือนก่อนที่อาการจะเริ่ม[53]

ผู้ที่จะเกิดโรคจิตเภทในอนาคตอาจประสบกับอาการโรคจิตที่ชั่วคราวและจำกัด[58]และมีอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจงในเรื่องการถอนตัวจากสังคม หงุดหงิด อารมณ์ละเหี่ย (dysphoria)[59]และความซุ่มซ่ามก่อนจะเกิดโรค[60]เด็กที่จะเกิดโรคจิตเภทอาจมีระดับเชาวน์ปัญญาที่ลดลง พัฒนาการทางการเคลื่อนไหวที่ช้าลง (คือ ถึงจุดสำคัญ ๆ ในชีวิตเช่นการเดินได้ช้าลง) ชอบเล่นคนเดียว กลัวการเข้าสังคม และเรียนหนังสือได้ไม่ดี[61][62][63]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคจิตเภท http://www.clinicalevidence.bmj.com/x/systematic-r... http://www.diseasesdatabase.com/ddb11890.htm http://www.emedicine.com/emerg/topic520.htm http://www.emedicine.com/med/topic2072.htm http://www.emedicine.com/med/topic3113.htm http://www.emedicine.com/med/topic3113.htm# http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=295 http://www.ijpsy.com/volumen3/num2/60/schizophreni... http://www.kluweronline.com/art.pdf?issn=1386-7423... http://pro.psychcentral.com/dsm-5-changes-schizoph...