การรักษา ของ โรคจิตเภท

ดูบทความหลักที่: การรักษาโรคจิตเภท

การรักษาโรคจิตเภทโดยหลักก็คือการให้ยารักษาโรคจิต (antipsychotic) บ่อยครั้งบวกกับให้ความสนับสนุนช่วยเหลือทางจิตและสังคม[9]อาจต้องเข้าโรงพยาบาลสำหรับคราวที่มีอาการหนักไม่ว่าจะโดยยินยอมหรือไม่ยินยอมการอยู่ใน รพ. ในระยะยาวไม่ค่อยสามัญตั้งแต่การปฏิรูปให้คนไข้โรคจิตอยู่ใต้การดูแลของชุมชน (ในสังคมตะวันตก) ตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 แม้ก็ยังมีอยู่[17]ในบางประเทศ หน่วยบริการชุมชนรวมทั้งศูนย์ที่คนไข้สามารถแวะมาหา ทีมแพทย์พยาบาลทางจิตในพื้นที่ซึ่งออกไปเยี่ยมคนไข้ ระบบช่วยหางานให้คนไข้[164]และกลุ่มสนับสนุนคนไข้เป็นเรื่องสามัญหลักฐานบางส่วนระบุว่า การออกกำลังกายเป็นปกติมีผลดีต่อสุขภาพกายและใจของคนไข้โรคจิตเภท[165]จนถึงปี 2015 ยังไม่ชัดเจนว่าการรักษาด้วยการกระตุ้นประสาทผ่านกะโหลกด้วยสนามแม่เหล็ก (TMS) มีผลดีต่อคนไข้[166]

ยา

ริสเพอริโดน (ชื่อการค้า Risperdal) เป็นยารักษาโรคจิตนอกแบบ (atypical antipsychotic) ที่สามัญ

การรักษาโรคจิตเภททางจิตเวชอันดับแรกเป็นการให้ยารักษาโรคจิต (antipsychotic)[167]ซึ่งอาจลดอาการเชิงบวกได้ภายใน 7-14 วันแต่ก็ไม่สามารถปรับปรุงอาการเชิงลบและการทำงานผิดปกติทางประชาน/ความคิดได้อย่างสำคัญ[42][168]ในคนไข้ที่ได้ยา การกินยาต่อไปเรื่อย ๆ ลดความเสี่ยงการกลับเกิดโรคอีก[169][170]มีหลักฐานน้อยมากว่าผลเป็นอย่างไรเกิน 2-3 ปี[170]ยารักษาโรคจิตอาจก่อภาวะไวสูงต่อสารโดพามีน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงการเกิดอาการถ้าหยุดยา[171]

ยารักษาโรคจิตที่เลือกใช้จะขึ้นอยู่กับประโยชน์ ความเสี่ยง และค่าใช้จ่าย[9]ยังไม่ชัดเจนว่า ถ้ารวมเป็นหมู่ ๆ ยาตามแบบ (typical) หรือยานอกแบบ (atypical) ดีกว่ากัน[16][172]ยา amisulpride, olanzapine, ริสเพอริโดน และ clozapine อาจมีผลดีกว่าแต่ก็สัมพันธ์กับผลข้างเคียงมากกว่า[173]ยารักษาโรคจิตตามแบบมีอัตราคนไข้เลิกกินยาและกลับเกิดอาการอีกเท่ากับยานอกแบบเมื่อใช้ในขนาดต่ำจนถึงปานกลาง[174]คนไข้ 40-50% ตอบสนองได้ดี, 30-40% ตอบสนองเป็นบางส่วน และ 20% ไม่ตอบสนองคืออาการไม่ดีขึ้นพอหลังจาก 6 สัปดาห์ที่ใช้ยารักษาโรคจิต 2-3 อย่าง[42]clozapine เป็นยารักษาที่มีประสิทธิผลสำหรับคนไข้ที่ตอบสนองต่อยาอื่น ๆ ได้ไม่ดี (ที่เรียกว่า treatment-resistant schizophrenia หรือ refractory schizophrenia)[175]แต่มีโอกาสให้ผลข้างเคียงที่รุนแรงคือ ภาวะแกรนูโลไซต์น้อย (agranulocytosis) คือจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวลดลงโดยเกิดในอัตรา 4%[9][15][176]

คนไข้ที่กินยารักษาโรคจิตโดยมากมีผลข้างเคียงที่กินยาตามแบบ (typical antipsychotics) มักจะมีอาการ extrapyramidal ในอัตราที่สูงกว่า เทียบกับคนที่กินยานอกแบบ (atypical) ซึ่งสัมพันธ์กับน้ำหนักขึ้น โรคเบาหวาน และความเสี่ยงต่อกลุ่มอาการแมแทบอลิซึมซึ่งเด่นที่สุดเมื่อกินยา olanzapine ในขณะที่ริสเพอริโดนและ quetiapine ก็สัมพันธ์กับน้ำหนักขึ้นด้วย[173]ริสเพอริโดนมีอัตราการเกิดอาการ extrapyramidal คล้ายกับยาตามแบบคือ haloperidol[173]

ไม่ชัดเจนว่า ยารักษาโรคจิตใหม่ ๆ ช่วยลดโอกาสเกิด neuroleptic malignant syndrome[upper-alpha 12]หรือ อาการยืกยือเหตุยาซึ่งเกิดภายหลัง (tardive dyskinesia) ซึ่งเป็นโรคประสาท (neurological disorder) ที่รุนแรงหรือไม่[179]

สำหรับคนไข้ที่ไม่ยอมหรือไม่สามารถกินยาได้อย่างสม่ำเสมอ ยารักษาโรคจิตที่ออกฤทธิ์ในระยะยาว (แบบ depot) อาจใช้คุมโรคได้[180]ซึ่งลดความเสี่ยงการเกิดโรคอีกได้ดีกว่ายากิน[169]ดังนั้นเมื่อใช้พร้อมกับการรักษาทางจิตสังคมด้วย ก็อาจทำให้คนไข้อยู่กับการรักษาในการดูแลของแพทย์ได้ดีกว่า[180]สมาคมจิตเวชอเมริกันแนะนำให้พิจารณาเลิกยารักษาโรคจิตในคนไข้บางส่วนถ้าไม่มีอาการเกินกว่าปีหนึ่ง[170]

การรักษาทางจิตสังคม

การรักษาทางจิตสังคมบางอย่างอาจมีประโยชน์ในการรักษาโรคจิตเภทรวมทั้งครอบครัวบำบัด (family therapy)[181],assertive community treatment, การช่วยหางานให้คนไข้, cognitive remediation[182],การฝึกทักษะการทำงาน, การช่วยเหลือทางเศรษฐกิจพอเป็นพิธี และการรักษาทางจิตสังคมสำหรับการใช้ยาเสพติดและการคุมน้ำหนัก[183]ครอบครัวบำบัดหรือการให้การศึกษาแก่ครอบครัว ซึ่งมุ่งสมาชิกทุกคนในครอบครัวคนไข้ อาจลดการเกิดโรคอีกและการเข้า รพ.[181]การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT) มีหลักฐานน้อยว่ามีประสิทธิผลลดหรือป้องกันการเกิดโรคอีก[184][185]หลักฐานว่าการฝึกแบบ metacognitive training (MCT) มีประโยชน์ไม่ชัดเจน คืองานทบทวนวรรณกรรมบางส่วนพบประโยชน์ แต่ที่เหลือไม่พบ[186][187][188]การบำบัดด้วยศิลป์หรือละครไม่ได้วิจัยอย่างเพียงพอ[189][190]กลุ่มคนไข้สนับสนุน ที่บุคคลผู้เคยประสบความเจ็บป่วยทางจิตใจช่วยเหลือกันเอง ไม่พบว่ามีประโยชน์ที่ชัดเจนสำหรับโรคนี้[191]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคจิตเภท http://www.clinicalevidence.bmj.com/x/systematic-r... http://www.diseasesdatabase.com/ddb11890.htm http://www.emedicine.com/emerg/topic520.htm http://www.emedicine.com/med/topic2072.htm http://www.emedicine.com/med/topic3113.htm http://www.emedicine.com/med/topic3113.htm# http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=295 http://www.ijpsy.com/volumen3/num2/60/schizophreni... http://www.kluweronline.com/art.pdf?issn=1386-7423... http://pro.psychcentral.com/dsm-5-changes-schizoph...