ความช่วยเหลือ ของ ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์

วิลเลียม สมิธ โอไบรอันกล่าวปาฐกถาในหัวข้อเรื่องการให้ “ทาน” (charity) ที่สมาคมเพื่อการเพิกถอนการเป็นสหภาพในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1845 สรรเสริญความเห็นทั่วไปในหัวข้อนี้ว่าไอร์แลนด์จะไม่ยอมรับ “ทาน” จากอังกฤษ โอไบรอันให้ความเห็นว่าทรัพยากรของไอร์แลนด์ยังคงมีมากมายพอที่จะดำรงความเป็นอยู่ของประชากร และจนกว่าทรัพยากรเหล่านั้นจะหมดสิ้นโอไบรอันก็ยังคงหวังว่าจะไม่มีผู้ใดใน “ไอร์แลนด์ที่จะยอมลดตัวลงไปขอให้อังกฤษช่วย”[68]

มิทเชลใน “การพิชิตไอร์แลนด์ครั้งสุดท้าย (อาจเป็นได้)” (The Last Conquest of Ireland (Perhaps)) กล่าวในหัวข้อเดียวกันว่าไม่มีผู้ใดเลยจากไอร์แลนด์ที่หาทานในช่วงนี้ และผู้ที่เสาะหาทานคืออังกฤษเองที่ทำในนามของไอร์แลนด์และเมื่อได้รับมาแล้วก็เป็นผู้บริหารเอง มิทเชลเสนอว่าหนังสือพิมพ์อังกฤษเท่านั้นที่เป็นผู้บรรยายว่า “ในชั่วขณะนั้นไอร์แลนด์ตกอยู่ในสภาวะอันวิกฤติ ที่ทำให้เป็นกลายเป็นขอทานผู้น่าสังเวชอยู่หน้าประตูอังกฤษ และไอร์แลนด์ก็ยังต้องการเงินทานสำหรับมนุษยชาติทั้งหมด” มิทเชลกล่าวเน้นว่าไอร์แลนด์ไม่เคยขอทานหรือความช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นชนิดใดจากอังกฤษหรือชาติอื่น แต่อังกฤษเองที่เป็นฝ่ายขอในนามของไอร์แลนด์ และเสนอว่าอังกฤษเองเป็น “ผู้แบมือขอไปทั่วโลก ขอให้บริจาคให้ช่วยคนยากจนที่น่าสงสารในไอร์แลนด์” และตั้งตนเป็นผู้แทนขององค์การกุศลและเอากำไรจากผลประโยชน์นั้นด้วยตนเอง

เงินบริจาคหลั่งไหลมาจากที่ต่างๆ เช่นโกลกาตาผู้ได้ชื่อว่าเป็นคนแรกที่ส่งเงินมาบริจาคเป็นจำนวน £14,000 ที่ได้มาจากการจัดโดยทหารไอริชที่รับราชการอยู่ที่โกลกาตาและชาวไอริชที่ทำงานให้กับบริษัทอินเดียตะวันออกของบริติช, สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 9 ประทานเงิน และ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระราชทานเงิน £2,000

เควคเกอร์อัลเฟรด เว็บบ์หนึ่งในอาสาสมัครในไอร์แลนด์ขณะนั้นบรรยายว่า:

เมื่อทุพภิกขภัยเกิดขึ้นระบบแสวงหาสาวก (proselytism) ก็เริ่มแพร่ขยาย ...เครือข่ายของโปรเตสแตนต์ผู้มีความตั้งใจดีก็ก่อตัวขึ้นและแพร่ขยายออกไปในบริเวณต่างๆ ของไอร์แลนด์ ที่ต้อนคนเข้านิกายและสถานศึกษาเพื่อการแลกเปลี่ยนกับอาหารและการช่วยเหลืออื่นๆ ...ขบวนการนี้ยังคงทิ้งร่องรอยของความขมขื่นเอาไว้...[69]

นอกจากองค์การทางศาสนาแล้วก็มีองค์การเอกชนที่เข้ามาทำการช่วยเหลือผู้ที่เป็นเหยื่อของทุพภิกขภัย องค์การช่วยเหลือผู้ประสบภัยบริติช (British Relief Association) ก็เป็นองค์การหนึ่ง ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1847 องค์การจัดหาเงินทั่วอังกฤษ อเมริกา และออสเตรเลีย โดยใช้ “พระราชสาส์นจากพระราชินี” ซึ่งเป็นพระราชสาส์นจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียร้องขอให้ช่วยบริจาคเงินผู้ประสบความทุกข์ยากในไอร์แลนด์[70] จดหมายฉบับแรกทำให้องค์การได้รับเงินบริจาคจำนวน £171,533 “พระราชสาส์นจากพระราชินี” ฉบับที่สองออกในปลายปี ค.ศ. 1847 ไม่ได้รับความสำเร็จเท่าฉบับแรก แต่เงินทั้งหมดที่ได้รับจากการบริจาคก็ตกประมาณ £200,000

ความเช่วยเหลือจากจักรวรรดิออตโตมัน

ในปี ค.ศ. 1845 สุลต่านอับดุลเมซิดที่ 1 แห่งจักรวรรดิออตโตมันทรงแสดงพระราชประสงค์จะส่งเงินจำนวน £10,000 มาช่วยเกษตรกรชาวไอริชแต่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงขอให้ส่งไปเพียง £1,000 เพราะพระองค์เองทรงส่งเงินไปช่วยเพียงจำนวน £2,000 สุลต่านอับดุลเมซิดก็ทรงทำตามพระราชประสงค์แต่ทรงแอบส่งเรือพร้อมอาหารมาช่วยสามลำ ศาลอังกฤษพยายามยับยั้งเรือแต่เรืออาหารก็เดินทางไปถึงอ่าวโดรเกดาจนได้[71][72]

ความช่วยเหลือจากอเมริกันอินเดียน

ในปี ค.ศ. 1847 ระหว่างกลางวิกฤติการณ์กลุ่มชาวอเมริกันอินเดียนชอคทอว์ รวบรวมเงินจำนวน $710 (แต่บทความหลายบทความกล่าวว่าเป็นจำนวน $170 หลังจากที่แอนจี เดโบพิมพ์จำนวนผิดใน The Rise and Fall of the Choctaw Republic และส่งมาให้ชาวไอริชผู้อดอยาก จูดี แอลแลนบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ “"Choctaw Nation of Oklahoma"” กล่าวว่า “เป็นช่วงเวลาเพียงสิบหกปีที่ชอคทอว์ต้องประสบกับเส้นทางธารน้ำตา และต้องประสบกับทุพภิกขภัย...ซึ่งเป็นการกระทำอันน่าประทับใจ ถ้าเป็นในปัจจุบันเงินจำนวนนี้อาจจะเป็นจำนวนหนึ่งล้านดอลลาร์สหรัฐ” เพื่อเป็นการำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าวในโอกาสครบรอบ 150 ปีชาวไอริชแปดคนก็เดินตามรอยเส้นทางธารน้ำตา[73]

ใกล้เคียง

ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ ทุพภิกขภัย ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554 ทุพภิกขภัยในประเทศเอธิโอเปีย พ.ศ. 2526–2528 ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ ค.ศ. 1315–1317 ทุพภิกขภัยในเกาหลีเหนือ ทุพภิกขภัยในประเทศรัสเซีย ค.ศ. 1921–1922 ทุพภิกขภัยในไอร์แลนด์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ http://www.doonbleisce.com/famine_in_doon.htm http://www.emigrantletters.com/IE/output.asp?Artic... http://www.fountainmagazine.com/articles.php?SIN=7... http://books.google.com/books?id=Q3crAAAACAAJ&dq=%... http://books.google.com/books?id=sk3o1irXY5oC&pg=P... http://books.google.com/books?q=%22irish+holocaust... http://www.historyplace.com/worldhistory/famine/co... http://www.internetspor.com/v3/futbol/haber.php?ha... http://www.mccorkellline.com/ http://www.physorg.com/news171720802.html