อิทธิพลในภายหลัง ของ ปัญหาเยอรมัน

นายกรัฐมนตรีออสเตรียช่วง พ.ศ. 2477 - 2481 คูร์ท ชุชนิจก์ คัดค้านการบุกครองออสเตรียและผนวกรวมเข้ากับจักรวรรดิไรช์ที่สามของฮิตเลอร์อย่างมาก

แนวคิดที่ต้องการรวมเอาดินแดนของออสเตรีย (เฉพาะส่วนที่มีประชากรผู้พูดภาษาเยอรมันเป็นภาษาแม่) เข้ากับเยอรมนีเป็น เยอรมนีใหญ่ ยังคงปรากฎอยู่ในหมู่ประชาชนบางกลุ่มของทั้งสองประเทศ และได้รับการสนับสนุนขึ้นมาอีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง และจากการล่มสลายของระบอบราชาธิปไตยในออสเตรีย-ฮังการีในปี พ.ศ. 2461 ที่ได้สถาปนารัฐหลงเหลือ (rump state) นามว่าสาธารณรัฐเยอรมันออสเตรียขึ้นมา ผู้สนับสนุนพยายามผลักดันเยอรมันออสเตรียให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐไวมาร์ อย่างไรก็ตามความพยายามนี้ถูกยับยั้งไว้ด้วยเงื่อนไขทั้งในสนธิสัญญาแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล และสนธิสัญญาแวร์ซาย แม้พรรคการเมืองหลักของออสเตรียอย่างพรรคมหาประชาชนเยอรมัน (Greater German People's Party) และพรรคสังคมประชาธิปไตย (Social Democrats Party) จะสนับสนุนแนวคิดนี้ก็ตาม

ต่อมาระบอบ เอาสโทรฟาสชิสมุส (Austrofaschismus; ฟาสซิสต์ออสเตรีย) ของออสเตรียระหว่างปี พ.ศ. 2477 - พ.ศ. 2481 ได้มุ่งเน้นไปที่ประวัติศาสตร์ของออสเตรียและต่อต้านการรวมออสเตรียเข้ากับจักรวรรดิไรช์ที่สาม เนื่องจากความเชื่อที่ว่าชาวออสเตรียคือ "ชาวเยอรมันผู้ดีกว่า"[3] นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีออสเตรีย คูร์ท ชุชนิจก์ ยังเรียกออสเตรียว่าเป็น "รัฐเยอรมันที่ดีกว่า" อีกด้วย แต่ชุชนิจก์กลับต้องดิ้นรนอย่างมากเพื่อให้ออสเตรียสามารถดำรงเอกราชของตนไว้ได้ อย่างไรก็ตามนักชาตินิยมเยอรมันยังคงปรารถนาที่จะรวมชาวเยอรมันทั้งหมดไว้ภายใต้รัฐหนึ่งเดียวตามแนวทางมหาประเทศ

แนวเขตยึดครองในเยอรมนี พ.ศ. 2490 ส่วนดินแดนนอกแนวโอเดอร์-ไนเซอตกเป็นของโปแลนด์และเป็นเขตการควบคุมของโซเวียต รวมไปถึงรัฐใต้อารักขาซาร์ซึ่งแสดงด้วยพื้นที่สีขาวบัตรลงคะแนนเสียง วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2481 โดยข้อความในบัตรมีความว่า "ท่านเห็นด้วยกับการรวมออสเตรียเข้ากับ จักรวรรดิไรซ์ เยอรมันเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2481 หรือไม่ และท่านลงคะแนนเสียงให้กับพรรคของผู้นำของเรา อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ หรือไม่" ซึ่งวงกลมวงใหญ่แสดงข้อความว่า "ใช่" ส่วนวงเล็กกว่าคือ "ไม่"

ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ซึ่งเป็นชาวเยอรมันเชื้อสายออสเตรียแต่กำเนิด ประสบความสำเร็จในการรวมออสเตรียอันเป็นแผ่นดินเกิดเข้ากับเยอรมนีได้สำเร็จใน อันชลุสส์ ซึ่งเป็นความปรารถนาส่วนตัวของเขามาอย่างยาวนาน แต่การกระทำดังกล่าวถือเป็นการละเมิดเงื่อนไขข้อตกลงในสนธิสัญญาแวร์ซาย แม้ว่าชาวเยอรมันและชาวออสเตรียต่างพากันสนับสนุนอย่างล้นหลามก็ตาม ทั้งนี้สถานการณ์ทางการเมืองในออสเตรียแตกต่างจากช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ค่อนข้างมาก โดยในช่วงปี พ.ศ. 2481 ออสเตรียตกอยู่ในเงามืดของความเป็นชาติมหาอำนาจในอดีตและมีสถานะด้อยกว่าเยอรมนีอย่างมาก ทั้งนี้หากกล่าวถึงแนวทางมหาประเทศเยอรมันในบริบทช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 จะเรียกรัฐที่รวมกันใหม่นี้ว่า กรอสส์ดอยท์เชสไรซ์ (Großdeutsches Reich; มหาจักรวรรดิไรซ์เยอรมัน) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า กรอสส์ดอยท์ชลันด์ (Großdeutschland; เยอรมนีใหญ่) ซึ่งในครั้งแรกเป็นชื่อที่เรียกอย่างไม่เป็นทางการ แต่ต่อมาถูกใช้เป็นชื่อทางการในปี พ.ศ. 2486 และเช่นเดียวกับเยอรมนี (ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง) ออสเตรีย และอัลซาส-ลอแรน มหาจักรวรรดิไรซ์ได้ผนวกรวมแกรนดัชชีลักเซมเบิร์ก ซูเดเทินลันด์ โบฮีเมียและโมราเวีย ดินแดนมีเมิล ดินแดนโปแลนด์ที่ถูกผนวกรวมเข้ากับนาซีเยอรมนี เสรีรัฐดันซิก และดินแดนของ "รัฐบาลทั่วไป" (ดินแดนโปแลนด์ที่ถูกกองทัพเยอรมันยึดครอง) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิ

ไปรษณียากรผลิตในปี พ.ศ. 2488 โดย "มหาจักรวรรดิไรซ์เยอรมัน"มหาจักรวรรดิไรซ์เยอรมัน พ.ศ. 2486

หลังสงครามโลกครั้งที่สองและการรวมประเทศ

การรวมประเทศกันระหว่างออสเตรียและเยอรมนีสิ้นสุดลงพร้อมกับสงครามโลกครั้งที่สองและความพ่ายแพ้ของฝ่ายนาซีเยอรมนีในปี พ.ศ. 2488 ส่งผลให้ เยอรมนีใหญ่ ถูกแยกออกเป็นสามประเทศคือ เยอรมนีตะวันตก เยอรมนีตะวันออก และออสเตรีย โดยฝ่ายสัมพันธมิตร นอกจากนี้เยอรมนียังสูญเสียอาณาเขตจำนวนมากหลังสงครามสิ้นสุดลง เช่น อาณาเขตส่วนมากของปรัสเซียในอดีต ซึ่งถูกผนวกคืนแก่โปแลนด์และบางส่วนถูกผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต ในขณะที่ลักเซมเบิร์ก ดินแดนของชาวเช็ก (เช็กโกสโลวาเกีย) และดินแดนของชาวสโลวีเนีย (ยูโกสลาเวีย) ได้รับเอกราชคืนจากเยอรมนีในท้ายที่สุด[4]

ในช่วงแรกฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มแบ่งแยกเยอรมนีออกเป็นเขตยึดครองสี่ส่วน ตามมาด้วยการสถาปนารัฐชาติเยอรมันขึ้นมาสองรัฐ (เยอรมนีตะวันตกและเยอรมนีตะวันออก) ซึ่งทำให้เกิดความแตกแยกมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะในช่วงสงครามเย็นที่มีการสร้างกำแพงเบอร์ลินขึ้นมาในปี พ.ศ. 2504 ก่อนที่ท้ายที่สุดจะถูกทำลายลงในช่วงปี พ.ศ. 2532/2533 โดยหลังจากการก่อการกำเริบในเยอรมนีตะวันออก ค.ศ. 1953 วันหยุดราชการในสหพันธรัฐเยอรมนีถูกกำหนดไว้วันที่ 17 มิถุนายน และถูกตั้งชื่อว่า วันเอกภาพเยอรมัน (Day of German Unity) เพื่อย้ำเตือนชาวเยอรมันทุกคนว่า คำถามเยอรมันยังไม่ถูกตอบ (die offene Deutsche Frage) และเพื่อเรียกร้องให้มีการรวมประเทศขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

อาณาเขตในปัจจุบันของประเทศเยอรมนีหลังการรวมประเทศระหว่างเยอรมนีตะวันตกและเยอรมนีตะวันออกในปี พ.ศ. 2533 คือบทสรุปที่เทียบเคียงได้กับ แนวทางอนุประเทศ มากกว่า แนวทางมหาประเทศ โดยที่ออสเตรียมีสถานะเป็นรัฐเอกราชแยกจากกันต่างหาก ทั้งนี้ในปัจจุบันไม่ปรากฎแนวคิดที่ต้องการรวมประเทศเป็น เยอรมนีใหญ่ ขึ้นมาอีกครั้งในกลุ่มการเมืองกระแสหลักของทั้งในออสเตรียและเยอรมนี เนื่องจากแนวคิดดังกล่าวเชื่อมโยงอย่างมากกับจักรวรรดิไรซ์ที่สาม ซึ่งกลุ่มที่ยังคงมีแนวคิดเช่นนี้มักจะถูกเรียกว่าเป็นพวกนิยมฟาสซิสต์หรือพวกนีโอนาซี

ใกล้เคียง

ปัญหา ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ปัญหาวิถีสั้นสุด ปัญหาราชวงศ์ ปัญหาปี ค.ศ. 2000 ปัญหาการแต่งงานที่มีเสถียรภาพ ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศอัฟกานิสถาน ปัญหาสกันทอร์ป ปัญหาวันเกิด ปัญหารางวัลมิลเลนเนียม