การขึ้นสู่การเป็นเทพเจ้าหลัก ของ พระคเณศ

การปรากฏครั้งแรก

เทวรูปพระคเณศหินอ่อน ศตวรรษที่ 5 พบที่เมืองการ์เดซ ประเทศอัฟกานิสถาน ในอดีตเคยประดิษฐานที่ทรคะห์ปีร์รัตตันนาถ (Dargah Pir Rattan Nath) ในกาบูล (ปัจจุบันไม่ทราบที่ประดิษฐาน) จารึกระบุว่านี่เป็น "รูปอันยิ่งใหญ่และสวยงามของพระมหาวินายก" ถวายให้โดยกษัตริย์ขินคลแห่งศาหิ (King Khingala)[153][154]

พระคเณศปรากฏครั้งแรกในรูปดั้งเดิมของพระองค์ในลักษณะของเทพเจ้าที่มีลักษณะเฉพาะตั้งแต่ราวต้นศตวรรษที่ 4 ถึง 5[155] รูปเคารพพระคเณศที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยพบคือเทวรูปพระคเณศสององค์ที่พบในอัฟกานิสถานตะวันออก องค์แรกนั้นพบในซากปรักหักพังทางตอนเหนือของกรุงกาบูล พบพร้อมกับเทวรูปของพระสุรยะและพระศิวะ อายุราวศตวรรษที่ 4[156] ส่วนเทวรูปองค์ที่สองพบที่ Gardez และมีการสลักพระนามของพระองค์ไว้ที่ฐาน อายุราวศตวรรษที่ 5[156] เทวรูปอีกองค์นั้นพบแกะสลักบนผนังของถ้ำหมายเลข 6 ของถ้ำอุทัยคีรี (Udayagiri Caves) ในรัฐมัธยประเทศ อายุราวศตวรรษที่ 5[156] ส่วนเทวรูปที่มีพระเศียรเป็นช้าง ทรงชามขนมหวานนั้นพบเก่าแก่ที่สุดในซากปรักหักพังของภูมรมนเทียร (Bhumara Temple) ในรัฐมัธยประเทศ อายุราวศตวรรษที่ 5 ในสมัยราชวงศ์คุปตะ[157][156][158] ส่วนคติที่บูชาพระคเณศเป็นหลักนั้นเป็นไปได้ว่าจัดตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 10[155] ลัทธิที่บูชาพระคเณศเป็นเทพองค์หลักนั้นน่าจะมีขึ้นแล้วในศตวรรษที่ 6[155] นเรน (Narain) สรุปว่าสาเหตุที่ไม่พบหลักฐานประวัติศาสตร์พระคเณศในประวัติศาสตร์ก่อนศตวรรษที่ 5 นั้นมาจาก:[155]

สิ่งที่เป็นปริศนาคือการปรากฏขึ้นอย่างค่อนข้างรวดเร็วของพระคเณศในเวทีประวัติศาสตร์ บรรพบทของพระองค์นั้นไม่ชัดเจน การยอมรับและความนิยมแพร่หลายของพระองค์ซึ่งข้ามพ้นข้อจำกัดของนิกายและดินแดน น่าเหลือเชื่ออย่างแท้จริง ด้านหนึ่ง มีความเชื่อศรัทธาในผู้อุทิศแบบทรรศนะดั้งเดิมในกำเนิดพระเวทของพระเคณศ และในคำอธิบายปุราณะบรรจุในปรัมปราวิทยาที่น่าสับสนแต่น่าสนใจ อีกด้านหนึ่ง มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการมีความคิดและสัญรูปของเทพเจ้าพระองค์นี้ ก่อนศตวรรษที่สี่ถึงห้า ... ในความเห็นของผม แท้จริงแล้วไม่มีหลักฐานที่ชวนให้เชื่อ[ในวรรณกรรมพราพมณ์]ว่ามีเทพเจ้าพระองค์นี้ก่อนศตวรรษที่ห้า

นเรนเสนอว่าหลักฐานของพระคเณศที่เก่ากว่านั้นอาจพบนอกธรรมเนียมพราหมณ์และสันสกฤต หรืออยู่นอกเขตภูมิศาสตร์ของอินเดีย[155] บราวน์ระบุว่ามีการพบเทวรูปพระคเณศในประเทศจีนแล้วเมื่อราวศตวรรษที่ 6[159] และการตั้งรูปพระคเณศเชิงศิลปะในฐานะผู้ขจัดอุปสรรคนั้นพบในเอเชียใต้แล้วเมื่อประมาณปี 400[160] ส่วนไบลีย์ (Bailey) ระบุว่ามีการถือว่าพระองค์เป็นบุตรของพระปารวตี และมีบรรจุในเทววิทยาไศวะในศตวรรษแรก ๆ แล้ว[161]

อิทธิพลที่อาจมีส่วน

นักวิชาการ คอร์ทไรธ์ (Courtright) ทบทวนทฤษฎีจากการสังเกตต่าง ๆ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ยุคต้นของพระคเณศ รวมทั้งประเพณีชนเผ่าและลัทธิบูชาสัตว์ที่เชื่อกัน และปฏิเสธทฤษฎีทั้งหมดดังนี้:[162]

ในการค้นหาต้นกำเนิดทางประวัติศาสตร์ของพระคเณศ บางคนเสนอสถานที่ชี้ชัดนอกธรรมเนียมของพราหมณ์.... ที่ตั้งทางประวัติศาสตร์เหล่านี้น่าสนใจมาก แต่ข้อเท็จจริงยังมีอยู่ว่าทั้งหมดเป็นเพียงข้อสังเกต เป็นแบบต่าง ๆ ของสมมติฐานฑราวิท ซึ่งแย้งว่าทุกสิ่งที่ไม่ยืนยันอยู่ในแหล่งที่มาพระเวทหรืออินโด-ยูโรเปียนต้องเข้ามาในศาสนาพราหมณ์จากประชากรทราวิฑหรือพื้นเมืองดั้งเดิมของอินเดียโดยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่ผลิตศาสนาฮินดูจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชากรอารยันและมิใช่อารยัน ไม่มีหลักฐานอิสระสำหรับลัทธิบูชาช้างหรือโทเท็ม และไม่มีข้อมูลโบราณคดีใด ๆ ชี้ว่ามีประเพณีก่อนหน้านี้เราเห็นแล้วในวรรณกรรมปุราณะและประติมานวิทยาพระคเณศ

หนังสือของฐาปน (Thapan) ว่าด้วยพัฒนาการของพระคเณศอุทิศหนึ่งบทให้กับข้อสังเกตบทบาทของช้างในอินเดียตอนต้น แต่สรุปว่า "แม้ภายในศตวรรษที่สองปรากฏรูปยักษ์เศียรช้างแล้ว แต่ไม่สามารถสันนิษฐานได้ว่าแทนคณปติ-วินายก ไม่มีหลักฐานใดของเทพเจ้าพระองค์นี้มีรูปช้างหรือเศียรช้างในระยะแรกเริ่มนี้ พระคณปติ-วินายกยังไม่ปรากฏ"[163]

เหง้าของการบูชาพระคเณศนั้นสืบย้อนไปได้ถึงสมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ เมื่อ 3000 ปีก่อคริสตกาล[164][165] ในปี 1993 มีการค้นพบแผ่นโลหะแสดงภาพผู้มีเศียรช้างในจังหวัดโลเรสถาน (Lorestan) ประเทศอิหร่าน อายุราว 1,200 ปีก่อนคริสตกาล[166][167] เทวรูปดินเผาพระคเณศชิ้นแรกที่ค้นพบนั้นอายุราวศตวรรษที่ 1 พบในเตอร์ (Ter), ปาล (Pal), เวร์ระปุรัม (Verrapuram) และจันทรเกตุคฤห์ (Chandraketugarh) มีลักษณะเป็นเทวรูปองค์เล็ก เศียรเป็นช้าง มีสองกร และมีรูปร่างท้วม[168] สัญรูปยุคแรก ๆ ที่เป็นหินมีแกะสลักใน Mathura ระหว่างยุค Kushan (ศตวรรษที่ 2–3)

ทฤษฎีหนึ่งเสนอว่าพระคเณศทรงเริ่มขึ้นสู่ความนิยมโดยเกี่ยวพันกับวินายกทั้งสี่[169] ในเทพปรณัมฮินดู วินายกคือกลุ่มของอสูรเจ้าปัญหาสี่ตนที่คอยสร้างอุปสรรคและความยากลำบาก[170] แต่ก็ถูกกล่อมได้โดยง่าย[171] "วินายก" กลายเป็นชื่อสามัญสำหรับแทนพระคเณศทั้งในปุราณะและในตันตระของศาสนาพุทธ[26] นักวิชาการ กริษัน (Krishan) เป็นนักวิชาการคนหนึ่งที่ยอมรับทัศนะนี้ และระบุว่า "[พระคเณศ] ไม่ใช่เทพเจ้าจากพระเวท พระองค์มีต้นกำเนิดที่ย้อนไถึงวินายกทั้งสี่ วิญญาณชั่วร้ายแห่ง มานวคฤหยสูตร (Mānavagŗhyasūtra, 700-400 ปีก่อนคริสตกาล) ผู้สร้างปัญหาและความทรมานมากมาย"[172] การพรรณนามนุษย์เศียรช้างที่บ้างระบุเป็นพระคเณศ ปรากฏในศิลปะและการผลิตเหรียญกษาปณ์อินเดียตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 ตามข้อมูลของ Ellawala ชาวศรีลังกาทราบถึงพระคเณศในฐานะเจ้าแห่งคณะ (Gana) ตั้งแต่ยุคก่อนคริสตกาลแล้ว

วรรณกรรมและตำนานพระเวท

ภาพเขียนเล่าเรื่องมหาภารตะศิลปะราชสถาน ศตวรรษที่ 17 แสดงตอนฤๅษีวยาสะเล่ามหาภารจะให้พระคเณศทรงจด

พระนาม "ผู้นำของคณะ" (คณปติ) พบสองครั้งในฤคเวท แต่ทั้งสองครั้งนั้นไม่ได้หมายถึงพระคเณศสมัยใหม่ คำแรกที่พบอยู่ในฤคเวท มณฑลที่ 2.23.1 นักวิเคราะห์ว่าเป็นพระนามของพรหมนัสปติ (Brahmanaspati)[173] แม้ใช้หมายถึงพระพรหมมัสปติอย่างไร้กังขา แต่ต่อมารับมาใช้ในการบูชาพระคเณศจนถึงปัจจุบัน[174] ลูดอ รอเชอร์ (Ludo Rocher) กล่าวว่ามีระบุชัดเจนว่า "[คำว่า "คณปติ" ในฤคเวทนั้น] หมายถึงพระพรหัสปติ (Bṛhaspati) เทพเจ้าแห่งบทสวดมนต์ และพรหัสปติพระองค์เดียว"[175] ส่วนอีกชื่อในฤคเวท (พบใน ฤคเวท มณฑลที่ 10.112.9) นั้นหมายถึงพระอินทร์ อย่างชัดเจนไม่ต่างกัน[176]"[177] ผู้ทรงได้รับฉายา คณปติ[178] นอกจากนี้รอเชอร์ชี้ว่าในวรรณกรรมเกี่ยวกับพระคเณศในยุคหลัง ๆ นิยมอ้างบทในฤคเวทเพื่อแสดงให้เห็นการเคารพพระคเณศในยุคพระเวท[179]

กวียุคสังฆัมแห่งทมิฬ อวไวยาร์ (Avvaiyar; 300 ปีก่อนคริสตกาล) ได้ขานพระนามพระคเณศขณะการเตรียมการเชิญชวนกษัตริย์ทมิฬทั้งสามในการยอมการแต่งงานของอังคะวัย (Angavay) กับสังคะวัย (Sangavay) แห่งซีลอนในการแต่งงานกับกษัตริย์แห่งติรุกูอิลูร์ (Tirukoilur)[180]

สองบทในคัมภีร์นั้นมาจากยชุรเวท ไมตรายณียสังหีต (Maitrāyaṇīya Saṃhitā) บทที่ 2.9.1[181] และจากไตติรียะอารัณยกะ (Taittirīya Āraṇyaka) บทที่ 10.1[182] ได้ขานถึงเทพเจ้าผู้มี "งาเดียว" (ทันติห์; Dantiḥ), "พระพักตร์เป็นช้าง" (หัสตีมุกข์; Hastimukha) และ "มีงวงโค้งงอน" (วกรตุณฑะ; Vakratuṇḍa) พระนามเหล่านี้ส่อถึงพระคเณศ และผู้วิจารณ์สมัยศตวรรษที่ 14 ซายานาระบุรูปพรรณนี้อย่างชัดเจน[183] การอธิบายของทันติน (Dantin) ที่ว่าทรงมีงวงโค้งงอ และทรงมัดข้าวโพด อ้อย[184] และตะบอง[185] นั้นเป็นภาพลักษณะของพระคเณศในแบบปุราณะที่เหมือนมากจนเหรัส (Heras) เคยกล่าวว่า "เราไม่สามารถห้ามการยอมรับการพิสูจน์ของพระองค์อย่างสมบูรณฺกับทันตินพระเวท (Vedic Dantin) นี้"[186] อย่างไรก็ตามกริษัน (Krishan) เชื่อว่าบทเหล่านี้เพิ่มเข้ามาหลังยุคพระเวท[187] ฐาปน (Thapan) รายวานว่าบทเหล่านี้ "โดยทั่วไปถือว่าเป็นการเติมแต่งเข้ามา" ส่วนธวลิการ์ (Dhavalikar) ระบุว่า "การพาดพิงเทพเจ้าเศียรช้างในไมตรายณีสังหีตานั้นพิสูจน์แล้วว่าเป็นการเติมแต่งเข้ามาในภายหลังมาก ๆ ดังนั้นไม่น่ามีประโยชน์มากในการประเมินประวัติการกำเนิดขึ้นในช่วงแรก ๆ ของเทพเจ้าพระองค์นี้"[188]

พระคเณศไม่ปรากฏพระนามในวรรณกรรมมหากาพย์ของอินเดียจากยุคพระเวท มีการเติมแต่งเข้าไปในกวีมหากาพย์ มหาภารตะ (1.1.75–79[lower-alpha 1]) ในภายหลัง ระบุว่าฤๅษีวยาสะขอให้พระคเณศช่วยเป็นอาลักษณ์จดบทกวีให้ฤๅษีเป็นผู้บอก พระคเณศทรงตกลงโดยมีเงื่อนไขว่าวยาสะต้องทวนบทกวีโดยห้ามขาดตอนหรือหยุดพัก ฤาษีตกลงแต่ใช้วิธีพักโดยท่องข้อความที่ซับซ้อนอย่างยิ่งเพื่อให้พระคเณศต้องถามเพื่อความกระจ่าง นิยายส่วนนี้ไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของมหาภารตะดั้งเดิมโดยบรรณาธิการของมหาภารตะฉบับวิพากษ์ (critical edition)[189] ที่นิยายยี่สิบบรรทัดดังกล่าวลดความสำคัญเป็นเชิงอรรถในภาคผนวก[190] นิยายพระคเณศทรงรับเป็นอาลักษณ์พบในต้นฉบับ 37 จาก 59 ต้นฉบับที่หาข้อมูลระหว่างการเตรียมฉบับวิพากษณ์[191] การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพระคเณศกับพระทัยที่คล่องแคล่วและการเรียนรู้เป็นสาเหตุหนึ่งที่แสดงพระองค์เป็นอาลักษณ์ของฤาษีวยาสะที่ให้จดมหาภารตะในการแต่งเติมนี้[192] ริชาร์ด แอล. บราวน์ (Richard L. Brown) ให้อายุของเรื่องนี้ว่าแต่งขึ้นในศตวรรษที่ 8 ส่วนมอริซ วินเตอร์นิตซ์ (Moriz Winternitz) สรุปว่า คนทราบนิยายนี้เร็วที่สุดประมาณปี 900 แต่มาบรรจุในมหาภารตะอีก 150 ปีให้หลัง[193] วินเตอร์นิตซ์ยังพบด้วยว่าลักษณะโดดเด่นประการหนึ่งที่พบในต้นฉบับมหาภารตะของอินเดียใต้คือการละตำนานพระคเณศ[194] ส่วนพระนามวินายก (vināyaka) พบในปรัมปราของศานติปรวะ (Śāntiparva) และอนุศาสนปรวะ (Anuśāsanaparva) ถือเป็นการแต่งเติมมาในภายหลัง[195] และการพาดพิงพระนามวิฆนกรตรีนาม (Vighnakartṛīṇām "ผู้สร้างอุปสรรค") ในวนปรวะ (Vanaparva) นั้นก็เชื่อว่าเป็นการแต่งเติมเข้ามาในภายหลัง และไม่พบในฉบับวิพากษ์เช่นกัน[196]

ยุคปุราณะ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อนี้ โปรดดู เกร็ดปุราณวิทยาพระพิฆเนศ
เทพทั้งห้าองค์แห่งปัญจยตนะ (Panchayatana): พระคเณศ (กลาง) พระศิวะ (บนซ้าย) เทวี (บนขวา) พระวิษณุ (ล่างซ้าย) และพระสุรยะ (ล่างซ้าย)

นิยายเกี่ยวกับพระคเณศมักพบในประชุมผลงานปุราณะ[197] บราวน์ชี้ว่าแม้ปุราณะ "ขัดขวางการเรียงลำดับเวลาอย่างแม่นยำ" แต่คำบรรยายพระชนม์ชีพของพระคเณศในรายละเอียดมากขึ้นพบในข้อความสมัยหลัง ประมาณปี 600–1300 ยุวราช กริษัน (Yuvraj Krishan) กล่าวว่าเรื่องปรัมปราปุราณะเกี่ยวกับชาติกาลของพระคเณศและการได้เศียรช้างของพระองค์อยู่ในปุราณะยุคหลัง ซึ่งได้แก่หลังปี 600 เป็นต้นมา เขาอธิบายเพิ่มในประเด็นนี้กล่าวว่าการพาดพิงพระคเณศในปุราณะช่วงต้น เช่น พรหมันท์และวายุปุราณะนั้น มีการแต่งเติมเรื่องของพระคเณศเข้าไปในภายหลังราวศตวรรษที่ 7 ถึง 10[198]

ในการศึกษาเรื่องการได้รับความนิยมของพระคเณศในวรรณกรรมสันสกฤต รอเชอร์พบว่า:[199]

เหนืออื่นใด บุคคลไม่อาจห้ามพิศวงกับข้อเท็จจริงที่ว่าหลายนิยายที่แวดล้อมพระคเณศอยู่นั้นกระจุกอยู่กับเหตุการณ์จำนวนจำกัดอย่างคาดไม่ถึง เหตุการณ์เหล่านี้มีเพียงแค่สามเหตุการณ์หลัก คือ ชาตกาลและพระบิดา-มารดา เศียรช้าง และงาเดียว เหตุการณ์อื่นมีกล่าวถึงบ้างในข้อความ แต่มีรายละเอียดน้อยกว่ามาก

การได้รับความนิยมของพระคเณศนั้นมีประมวลในศตวรรษที่ 9 เมื่อมีการบรรจุพระองค์เข้าสู่ห้าเทพเจ้าหลักของลัทธิสมารติ (Smartism) อย่างเป็นทางการ นักปรัชญายุคศตวรรษที่ 9 อาทิ ศังการ (Adi Shankara) เผยแพร่แนวคิด "การบูชาห้าปาง" (ปัญจยาตนบูชา; Panchayatana puja) ให้เป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่พรหมมินทรรศนะดั้งเดิมในลัทธิสมารติ[200] เทพเจ้าห้าพระองค์ดังกล่าวประกอบด้วยพระคเณศ, พระวิษณุ, พระศิวะ, เทวี และพระสุรยะ[201] อาทิ ศังการผู้ตั้งธรรมเนียมซึ่งจะสร้างเอกภาพแก่เทพเจ้าหลักห้านิกายให้มีสถานภาพเท่ากัน นับเป็นการตอกย้ำบทบาทของพระคเณศเป็นเทพเจ้าร่วมสมัยอย่างเป็นทางการ

คัมภีร์

ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่: คเณศปุราณะ, มุทคลปุราณะ และ คณปติอรรถวศีรษะ
เทวรูปพระคเณศ ที่ปรัมบานัน ในชวา ประเทศอินโดนีเซีย, ศตวรรษที่ 9

ครั้นพระคเณศได้รับการยอมรับเป็นหนึ่งในเทพเจ้าสำคัญห้าพระองค์ของศาสนาฮินดูแล้ว มีชาวฮินดูบางส่วนเลือกนับถือพระองค์เป็นเทพเจ้าหลัก เป็นจุดเริ่มต้นของนิกายคาณปัตยะ ดังที่พบได้ทั้งในคเณศปุราณะและมุทคลปุราณะ[202]

วันเวลาที่ประพันธ์คเณศปุราณะและมุทคลปุราณะ รวมถึงการวัดอายุโดยสัมพัทธ์ระหว่างสองคัมภีร์นั้น เป็นที่ถกเถียงในวงวิชาการ ทั้งสองงานมีการต่อเติมเข้ามาตามเวลาและมีชั้นภูมิที่แยกตามอายุ อนิตา ฐาปน (Anita Thapan) ทบทวนความเห็นเกี่ยวกับการวัดอายุและมีคำวินิจฉัยของนางเอง "ดูเหมือนว่าแก่นของคเณศปุราณะปรากฏในราวศตวรรษที่ 12 และ 13" แต่ "ถูกแต่งเติมเข้ามาภายหลัง"[203] ส่วนลอว์เรนซ์ ดับเบิลยู. เพรสตัน (Lawrence W. Preston) ระบุว่าช่วงเวลาที่สมเหตุสมผลที่สุดของคเณศปุราณะอยู่ระหว่างปี 1100 ถึง 1400 ซึ่งสอดคล้องกับอายุของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่กล่าวถึงในปุราณะ[204]

อาร์.ซี. ฮาซรา (R.C. Hazra) เสนอว่ามุทคลปุราณะนั้นเก่าแก่กว่าคเณศปุราณะ ซึ่งเขาวัดอายุระหว่างปี 1100 ถึง 1400[205] อย่างไรก็ตาม ฟิลลีส กรานนัฟฟ์ (Phyllis Granoff) พบปัญหากับการวัดอายุโดยสัมพัทธ์นี้และสรุปว่ามุทคลปุราณะเป็นเอกสารเชิงปรัชญาฉบับสุดท้ายที่ว่าด้วยพระคเณศ เธออ้างเหตุผลบนข้อเท็จจริงว่าในบรรดาหลักฐานภายในอื่น ๆ มุทคลปุราณะเจาะจงพูดถึงคเณศปุราณะว่าเป็นหนึ่งในสี่ปุราณะ (พรหม, พรหมานันทะ, คเณศ และมุทคลปุราณะ) ซึ่งกล่าวถึงพระคเณศอย่างละเอียด[206] แม้แก่นเรื่องของคัมภีร์เหล่านี้ต้องเก่าแก่เป็นแน่ แต่ก็มีการเติมแต่งเข้ามาจนถึงราวศตวรรษที่ 17 ถึง 18 เมื่อการบูชาพระคเณศเกิดสำคัญขึ้นมาในบริเวณนี้[207] ส่วนอีกคัมภีร์หนึ่งที่ได้รับการเคารพอย่างสูงคือคณปติอรรถวศีรษะ[208] น่าจะแต่งขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 16 ถึง 17[209]

คเณศสหัสรนามเป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรมปุราณะ และมีบทสวดที่ระบุพระนามและพระลักษณะหนึ่งพันประการของพระคเณศไว้ แต่ละนามและลักษณะที่ปรากฏนั้นสื่อถึงควาหมายต่าง ๆ และเป็นสัญลักษณ์แทนพระคเณศในมุมมองต่าง ๆ ของพระองค์[210] นอกจากนี้ จอห์น ไกรมส์ (John Grimes) ยังระบุว่ามีอีกหนึ่งในคัมภีร์สำคัญในภาษาสันสกฤตที่มีการกล่าวถึงธรรมเนียมพระคเณศคือคณปติอถรรวศีรษะ[208]

จอห์น ไกรมส์ระบุว่า คัมภีร์ภาษาสันสกฤตที่สำคัญที่สุดเล่มหนึ่งที่มีอิทธิพลในนิกายคาณปัตยะ คือ Ganapati Atharvashirsa[208]