เสด็จสวรรคต ของ พระเจ้าฟ้างุ้ม

พระเจ้าฟ้างุ่มเสด็จออกจากนครหลวงพระชนม์ ๒๑ พรรษา ใช้เวลาทำศึกปราบบ้านเมืองในอุษาคเนย์เพื่อสถาปนาจักรวรรดิหรือราชอาณาจักรล้านช้าง ๔ ปี ปีที่ ๕ พระชนม์ ๒๕ พรรษาเสด็จถึงและเสวยราชย์นครเชียงดงเชียงทอง นาน ๑๕ ปีหลังเสวยราชย์นางแก้วเก่งกัญญาสวรรคตจึงไม่ประพฤติในทำนองคลองธรรม ตัดสินความถูกเป็นผิด ผิดเป็นถูก ข้อยคนเสนาอำมาตย์ที่มาพร้อมพระองค์แต่นครหลวงก็เลี้ยงดูเขาให้ถูกใจ แม้ทำผิดก็ไม่ตำหนิ กลับข่มเหงเสนามนตรีเก่าสมัยพระราชบิดาที่ไม่ได้ไปนครหลวงด้วย เมื่อเขาผิดน้อยก็ว่าผิดมากแล้วลงโทษ เสนาอำมาตย์ใหญ่ชาวเมืองพระสงฆ์จึงพร้อมกันขับพระองค์หนีจากเมืองเมื่อพระชนม์ ๔๘ พรรษา เสด็จหนีทางตาดน้ำสู่เมืองน่านได้ ๒ ปีสวรรคตเมื่อพระชนม์ ๕๐ พรรษา เมื่อใกล้สวรรคตทรงอธิษฐานว่า "...ดูกกูนี้ให้ส่งเมือเมืองล้านช้างแด่..." สวรรคตแล้วพระยาน่านโปรดฯ สร้างวัดสบกระดูกถวายต่อมาเรียกวัดพระยาฟ้า พระยาน่านนำพระบรมอัฐิส่วนพระนลาฏเย็บไว้ในธงดวงหนึ่งเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าเขียนข้อความที่พระองค์ตรัสสั่งไว้ในธงแล้วพระยาน่านอธิษฐานว่า ...ธุงตัวนี้แลกระดูกหน้าผากพระยาฟ้านี้ แต่ว่าบุญท่านยังจักได้เลิกศาสนาพระพุทธเจ้าเมื่อส่ำลูกส่ำหลานส่ำเหลนพุ้น จงให้ลมพัดตัดเอาธุงอันนี้เมือฮวดเมืองล้านช้างให้ลูกท่านได้สร้างเจดีย์วิหารไว้ดังท่านอธิษฐานนี้เทอญ... อธิษฐานแล้วเทวดาจึงเนรมิตลมพัดธงไปตกในดอนสูงแห่งหนึ่งต่อมาเรียกว่าดอนวาน เมื่อท้าวอุ่นเฮือนพระราชโอรสเสวยราชย์จึงอัญเชิญธงหน้าผากนั้นมาประดิษฐานที่นครเชียงดงเชียงทองสร้างเจดีย์ชื่อธาตุกู่ไตไว้สักการะ[63] จะสังเกตว่าเมืองน่านไม่ปรากฏชื่อเคยทำศึกกับพระองค์ในสมัยรวบรวมอาณาจักรล้านช้าง คงเนื่องจากความเป็นเครือญาติระหว่างนครจันทบุรี (ลาว) เมืองภูคา เมืองปัว (วรนคร) และเมืองน่าน (ลาวกาวหรือกาวลาว)[64]

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ