สถานภาพทางทหารของทั้งสองฝ่าย ของ สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง

จักรวรรดิญี่ปุ่น

การปฏิรูปญี่ปุ่นในสมัยเมจิ ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกองทัพเรือ มีการต่อเรือใหม่ๆ และปรับปรุงกองทัพบกและกองทัพเรือให้ทันสมัย มีการส่งนายทหารทั้งทหารบกและทหารเรือจำนวนมากไปฝึกศึกษาทั้งยุทธศาสตร์และยุทธวิธีในกองทัพบกและกองทัพเรือของชาติตะวันตก

จักรพรรดินาวีญี่ปุ่น

พลเรือโท อิโต ซุเกะยุกิ ผู้บัญชาการกองเรือผสมของญี่ปุ่น เรือธง มะสึชิมะ ของญี่ปุ่น

ยึดแบบมาจากราชนาวีอังกฤษซึ่งเป็นกองทัพเรือชั้นแนวหน้าและทรงอานุภาพมากที่สุดในโลกในเวลานั้น มีที่ปรึกษาทางทหารชาวอังกฤษไปให้ความรู้และให้คำปรึกษาในการก่อร่างสร้างกองทัพเรือ มีการส่งนักเรียนไปเข้ารับการศึกษาและฝึกงานในราชนาวีอังกฤษ ตลอดเวลาที่ได้ที่ปรึกษาชาวอังกฤษ ญี่ปุ่นได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับวิชาการปืนและวิชาการเดินเรือ[3]

ในช่วงเริ่มเกิดวิกฤตกาล กองเรือแห่งจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น มีกำลังทางเรือดังนี้ เรือประจัญบานรุ่นใหม่ 12 ลำ (ทั้งนี้รวมทั้งเรือยังไม่ขึ้นระวางประจำการ คือ อิสึมิ ที่เข้าประจำการในระหว่างสงคราม), เรือลาดตระเวนทะกะโอะอีก 1 ลำ เรือตอร์ปิโด 22 ลำ, นอกจากนั้นยังมีเรือช่วยรบ/เรือสินค้าติดอาวุธ และเรือโดยสารที่ดัดแปลงมาเป็นเรือช่วยรบอีกจำนวนมาก

หลักนิยมของญี่ปุ่นขณะนั้นไม่ได้หวังพึ่งอานุภาพของเรือประจัญบาน แต่ให้ความสำคัญกับการใช้เรือรบขนาดเล็กที่มีความเร็วสูง อย่างเรือลาดตระเวน และเรือตอร์ปิโด ในการเข้าปะทะกับเรือข้าศึกที่ใหญ่กว่า

เรือรบหลักของญี่ปุ่นหลายลำต่อมาจากอู่ต่อเรือในอังกฤษและฝรั่งเศส (ต่อในอังกฤษ 8 ลำ, ฝรั่งเศส 3 ลำ, และต่อในญี่ปุ่น 2 ลำ) และเรือตอร์ปิโดอีก 16 ลำที่สร้างในฝรั่งเศส จากนั้นก็ขนส่งมาแล้วนำมาประกอบในญี่ปุ่น

กองทัพบกญี่ปุ่น

การพัฒนากองทัพบกญี่ปุ่นในช่วงแรกของยุคเมจิ นั้น มีแนวคิดตามแบบของกองทัพบกฝรั่งเศส มีที่ปรึกษาทางทหารของฝรั่งเศสเดินทางไปยังญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ.1872 ในปี ค.ศ.1873 ก็เริ่มมีการตั้งโรงเรียนทหารและโรงงานสร้างปืนใหญ่ตามแบบตะวันตก

ปี ค.ศ.1886 ญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงรูปแบบมาเป็นแบบกองทัพบกเยอรมัน โดยเฉพาะแบบฉบับของกองทัพปรัสเซีย และประยุกต์หลักนิยม, รูปแบบและโครงสร้างของกองทัพมาให้เหมาะสมกับญี่ปุ่น ในปี ค.ศ.1885 จาโค๊บ เมคเกล ที่ปรึกษาทางทหารชาวเยอรมัน ได้เสนอแนะให้มีการปรับโครงสร้างสายการบังคับบัญชาของกองทัพใหม่ โดยแบ่งเป็นกรมและกองพล ปรับปรุงเรื่องการส่งกำลังบำรุง, การขนส่ง และอื่นๆ (เช่นการเพิ่มรถบรรทุกให้พอเพียง) และมีการจัดตั้งกรมทหารปืนใหญ่และกรมช่าง ที่มีสายการบังคับบัญชาเป็นอิสระ

ช่วงปี ค.ศ. 1890 กองทัพญี่ปุ่นก็มีการจัดกำลังแบบสมัยใหม่ เป็นกองทัพที่มีรูปแบบการฝึกตามแบบกองทัพของชาติตะวันตก มีความพร้อมทั้งยุทโธปกรณ์และยุทธปัจจัย นายทหารได้รับการศึกษาจากต่างประเทศและมีความรู้ทางยุทธวิธีและทางยุทธศาสตร์เป็นอย่างดี

เมื่อเริ่มสงคราม, กองทัพบกแห่งจักรพรรดิมีกำลังพลถึง 120,000 นาย จัดกำลังเป็น 2 กองทัพและ 5 กองพล

จักรวรรดิต้าชิง (จีน)

เรือธง ติ้งหยวน ของจีน

กองทัพเป่ยหยาง ถือเป็นกองทหารที่ทันสมัยที่สุดของจีน มีอาวุธที่ถือว่าดีที่สุด แต่ปัญหาสำคัญก็คือ ขวัญกำลังใจและการฉ้อราษฎร์บังหลวง ในช่วงเวลาสงครามก็ยังมีการเบียดบังเบี้ยเลี้ยงทหารตลอดเวลาเช่นการที่พระนางซูสีไทเฮานำงบประมาณที่จะพัฒนากองทัพเรือไปสร้างเรือหินอ่อนในพระราชอุทยานของพระราชวังฤดูร้อน นอกจากนั้นยังมีปัญหาด้านการส่งกำลังบำรุง เพราะทางรถไฟสายแมนจูเรียกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ขวัญกำลังใจของทหารตกต่ำอย่างหนักเพราะการจ่ายเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงล่าช้า, มีปัญหาทหารติดฝิ่น, การขาดภาวะผู้นำ รวมไปถึงการหนีทัพซึ่งเป็นปัญหาหนักในการเตรียมการป้องกันเมืองเว่ยไห่เว่ย

กองทัพเป่ยหยาง

ดูบทความหลักที่: กองทัพเป่ยหยาง
หลี่ หงจาง แม่ทัพแห่งจักรวรรดิต้าชิง

ราชวงศ์ชิงในเวลานั้นยังไม่มีกองทัพแห่งชาติ ตั้งแต่ กบฏแมนแดนสันติ กองทัพก็แตกแยกเป็นหลายเผ่าเช่น แมนจู, มองโกล, หุย และกองทัพของชาวฮั่นเองก็มีกองทัพที่เป็นอิสระต่อกันตามภูมิภาคต่างๆ ซึ่งกองทัพเหล่านี้ยังแยกการบังคับบัญชาเป็นอิสระตามมณฑลของตนเอง สำหรับกองทัพเป่ยหยางนั้นจัดตั้งขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยราชวงศ์ชิง โดยแรกเริ่มเดิมทีมีแม่ทัพคือ หลี่ หงจาง แม่ทัพมณฑลอันฮุย ซึ่งเป็นกองทัพที่มีกำลังพลมากที่สุด และจงรักภักดีต่อราชวงศ์ชิง หลี่ หงจาง ปรับปรุงกองทัพโดยใช้เงินจากภาษีของมณฑลอันฮุยที่เขาเป็นผู้ว่าการมณฑลอยู่มาจัดซื้ออาวุธ และยังเหลือพอที่จะจัดตั้งกองเรือขึ้นมาด้วย คือ กองเรือเป่ยหยาง (จีน: ; พินอิน: Běiyáng-jūn; ซึ่ง เป่ยหยาง แปลว่า มหาสมุทรตอนเหนือ)

การสู้รบครั้งสำคัญที่สุดจึงตกเป็นภาระของกองทัพเป่ยหยาง และกองเรือเป่ยหยาง ซึ่งทำการสู้รบไปพร้อมกับขอความช่วยเหลือไปยังกองทัพและกองเรืออื่นๆให้เข้ามาช่วยซึ่งได้แก่กองเรือหนานหยาง กองเรือฝูเจี้ยน และกองเรือกวางตุ้ง แต่ไม่มีกองทัพใดที่ให้ความร่วมมือ

กองเรือเป่ยหยาง

ดูบทความหลักที่: กองเรือเป่ยหยาง

กองเรือเป่ยหยางเป็น 1 ใน 4 กองเรือที่ทันสมัยกองหนึ่งของราชวงศ์ชิงตอนปลายและถือเป็นกองเรือที่โดดเด่นที่สุดในเอเชียตะวันออก ในช่วงก่อนที่จะเกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งนี้ กล่าวได้ว่า เป็นกองเรือที่ดีที่สุดในเอเชีย และเป็นกองเรือที่ดีที่สุดเป็นอันดับแปดของโลกในช่วงของทศตวรรษที่ 1880 โดยกำลังหลักมีเรือประจัญบานหุ้มเกราะ 2 ลำซึ่งต่อจากเยอรมัน, เรือลาดตระเวนแบบต่างๆ 11 ลำ, เรือปืน 6 ลำ, เรือตอร์ปิโด 12 ลำ

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามแปซิฟิก สงครามเกาหลี สงครามอ่าว สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามครูเสด สงครามกัมพูชา–เวียดนาม