กองทัพและผู้ร่วมต่อสู้ ของ สงครามดอกกุหลาบ

พระเจ้าริชาร์ดที่ 2 (ราวปี ค.ศ. 1390)

สงครามเป็นการต่อสู้ระหว่างขุนนางหรือชนชั้นเจ้านาย ทหารผู้อยู่ในอารักขา และทหารรับจ้างจากต่างประเทศ ผู้สนับสนุนของแต่ละฝ่ายก็ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์กับราชวงศ์เช่นอาจจะเป็นญาติพี่น้องสายเลือดเดียวกัน ความสัมพันธ์ที่เกิดจากการเสกสมรสระหว่างขุนนางกับราชวงศ์ใดราชวงศ์หนึ่งผู้ไต่เต้าขึ้นมามีอำนาจ และ การมอบหรือการยึดตำแหน่งขุนนางและที่ดิน

ระบบอำนาจขุนนางที่เรียกว่า "livery and maintenance" เป็นระบบอย่างไม่เป็นทางการ ที่หมายความว่าขุนนางเป็นผู้มีอำนาจผู้ต้องให้การอารักขาให้แก่ผู้ติดตามเป็นการแลกเปลี่ยนกับการเป็นฝ่ายเดียวกันและการมีสิทธิที่จะใช้ตราของขุนนางเอง (“livery”) และเป็นผู้มีอำนาจในการมีกองทัพที่ต้องจ่ายเงินบำรุงรักษา ("maintenance") ระบบที่ว่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้ลิดรอนอำนาจของพระมหากษัตริย์ลง อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อำนาจของพระมหากษัตริย์เสื่อมลงคือระบบที่เรียกว่าระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (bastard feudalism) โดยนักประวัติศาสตร์รุ่นต่อมาซึ่งก็ยังไม่เป็นที่ตกลงกันว่าเป็นคำที่เหมาะสมหรือไม่ การมอบอำนาจให้แก้ผู้จงรักภักดีจากขุนนางเป็นเรื่องปกติแต่มิใช่เป็นการมอบที่เป็นไปตามระบบโครงสร้างเดียวกัน แต่เป็นการให้อำนาจต่อกันตามความพอใจของแต่ละบุคคลที่ทำให้เกิดการแบ่งแยกเป็นฝักเป็นฝ่าย

เมื่อพิจารณาถึงความจงรักภักดีทางสายเลือด การสมรส และความทะเยอทะยานในการแสวงหาอำนาจแล้วก็ไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่าจะมีผู้เปลี่ยนข้างกันไปมากันอย่างเป็นเรื่องปกติ และการแพ้การชนะกันในยุทธการก็ขึ้นอยู่กับการทรยศ

กองทหารก็เป็นผู้ถืออาวุธของขุนนางที่ประกอบด้วยนายขมังธนูและทหารราบ บางครั้งก็จะมีทหารรับจ้างจากต่างประเทศเข้าร่วมพร้อมกับปืนใหญ่และปืนพก การใช้ทหารม้าเป็นไปอย่างจำกัดเช่นในการใช้ลาดตระเวน การต่อสู้ส่วนใหญ่ก็เป็นการต่อสู้ตัวต่อตัวของทหารราบ บางครั้งขุนนางก็อาจจะลงจากหลังม้าลงมาเข้าร่วมต่อสู้กับไพร่พล เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ และเป็นการกำจัดข่าวลือที่ว่าผู้มีตำแหน่งสูงเมื่อเพลี่ยงพล้ำอาจจะถูกจับตัวไปเรียกค่าไถ่ขณะที่ทหารธรรมดาไม่มีค่าตัวแต่อย่างใดก็จะถูกสังหาร

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามแปซิฟิก สงครามเกาหลี สงครามอ่าว สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามครูเสด สงครามกัมพูชา–เวียดนาม