พระราชบัญญัติสอดคล้อง ของ สงครามดอกกุหลาบ

เมื่อได้รับชัยชนะแล้วริชาร์ด ดยุกแห่งยอร์ค ก็เพิ่มความกดดันในการอ้างสิทธิในการเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชบัลลังก์อังกฤษโดยอ้างว่าฝ่ายแลงคาสเตอร์ครองบัลลังก์โดยไม่ชอบธรรม หลังจากการขึ้นฝั่งทางตอนเหนือของเวลส์ริชาร์ดและภรรยาซิซิลี เนวิลล์ก็เข้ากรุงลอนดอนในพิธีที่ใช้กับพระมหากษัตริย์เท่านั้น รัฐสภาถูกเรียกประชุม เมื่อเข้ามาในที่ประชุมดยุกแห่งยอร์กก็เดินรี่ไปยังที่ตั้งบัลลังก์ซึ่งคงหวังว่าขุนนางในที่ประชุมจะสนับสนุนให้นั่งดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนกับสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 4 ในปี ค.ศ. 1399 แต่แทนที่จะทำเช่นนั้นขุนนางต่างก็เงียบงันไปทั้งสภา ริชาร์ดจึงประกาศอ้างสิทธิ ซึ่งทำให้ขุนนางแม้แต่วอริกและซอลสบรีต่างตกตลึงกับการอนุมานสิทธิของริชาร์ด ขณะนั้นจุดประสงค์ของกลุ่มผู้ปฏิวัติก็เพียงเพื่อที่กำจัดที่ปรึกษาราชการแผ่นดินของพระเจ้าเฮนรีเท่านั้นมิใช่เพื่อเป็นการโค่นราชบัลลังก์

วันต่อมาริชาร์ดก็นำผังการสืบสายเลือดของตนเองมาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อสนับสนุนข้ออ้างที่กล่าวว่าตนเองเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากไลโอเนลแห่งอันท์เวิร์พซึ่งก็ทำให้สมาชิกบางคนก็อ่อนใจลงบ้าง รัฐสภาจึงตกลงออกเสียงตัดสินว่าสิทธิของริชาร์ดเหนือกว่าพระเจ้าเฮนรีหรือไม่ เสียงสนันสนุนส่วนใหญ่ที่มากกว่าเพียงห้าเสียงก็อนุมัติให้พระเจ้าเฮนรียังคงครองราชบัลลังก์ต่อไป ในเดือนตุลาคมปี ค.ศ. 1460 รัฐสภาก็ออกพระราชบัญญัติสอดคล้อง (Act of Accord) ซึ่งพระราชบัญญัติในการประนีประนอมที่แต่งตั้งให้ดยุกแห่งยอร์คเป็นทายาทในการสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าเฮนรี และยกเลิกสิทธิในการเป็นรัชทายาทของเอ็ดเวิร์ดพระราชโอรสของพระเจ้าเฮนรีผู้ขณะนั้นมีพระชนมายุหกพรรษา ริชาร์ดยอมรับข้อตกลง ซึ่งเป็นการได้รับเกือบทุกอย่างที่ตั้งใจไว้ โดยเฉพาะเมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็น “ผู้พิทักษ์อาณาจักร” และมีอำนาจการปกครองในนามของพระเจ้าเฮนรี

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามแปซิฟิก สงครามเกาหลี สงครามอ่าว สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามครูเสด สงครามกัมพูชา–เวียดนาม