การเตรียมการ ของ สงครามพระเจ้าอลองพญา

แผนการรบฝ่ายอยุธยา

ในปี พ.ศ. 2301 ด้วยการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กรุงศรีอยุธยาเป็นนครที่มั่งคั่งที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ หลังจากมีการแย่งชิงราชสมบัติกันระยะหนึ่ง พระราชโอรสองค์โตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เจ้าฟ้าเอกทัศ ได้สืบราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์หลังจากพระอนุชา เจ้าฟ้าอุทุมพร สละราชสมบัติและทรงลาผนวช พระองค์ทรงเผชิญกับสถานการณ์ที่ก่อตัวขึ้นทางตะวันตก ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยพระบิดาของพระองค์ พระองค์ทรงปฏิเสธข้อเรียกร้องของพระเจ้าอลองพญา และเตรียมการทำสงคราม

ฝ่ายอยุธยาเตรียมแผนการรบแบบตั้งรับ พระเจ้าเอกทัศทรงปรับปรุงการป้องกันพระนครและทรงเริ่มจัดเตรียมการป้องกันตามที่มั่นต่าง ๆ ตามรายทางซึ่งกองทัพพม่าเคยยกเข้ามาในอดีต กองทัพหลักของอยุธยากระจุกตัวอยู่ทางตะวันตกของกรุง[20] การป้องกันดังกล่าวรวมไปถึงเรือรบที่มีชาวดัตช์ประจำการอยู่ด้วย เช่นเดียวกับเรือรบบรรทุกปืนใหญ่หลายลำ ซึ่งมีลูกเรือเป็นชาวต่างประเทศ[26] ในอดีต การรุกรานของพม่าใช้เส้นทางผ่านด่านเจดีย์สามองค์ทางตะวันตกอยู่เสมอ และในบางครั้งยกมาจากเชียงใหม่ทางเหนือด้วย เพื่อเฝ้าแนวชายฝั่งและปีกด้านอ่าวไทย พระองค์ยังได้จัดวางกำลังพลขนาดเล็กกว่า ซึ่งมีทั้งหมด 20 กรมทหาร (ทหาร 27,000 นาย, ทหารม้า 1,300 นาย และช้าง 500 เชือก) ทำให้มีทหารเพียง 7,000 นาย และทหารม้า 300 นายเท่านั้นที่ถูกจัดวางตามชายฝั่งตะนาวศรี[6]

ในการนี้ พระเจ้าเอกทัศยังได้ทรงขอให้เจ้าฟ้าอุทุมพรลาผนวช และทรงแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพใหญ่

แผนการรบฝ่ายพม่า

ฝ่ายพม่าเองก็ได้เตรียมระดมพลกองทัพรุกราน โดยเริ่มจากการเฉลิมฉลองปีใหม่เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2302 โดยรวบรวมทหารจากพม่าตอนบนทั้งหมด รวมทั้งจากรัฐฉานและมณีปุระที่อยู่ทางเหนือซึ่งเพิ่งจะถูกยึดครองไปเมื่อไม่นานมานี้ด้วย จนถึงปลายปี พ.ศ. 2302 พระเจ้าอลองพญาทรงสามารถระดมพลได้มากถึง 40 กรมทหาร (ทหารราบ 40,000 นาย และทหารม้า 3,000 นาย) ที่ย่างกุ้ง ซึ่งจากทหารม้าทั้งหมด 3,000 นายนี้ เป็นทหารม้ามณีปุระเสีย 2,000 นาย ซึ่งเพิ่งจะถูกจัดเข้าสู่ราชการของพระเจ้าอลองพญาหลังจากมณีปุระถูกพม่ายึดครองเมื่อปี พ.ศ. 2301[6][27]

แผนการรบฝ่ายพม่าคือ การเลี่ยงตำแหน่งที่มีการป้องกันแข็งแรงของฝ่ายอยุธยาตามฉนวนด่านเจดีย์สามองค์-อยุธยา โดยทรงเลือกเส้นทางที่ยาวกว่าแต่มีการป้องกันเบาบางกว่า โดยมุ่งลงใต้ตามตะนาวศรี ข้ามเทือกเขาตะนาวศรีไปยังอ่าวไทย แล้วจึงวกกลับขึ้นเหนือไปยังอยุธยา[18] เพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์นี้ ฝ่ายพม่าได้รวบรวมกองทัพเรือที่มีเรือกว่า 300 ลำ เพื่อขนส่งทหารบางส่วนไปยังชายฝั่งตะนาวศรีโดยตรง[27]

พระเจ้าอลองพญาทรงเป็นผู้นำทัพด้วยพระองค์เอง โดยมีพระราชบุตรองค์ที่สอง เจ้าชายมังระ เป็นรองแม่ทัพใหญ่ ส่วนเจ้าชายมังลอก พระราชบุตรองค์โต พระองค์ทรงให้บริหารประเทศต่อไป ส่วนพระราชโอรสที่เหลือนั้นนำทหารราวหนึ่งกองพันทั้งสองพระองค์[28] นอกจากนี้ที่ติดตามกองทัพไปด้วยนั้นยังมีแม่ทัพยอดฝีมือ ซึ่งรวมไปถึงมังฆ้องนรธา ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ทางทหารอย่างมาก บางคนในราชสำนักสนับสนุนให้เขาผู้นี้อยู่ข้างหลังและมังระนำปฏิบัติการแทน แต่พระเจ้าอลองพญาทรงปฏิเสธ[29]

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามอ่าว สงครามเกาหลี สงครามเย็น สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามแปซิฟิก สงครามครูเสด