ผลที่ตามมา ของ สงครามพระเจ้าอลองพญา

หลังจากการสวรรคตของพระเจ้าอลองพญา พระมหากษัตริย์พม่าพระองค์ใหม่ พระเจ้ามังลอก ทรงต้องเผชิญกับการกบฏหลายครั้ง รวมทั้งการกบฏของแม่ทัพมังฆ้องนรธาด้วย และสงครามไม่สามารถดำเนินตอ่ไปได้

สงครามครั้งนี้ไม่มีบทสรุปชัดเจน พม่าบรรลุวัตถุประสงค์ดั้งเดิมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อยุธยายังคงเป็นขวากหนามต่อเสถียรภาพต่อภูมิภาคที่อยู่รอบข้างของพม่า อีกหลายปีให้หลังอยุธยายังคงให้การสนับสนุนต่อกบฏมอญทางตอนใต้ ซึ่งก่อการกบฏครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2305 เช่นเดียวกับกบฏในล้านนาทางตอนเหนือ (พ.ศ. 2304-06) ดินแดนที่เหลือซึ่งพม่าได้รับมาจากสงครามนั้นคือชายฝั่งตะนาวศรีตอนบน ซึ่งที่ผ่านมาเคยเพียงแต่อ้างสิทธิ์แต่ในนามเท่านั้น (อยุธยายึดชายฝั่งตอนล่างขึ้นไปถึงมะริดในปี พ.ศ. 2304)[1] ถึงแม้ว่ากองทัพอยุธยาจะไม่ได้บุกรุกพรมแดนอย่างเปิดเผยอีกต่อไป แต่กบฏมอญยังคงปฏิบัติการจากดินแดนของอยุธยา ในปี พ.ศ. 2307 เจ้าเมืองทวายชาวมอญ ผู้ซึ่งได้รับการทรงแต่งตั้งจากพระเจ้าอลองพญาเพียงสี่ปีก่อนหน้านี้เท่านั้น ได้ก่อการกบฏจนกระทั่งถูกปราบปรามในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ในทำนองเดียวกัน ความไม่มีเสถียรภาพในล้านนาเกิดขึ้นอีกครั้งไม่นานหลังจากกองทัพพม่าออกจากพื้นที่ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2307 บีบให้กองทัพต้องกลับมาประจำอีกครั้งหนึ่งในเดียวกัน[32] ด้วยบทสรุปที่ไม่แน่ชัดของสงครามจะนำไปสู่สงครามครั้งถัดไปในปี พ.ศ. 2308

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามอ่าว สงครามเกาหลี สงครามเย็น สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามแปซิฟิก สงครามครูเสด