ประวัติ ของ ประวัติการบินไทย

พ.ศ. 2503-2512

Coronado CV-990[2]
  • พ.ศ. 2512 - เปลี่ยนไปใช้ฝูงบินไอพ่นทั้งหมดในการให้บริการ โดยมีเส้นทางการบินครอบคลุมเมืองสำคัญในเอเชีย เป็นจำนวนมากกว่าสายการบินอื่น ทั้งเริ่มเผยแพร่วัฒนธรรม และรณรงค์การท่องเที่ยวประเทศไทย แก่ชาวต่างชาติทั่วโลก

พ.ศ. 2513-2522

B747-200 ประจำการลำแรก 2 พฤศจิกายน ปี 2522
  • พ.ศ. 2513 - ในโอกาสที่ร่วมมือกันก่อตั้งการบินไทยมาครบรอบ 10 ปี บดท.กับเอสเอเอส ลงนามต่อสัญญาร่วมทุนระหว่างกันออกไปอีก 7 ปี และยังจัดซื้อเครื่องบิน ดีซี 9-41 และ ดีซี 8-33 มาให้บริการเพิ่ม เนื่องจากมีสมรรถภาพที่ดี และยังประหยัดพลังงานกว่ารุ่นที่ใช้อยู่ ทั้งนี้ยังเริ่มจัดรายการท่องเที่ยวขึ้นเป็นพิเศษ ภายใต้ชื่อ รอยัลออร์คิดฮอลิเดย์ (Royal Orchid Holiday) โดยลูกค้าสามารถเลือกวันเดินทางและรายการท่องเที่ยวตามความต้องการได้ในราคาพิเศษ รวมทั้งการเดินทางเป็นหมู่คณะด้วย
  • พ.ศ. 2514 - เปิดเส้นทางบินข้ามทวีปเป็นครั้งแรกจากกรุงเทพฯ แวะลงที่ สิงคโปร์ สิ้นสุดที่ ซิดนีย์ ออสเตรเลีย ในวันที่ 1 เมษายน และเปิดให้บริการอาคารคลังสินค้าหลังใหม่ ซึ่งสามารถขนส่งสินค้าเข้าและออกเป็นจำนวน 2,000 ตันในปีแรก
  • พ.ศ. 2515 - วันที่ 3 มิถุนายน ทำการบินข้ามไปยังทวีปยุโรปเป็นครั้งแรก ไปยังกรุงโคเปนเฮเกน เดนมาร์ก[3] โดยเปิดศูนย์ฝึกอบรมนักบินแห่งใหม่ พร้อมติดตั้งเครื่องฝึกบินจำลองแบบ ดีซี 8-33 ซึ่งมีระบบควบคุมอัตโนมัติ เป็นเครื่องแรกของประเทศ นอกจากนี้ยังเปิดภัตตาคารการบินไทย ภายในท่าอากาศยานกรุงเทพ เพื่อให้บริการอาหารและเครื่องดื่มแก่ผู้เข้าใช้บริการ
  • พ.ศ. 2516 - เปิดจุดบินใหม่กรุงเทพไป แฟรงก์เฟิร์ต เยอรมนี ในวันที่ 2 มิถุนายน และลอนดอน สหราชอาณาจักร ในวันที่ 6 มิถุนายน ทั้งเปิดให้บริการ ร้านค้าปลอดภาษี (Duty-Free Shop) ภายในท่าอากาศยานกรุงเทพ เพื่อส่งเสริมศักยภาพให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคเอเชีย
  • พ.ศ. 2517 - วันที่ 16 เมษายน เปิดเส้นทางบินไปยังกรุงโรม อิตาลี ทั้งเริ่มใช้การสำรองที่นั่งด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วมากขึ้นแก่ผู้โดยสาร โดยการบินไทยนับเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยสมัยนั้นแห่งหนึ่ง เนื่องจากมีพนักงานทั้งในและต่างประเทศ รวมกว่า 3,000 คน
  • พ.ศ. 2518 - เปลี่ยนแปลงภาพตราสัญลักษณ์ใหม่ จากตุ๊กตารำไทยให้เป็นรูปแบบสากลมากยิ่งขึ้น โดยว่าจ้างให้วอลเตอร์ แลนเดอร์ แอนด์ แอสโซซิเอทด์ บริษัทโฆษณาระดับโลกเป็นผู้ออกแบบ เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึง ความงามทางธรรมชาติและอารยธรรมไทย โดยใช้สีม่วง สีชมพู และสีทองเป็นสื่อ ทั้งยังเปิดเส้นทางบินไปยัง กรุงเทพ ไป กรุงอัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ ในวันที่ 3 เมษายน กรุงเทพไป กรุงเอเธนส์ กรีซ ในวันที่ 3 พฤศจิกายน และกรุงเทพไป กรุงปารีส ฝรั่งเศส ในวันที่ 4 พฤศจิกายน
  • พ.ศ. 2520 - หลังจากครบสัญญาร่วมทุนเป็นระยะเวลา 17 ปี กระทรวงการคลังก็ซื้อหุ้นคืนจากเอสเอเอส ส่งผลให้การบินไทยตกเป็นของประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ โดยมีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ เปิดเส้นทางบินใหม่ไป คูเวตซิตี คูเวต[4] ในวันที่ 3 พฤศจิกายน การบินไทยมีเครื่องบินเป็นของบริษัทเองลำแรกได้แก่ HS-TMC เครื่องบินแบบ DC-10-30 ประจำการลำแรก 3 มีนาคม

ต่อมาในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2520 เอสเอเอสคืนหุ้นให้เดินอากาศไทย หลังจากครบระยะเวลาตามสัญญาร่วมทุน แล้วโอนให้แก่กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ตามมติคณะรัฐมนตรี พนักงานคนแรกได้แก่ กัปตัน พร้อม ณ ถลาง อีกทั้งยังเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของการบินไทยในปี พ.ศ. 2522 - 2523 อีกด้วย

  • พ.ศ. 2521 - จัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส เอ 300-บี 4 ขนาด 223 ที่นั่ง เครื่องบินมาในปี 2522 เพิ่มจากแบบ ดีซี 10-30 เข้าประจำการฝูงบิน เพื่อให้บริการในเที่ยวบินระยะไกล ทั้งสามารถขนส่งผู้โดยสารและสินค้าได้มากขึ้น เปิดเส้นทางบินใหม่ไป มานามา บาห์เรน ในวันที่ 1 พฤศจิกายน
[5]
  • พ.ศ. 2522 - จัดซื้อที่ดิน 26 ไร่ ริมถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ ซึ่งเป็นการรวมหน่วยงานภายในของการบินไทย ให้อยู่ในบริเวณเดียวกันเป็นครั้งแรก พร้อมทั้งรับเครื่องบินแบบโบอิง 747-200 ขนาด 371 ที่นั่ง จำนวน 2 ลำในวันที่ 2 พฤศจิกายน และวันที่ 15 ธันวาคม[6]ทะเบียน HS-TGA HS-TGB เพื่อให้สามารถบินตรงถึงจุดบินต่างๆ ในทวีปยุโรปโดยไม่ต้องพักเครื่อง และยังจัดซื้อเครื่องบินแบบแอร์บัส เอ 300 เพื่อใช้บินภายในทวีปเอเชีย จำนวน 4 ลำด้วย เปิดเส้นทางบินไป ดาห์ราน ซาอุดีอาระเบีย ในวันที่ 4 เมษายน

พ.ศ. 2523-2532

B747-300 HS-TGD ประจำ 16 ธันวาคม 2530บีเออี 146-300 ของการบินไทยประจำการลำแรก 23 มิถุนายน 2532 ในรูปเป็นลำที่สอง HS-TBM
  • พ.ศ. 2523 - เปิดเส้นทางบินข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกกรุงเทพแวะโตเกียวแวะนครซีแอตเทิลปลายทางนครลอสแอนเจลิส ในวันที่ 30 มีนาคม ด้วยฝูงบินโบอิง 747-200 หรือจัมโบ้เจ็ท นับเป็นจุดบินแรกในสหรัฐอเมริกาและทวีปอเมริกาเหนือ ก่อนเลิกบินเส้นทางนี้ในวันที่ 31 ธันวาคม และยังเพิ่มเส้นทางบินเมลเบิร์น ในวันที่ 4 เมษายน นูเมีย ประเทศนิวแคลิโดเนีย ในวันที่ 2 พฤศจิกายน รับเครื่องบินแบบโบอิง 747-200 ขนาด 371 ที่นั่ง จำนวน 2 ลำ[7]ทะเบียน HS-TGC HS-TGF
  • พ.ศ. 2524 - เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 1,100 ล้านบาท เปิดเส้นทางบิน กรุงเทพฯ-กว่างโจวของสาธารณรัฐประชาชนจีน ในวันที่ 2 เมษายน เปิดเส้นทางบินกรุงเทพแวะคูเวตปลายทางแฟรงเฟิร์ต เที่ยวบิน TG920 และเปิดเส้นทางบินกรุงเทพแวะเดลีปลายทางปารีส เที่ยวบิน TG932 เปิดเส้นทางบิน กรุงเทพแวะโตเกียวแวะซีแอตเทิลปลายทางแดลลัส ในวันที่ 1 มกราคม ในเที่ยวบินที่ TG740[8]
  • พ.ศ. 2525 - การบินไทยผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากการลดค่าเงินบาท โดยมีผลกำไรก่อนหักภาษีเป็นมูลค่า 26.3 ล้านบาท เป็นผลมาจากการปรับฝูงบิน รวมถึงความร่วมมือกับสายการบินอื่น ในเส้นทางบินที่สำคัญ การบินไทยเปิดเส้นทาง กรุงเทพไปเพิร์ทในวันที่ 31 มีนาคม และกรุงเทพไปบริสเบนในวันที่ 2 เมษายน
  • พ.ศ. 2526 - เริ่มการให้บริการในชั้นธุรกิจ (Royal Executive Class) โดยแบ่งห้องโดยสารออกเป็นสัดส่วน ปรับปรุงเบาะนั่งให้ตัวใหญ่ขึ้น ขยายเท้าแขนให้มากขึ้น รวมทั้งเปิดบริการห้องรับรองพิเศษก่อนขึ้นเครื่อง นอกจากนั้นยังร่วมลงทุนกับ บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (BAFS), โรงแรมรอยัลออร์คิด และโรงแรมแอร์พอร์ต เปิดเส้นทางบิน กรุงเทพฯ-ปักกิ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ในวันที่ 29 มีนาคม
  • พ.ศ. 2527 - เริ่มเส้นทางบินผ่านในประเทศอีกสองเส้นทางคือ กรุงเทพฯ-หาดใหญ่-สิงคโปร์ กับ กรุงเทพฯ-ภูเก็ต-สิงคโปร์ โดยก่อนหน้านี้มีเส้นทางแรกคือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่-ฮ่องกง มาก่อนแล้ว เปิดเส้นทางบินกรุงเทพไปมัสกัต ในวันที่ 7 มิถุนายน 2527 และ กรุงเทพ-ซูริก ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2527
  • พ.ศ. 2528 - เปิดศูนย์ซ่อมอากาศยานแห่งใหม่ ในบริเวณท่าอากาศยานกรุงเทพ เพื่อเพิ่มศักยภาพการซ่อมบำรุง เครื่องบินลำตัวกว้างด้วยตนเองภายในประเทศ แทนการส่งไปซ่อมต่างประเทศ ซึ่งในช่วงแรกเปิดทำการ 2 โรงซ่อม ซึ่งสามารถรองรับเครื่องบินโบอิง 747-200 พร้อมกัน และสร้างโรงซ่อมที่ 3 ในเวลาต่อมา ซึ่งสายการบินสแกนดิเนเวียน เข้ามาช่วยเหลือการจัดสร้าง ซึ่งสามารถซ่อมโบอิง 747 2 ลำ และเครื่องบินลำตัวแคบ 1 ลำ พร้อมกันในคราวเดียว และเปิดอาคารคลังสินค้าขนาดใหญ่ ติดอันดับในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยพื้นที่ 43,000 ตารางเมตร เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณสินค้า ทั้งของการบินไทย กับอีก 28 สายการบิน ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เปิดเส้นทางบินไปเวียงจันทน์ ในวันที่ 4 เมษายน ไปบันดาร์เซอรีเบอกาวัน ในวันที่ 5 เมษายน กรุงเทพแวะซูริกปลายทางไคโร ในวันที่ 29 ตุลาคม เที่ยวบินที่ TG960 และไปริยาด ในวันที่ 30 ตุลาคม เที่ยวบินที่ TG509
  • พ.ศ. 2529 - เพิ่มเส้นทางบินไปยังกรุงสต็อกโฮล์มของสวีเดน ในวันที่ 30 ตุลาคม และดึสเซิลดอร์ฟ ในวันที่ 30 ตุลาคม รวมถึงเปิดให้บริการภัตตาคารการบินไทย สาขาอาคารผู้โดยสารแห่งใหม่ ภายในท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ นับเป็นสาขาแรกนอกท่าอากาศยานกรุงเทพ
  • พ.ศ. 2530 - เพิ่มเส้นทางบินไปยังกรุงมาดริดของสเปน ในวันที่ 5 ธันวาคม และเมืองออกแลนด์ของนิวซีแลนด์ ในวันที่ 5 ธันวาคม พร้อมทั้งย้ายการให้บริการแก่ผู้โดยสารทั้งหมด ไปยังอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ และภายในประเทศหลังใหม่ทั้งสอง นับเป็นร้อยละ 80 ของการให้บริการทั้งหมดของการบินไทย นอกจากนั้น ยังร่วมรณรงค์ปีส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยด้วย

รับเครื่องบินแบบโบอิง 747-300 จำนวน 2 ลำ[9]ทะเบียน HS-TGD รับวันที่ 16 ธันวาคม HS-TGE รับวันที่ 3 ธันวาคม เป็นเครื่องบินที่ทันสมัยที่สุดของการบินไทย

วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2531 เดินอากาศไทยซึ่งดำเนินธุรกิจสายการบินภายในประเทศ ก็รวมกิจการเข้ากับการบินไทย เพื่อให้สายการบินแห่งชาติเป็นหนึ่งเดียว ตามมติคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ จากนั้นในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 การบินไทยเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามมติคณะรัฐมนตรี และจดทะเบียนแปลงสภาพเป็นบริษัทจำกัดมหาชน เมื่อปี พ.ศ. 2537[12]

  • พ.ศ. 2532 - สำนักงานใหญ่ก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งโครงการ และเริ่มจัดรายการบัตรโดยสารราคาพิเศษชื่อ Discover Thailand เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประเทศไทย เนื่องในปีศิลปหัตถกรรมไทย รวมถึงพัฒนาทัวร์เอื้องหลวงให้หลากหลายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังเปิดครัวการบินไทยแห่งใหม่ โดยมีกำลังการผลิตอาหารมากกว่า 20,000 สำรับต่อวัน ซึ่งมีความทันสมัยและขนาดใหญ่ติดอันดับในเอเชีย รับเครื่องบินแบบ BAe146-300 2 ลำทะเบียน HS-TBL และ HS-TBM

พ.ศ. 2533-2542

B747-400 HS-TGA ประจำการ 2พฤศจิกายน ปี 2533McDonnell Douglas MD-11 HS-TMD ประจำการ 27 มิถุนายน ปี 2534
  • พ.ศ. 2533
    • ครบรอบ 30 ปีการบินไทย ผลประกอบการก่อนหักภาษี ได้รับกำไร 6,753.6 ล้านบาท ถือเป็นลำดับรองจากจุดสูงสุดของผลกำไรตลอดกาบ และให้บริการผู้โดยสารสูงสุดตลอดมาที่ 8.3 ล้านคน ทั้งนี้ ยังจัดซื้อเครื่องบินโบอิง 747-400 ลำแรก ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในขณะนั้น
    • 27 มีนาคม – เปิดเส้นทางบินไปเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์
    • 30 มีนาคม – เปิดเส้นทางบินไปมิวนิก ประเทศเยอรมัน
    • 29 ตุลาคม – เปิดเส้นทางบินไปเกาสฺยง
    • 2 พฤศจิกายน – รับเครื่องบินแบบ B747-400 ลำแรก ในวันที่ เป็นเครื่องที่ทันสมัยที่สุดของการบินไทยในปีนั้น
    • 16 พฤศจิกายน – เปิดเส้นทางบินไปเกาะลังกาวี
  • พ.ศ. 2534
    • ร่วมเป็นสมาชิกระบบสำรองที่นั่งเบ็ดเสร็จ อะมาดิอุส (Amadeus) ซึ่งเชื่อมโยงกับอีก 98 สายการบิน และผู้แทนการท่องเที่ยวทั่วโลก 47,500 ราย ครอบคลุมทั่วโลกด้วยระบบอินเทอร์เน็ต
    • 1 กรกฏาคม – เปิดเส้นทางบินใหม่จากกรุงเทพแวะโซลปลายทางลอสแอนเจลิส ในเที่ยวบิน TG770 [13]
    • 4 ตุลาคม – เปิดเส้นทางบินไป บรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
    • 30 ตุลาคม – เปิดเส้นทางบินไป โกตากีนาบาลู ในวันที่ 30 ตุลาคม
    • เปิดเส้นทาง โตเกียวไปภูเก็ต ในเที่ยวบินที่ TG647
    • การบินไทยเริ่มกระบวนการแปรรูปบริษัท ด้วยการนำหุ้นเข้าจำหน่ายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยขณะนั้นคือ 100 ล้านหุ้น โดยมีผู้ลงทุนซื้อหุ้นจำนวน 256,000 คน และสามารถระดมทุนเป็นจำนวน 14,000 ล้านบาท รับเครื่องบินแบบ McDonnell Douglas MD-11 2 ลำ HS-TMD วันที่ 27 มิถุนายน HS-TME วันที่15 กรกฎาคม
  • พ.ศ. 2535
    • 30 มีนาคม – เปิดเส้นทางบินไปคุนหมิง
    • 31 มีนาคม – เปิดเส้นทางบินไปกวม
    • การบินไทยเปิดเส้นทางบินแวะกรุงโรมสิ้นสุดที่บาร์เซโลนา ประเทศสเปน[14] ในวันที่ 3 กรกฎาคม การบินไทยเปิดเส้นทางบินไป ฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 26 ตุลาคม[15]รับเครื่องบินแบบ McDonnell Douglas MD-11 2 ลำ HS-TMF วันที่ 2 กรกฎาคม HS-TMG วันที่ 31 กรกฎาคม การบินไทยซื้อเครื่อง HS-TVA แบบ Canadair Challenger-601-3A-ER สำหรับฝึกนักบินและเช่าเหมาลำ รับเมื่อ 25 พฤษภาคม ในปีนี้เปิดเส้นทางบิน ฮ่องกงไปโตเกียว เที่ยวบิน TG642
  • พ.ศ. 2536 – รับบริการผู้โดยสารจำนวนมากกว่า 10 ล้านคน และเปิดรับสมัครรอยัลออร์คิดพลัส รายการสะสมจำนวนไมล์บิน โดยมีผู้เข้าเป็นสมาชิกจำนวน 200,000 คนจาก 115 ประเทศภายในปีแรก การบินไทยเปิดเส้นทางบินไป เซี่ยงไฮ้ ในวันที่ 2 พฤศจิกายน การบินไทยเปิดเส้นทางบินไป ดูไบ ในวันที่ 3 พฤศจิกายน
  • พ.ศ. 2537 – จดทะเบียนเป็น บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) พร้อมทั้งเพิ่มเส้นทางบินไปยัง ลาฮอร์ของปากีสถาน ในวันที่ 1 กรกฎาคม และ อิสตันบูล ในวันที่ 31 ตุลาคม
  • พ.ศ. 2538 – ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเชิงปฏิบัติการ เชิงบริการลูกค้า เชิงจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาการบริหารธุรกิจจากต่างประเทศ และประกาศวิสัยทัศน์ใหม่ของการบินไทย เพื่อสร้างสรรแนวทางและเป้าหมายร่วมกัน มีใจความว่า The First Choice Carrier. Smooth as Silk. First Time. Every Time.
  • พ.ศ. 2539
    • สมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมฝ่ายช่าง เนื่องในโอกาสเสด็จฯ เยือนประเทศไทย ทรงเดินเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ เทรน 800 จำนวน 2 ตัว ที่ติดตั้งภายในเครื่องบินโบอิง 777-200 ขนาด 358 ที่นั่ง ซึ่งสั่งซื้อเป็นลำแรกของโลก และเปิดให้บริการข้อมูลแก่สาธารณชนผ่านอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ www.thaiairways.com และ www.thaiairways.co.th
    • การบินไทยเช่าเครื่องบินมาจากสายการบิน Atlas Air เพื่อมาบินขนส่งสินค้าเพียงอย่างเดียว เป็นเครื่องบิน B747-200SF ทะเบียน N522MC
  • พ.ศ. 2540

พ.ศ. 2543–2552

ตราสัญลักษณ์ของการบินไทย (2548-ปัจจุบัน)A340-541 ประจำการลำแรก 6 เมษายน ปี 2548 ในรูปคือ HS-TLB เป็นลำที่สองA340-642 HS-TNA ประจำการ 29 มิถุนายน ปี 2548A330-343X HS-TEN ประจำการ 1 เมษายน พ.ศ. 2552

เปิดเส้นทางบินใหม่ไปยัง มุมไบ ประเทศอินเดีย ในวันที่ 30 ตุลาคม

ในวันที่ 29 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2545 การบินไทยเปิดเส้นทางบินใหม่กรุงเทพ แวะกรุงเอเธนส์ ไปกรุงเจนีวา

  • พ.ศ. 2546 – ให้บริการเลือกเที่ยวบิน สำรองที่นั่ง ออกบัตรโดยสาร เช็กอิน ฯลฯ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตด้วยตนเอง ภายใต้ชื่อรอยัล อี-เซอร์วิส และเริ่มการประมูลจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auction) เพื่อความโปร่งใสถูกต้อง มีธรรมาภิบาล และยังลดค่าใช้จ่ายอีกด้วย การบินไทยเปิดเส้นทางบินกรุงเทพแวะซูริกไปเจนีวา ในวันที่ 31 มีนาคม เที่ยวบิน TG972[18]การบินไทยเปิดเส้นทางบินตรงจากกรุงเทพไปเชนไน ในวันที่ 26 ตุลาคม และ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน เปิดเส้นทางบินตรงจากกรุงเทพไปหลวงพระบาง การบินไทยเปิดเส้นทางเมลเบิร์นไปภูเก็ตในวันที่ 27 ตุลาคม ในเที่ยวบินที่ TG980[19]
  • พ.ศ. 2547 – ลงนามในสัญญาร่วมกับ ห้างหุ้นส่วนอินเตอร์แบรนด์ เพื่อปรับปรุงเอกลักษณ์ของการบินไทย ภายใต้กลยุทธ์พัฒนาเอกลักษณ์และบริการ รวมทั้งเปิดบริการลูกค้าสัมพันธ์ชั้นพิเศษ (Premium Customer Service) สำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจ และถือหุ้นร้อยละ 39 เพื่อร่วมทุนเปิดนกแอร์ (อังกฤษ: Nok Air) สายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airlines)การบินไทยเปิดเส้นทางบินกรุงเทพ ไป บังคาลอร์ ในวันที่ 29 มีนาคม จิ่งหง ในวันที่ 31 มีนาคม มิลาน ประเทศอิตาลี ในวันที่ 4 พฤษภาคม
  • พ.ศ. 2548
    • เปิดตราสัญลักษณ์รูปแบบใหม่ ซึ่งพัฒนาขึ้นจากตราแบบเดิม สะท้อนเอกลักษณ์ไทยตามแนวคิดใหม่ของบริษัทคือ High Trust, World Class and Thai Touch พร้อมทั้งเปลี่ยนเแปลงเครื่องแบบพนักงานประชาสัมพันธ์ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินและภาคพื้น และเปิดจุดบินตรงไปยังมหานครนิวยอร์ก เที่ยวบิน TG790 ในวันที่ 1 พฤษภาคม และนครลอสแอนเจลิส เที่ยวบิน TG794 ของสหรัฐอเมริกา บนเครื่องบินแบบ A340-541 ในวันที่ 2 ธันวาคม การบินไทยเปิดเส้นทางไปยังกรุงมอสโกของรัสเซีย ในวันที่ 1 พฤศจิกายน เปิดเส้นทางบินไปยัง อิสลามาบาด ในวันที่ 2 พฤศจิกายน นอกจากนั้น ยังลงนามสัญญาทำรหัส กับสายการบินนิวซีแลนด์ และแอร์มาดากัสการ์ด้วย
    • รับเครื่องบินแบบ A340-541 ลำแรก ในวันที่ 6 เมษายน ทะเบียน HS-TLA A340-642 ในวันที่ 29 มิถุนายน ทะเบียน HS-TNA[20]
    • การบินไทยได้เปิดเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพ  – นิวยอร์ก ด้วยเครื่องบินแบบ แอร์บัส เอ 340-500 ถือเป็นเที่ยวบินตรงเส้นทางแรกสู่สหรัฐอเมริกา ต่อมาได้เปลี่ยนเที่ยวบินตรงไปยังลอสแอนเจลิสแทน แต่เนื่องด้วยเครื่องบินรุ่นนี้ใช้น้ำมันมากจึงได้ระงับไปในปี พ.ศ. 2551 แม้จะมีผู้โดยสารจองที่นั่งกว่าร้อยละ 80 ก็ตาม
  • พ.ศ. 2550 – ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศเต็มรูปแบบ ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพียงแห่งเดียว โดยยังให้บริการที่ท่าอากาศยานดอนเมือง สำหรับเที่ยวบินภายในประเทศตามนโยบายรัฐบาล และเปิดจุดบินใหม่กรุงเทพแวะพุทธคยาไปพาราณสีของอินเดียในเที่ยวบินที่ TG8820 เป็นเที่ยวบินที่บินตามฤดูกาลไม่ใช่เส้นทางประจำ นอกจากนี้ ยังเปิดจุดบริการเช็กอินแก่ผู้โดยสารภายในประเทศ (THAI City Air Terminal) ที่สถานีลาดพร้าวของรถไฟฟ้ามหานครด้วย

[21]

  • พ.ศ. 2552 – เริ่มเส้นทางบินไปยังกรุงออสโลของนอร์เวย์ ในวันที่ 15 มิถุนายน เที่ยวบินที่ TG954 เป็นจุดบินระหว่างประเทศที่ 59 ซึ่งการบินไทยเปิดทำการบินใน 34 ประเทศ เพื่อให้บริการผู้โดยสารครอบคลุมทั่วโลก รับเครื่องบินแบบใหม่ A330-343X ลำแรกทะเบียน HS-TEN ประจำการ 1 เมษายน พ.ศ. 2552
    การบินไทยปรับเปลี่ยนเส้นทาง TG921 แฟรงเฟิร์ตแวะกรุงเทพไปภูเก็ต TG923 แฟรงเฟิร์ตแวะกรุงเทพไปเชียงใหม่ โดยเปลี่ยนให้ทั้งสองเที่ยวบินสิ้นสุดที่กรุงเทพ

พ.ศ. 2553–2562

A380-841 HS-TUA ประจำการลำแรก 26 กันยายน พ.ศ. 2555B777-300ER HS-TKU ประจำการลำแรก 21 มกราคม พ.ศ. 2557Boeing 787-8 Dreamliner เช่ามาประจำการลำแรก 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ในรูปเป็นลำที่หก HS-TQFA350-900 XWB ประจำการลำแรก 1 กันยายน 2559 ในรูปเป็น HS-THB
  • พ.ศ. 2553 –
    • ครบรอบ 50 ปี การบินไทย โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 มีการดำเนินธุรกิจตามแผนยุทธศาสตร์ Mission TG 100 ระยะ 5 ปี ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดี และเปิดเส้นทางบินใหม่ที่กรุงโตเกียว (ท่าอากาศยานฮาเนดะ) ในวันที่ 31 ตุลาคม ของญี่ปุ่น ซึ่งการบินไทยเคยบินมาก่อนหน้านี้แล้ว
    • 28 มีนาคม การบินไทยยกเลิกเที่ยวบิน มะนิลาไปโอซาก้า
    • 2 มิถุนายน การบินไทยเปิดเส้นทางบินใหม่ไปท่าอากาศยานนานาชาติโออาร์ แทมโบ เมืองโจฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ หลังหยุดบินไปช่วงหนึ่ง
    • เพื่อฉลองครบรอบ 50 ปี การบินไทย ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ผู้อำนวยการใหญ่ ในขณะนั้น ได้ตั้งเป้าหมายในอนาคตของการบินไทย โดยสร้างแผนงานในการนำฝูงบินใหม่ มาทดแทนฝูงบินเก่า และปรับปรุงการให้บริการให้ดียิ่งขึ้น โดยวางแผนซื้อเครื่องบินแบบ โบอิงค์ 787 และ แอร์บัส เอ350 รวมไปถึงการนำเครื่องบินแบบ โบอิงค์ 747 และ 777 มาปรับปรุงห้องโดยสารใหม่อีกด้วย
  • พ.ศ. 2554
  • พ.ศ. 2556
    • 1 กันยายน – ยกเลิกเที่ยวบินเที่ยวฮ่องกงสู่ไทเป[24]
    • การบินไทยเปิดเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำไปสามเมืองในประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก ได้แก่โทะยะมะ[25]เมืองโคมัตสึ จังหวัดอิชิกะวะ ท่าอากาศยานฮิโระชิมะ
    • 24 กันยายน – คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ บมจ.การบินไทย ดำเนินโครงการลงทุนจัดตั้งสายการบินไทยสมายล์ โดยจัดตั้ง บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด เป็นบริษัทย่อยในเครือของ บมจ.การบินไทย ซึ่ง บมจ.การบินไทย ถือหุ้นร้อยละ 100 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สายการบินไทยสมายล์เป็นสายการบินภูมิภาค มีเครือข่ายการเชื่อมต่อผู้โดยสารทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ เนื่องจาก บมจ.การบินไทยในขณะนั้นมีกระทรวงการคลังถือหุ้นร้อยละ 51.03 และมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงทำให้บริษัท ไทยสมายล์มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจด้วย[26]
    • 28 ตุลาคม – การบินไทยทำการบินลงที่ท่าอากาศยานแมนเชสเตอร์ เป็นครั้งแรกเนื่องจากสภาพอากาศที่ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ ไม่สามารถลงจอดได้[27]
    • 3 ธันวาคม – การบินไทยเปิดเส้นทางบินใหม่กรุงเทพไปท่าอากาศยานเซ็นได เที่ยวบิน TG680 นับเป็นครั้งแรกที่มีเครื่องบินของการบินไทยบินประจำที่เมืองเช็นได การบินไทยปลดเครื่องแบบ ATR72-201 ที่ให้สายการบินนกแอร์เช่า
  • พ.ศ. 2557
    • เปิดให้บริการ THAI Sky Connect (บริการ Wi-Fi) บนเครื่องบิน[28];และเปิดเส้นทางบินใหม่ไป ฉงชิ่ง ในวันที่ 1 ตุลาคม ในเที่ยวบิน TG684 และ รับมอบเครื่องบินแบบใหม่ โบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ ลำแรกของประเทศไทย ทะเบียน HS-TQA นามพระราชทาน "องครักษ์" รับมอบเครื่องบินแบบ B777-300ER ทะเบียน HS-TKU ถือเป็นเครื่องบินแบบ B777-300ER ลำแรกที่การบินไทยเป็นเจ้าของ และรับเครื่อง Boeing 787-8 Dreamliner ที่เช่ามาจากบริษัท AerCap
    • 31 กรกฎาคม – การบินไทยบินด้วย แอร์บัส เอ 300-600 เป็นครั้งสุดท้าย[29]และปลดเครื่องบินรุ่นนี้ออกจากฝูงบิน
      และบินตรงจากท่าอากาศยานเซ็นไดมากรุงเทพเที่ยวสุดท้าย วันที่ 18 เมษายน ก่อนยกเลิกเส้นทางดังกล่าว
    • 31 ธันวาคม – การบินไทยทำการบินด้วยเครื่องบิน 102 ลำ รวมการบินไทยสมายล์
  • พ.ศ. 2561
    • 28 กุมภาพันธ์ – การบินไทยยกเลิกเที่ยวบินไปยังเตหะราน
    • 3 พฤษภาคม – การบินไทยเลิกการบินลงจอดที่ราวัลปินดี โดยเปลี่ยนไปลงจอดที่อิสลามาบาด
    • 1 กรกฎาคม – การบินไทยสมายล์ปรับเส้นทางบินกรุงเทพ-ภูเก็ต-กว่างโชว โดยเปลี่ยนเป็น กรุงเทพ-กว่างโชว ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561 การบินไทยทำการบินด้วยเครื่องบิน 104 ลำ รวมการบินไทยสมายล์ สูงที่สุดนับตั้งแต่ทำกิจการของการบินไทย ก่อนที่จะยกเลิก และทำการปลด โบอิง 737-4D7 ออกจากฝูงบินในวันดังกล่าว วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2561 การบินไทย ยกเลิกเที่ยวบิน จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไป ท่าอากาศยานสมุย[35]การบินไทยดำเนินธุรกิจโดยมีเที่ยวบินระหว่างต่างประเทศน้อยที่สุด กล่าวคือ โชล ไทเปไปโซล-อินช็อน การาจีไปมัสกัต ทั้งหมดเป็นเที่ยวบินไปกลับระหว่างต่างประเทศ เส้นทางภายในประเทศเหลือเพียง 3 เส้นทางได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต และ กระบี่ การบินไทย ยกเลิกเที่ยวบิน TG608/TG609 ภูเก็ตไปกลับฮ่องกง โดยบินเที่ยวสุดท้ายวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561
  • พ.ศ. 2562

พ.ศ. 2563 : โควิด-19 และการฟื้นฟูกิจการ

ก่อนยื่นฟื้นฟูกิจการ

  • พ.ศ. 2563
    • 23 เมษายน – สำนักข่าวนิกเกอิของญี่ปุ่นรายงานว่า การบินไทยอาจเป็นสายการบินแห่งชาติรายแรกของโลกที่จะล้มละลายท่ามกลางสถานการณ์การระบาดทั่วของโรค COVID-19 เนื่องจากปัญหาขาดสภาพคล่องซึ่งสะสมมาตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติ โดยบริษัทเตรียมขอเงินช่วยเหลือจากกระทรวงการคลัง 70,000 ล้านบาท[36] ทั้งนี้ผลดำเนินงานของบริษัทย้อนหลัง 3 ปีพบขาดทุนอย่างต่อเนื่อง โดยปี พ.ศ. 2562 ขาดทุน 12,017 ล้านบาท ปี พ.ศ. 2561 ขาดทุน 11,569 ล้านบาท และปี พ.ศ. 2560 ขาดทุน 2,072 ล้านบาท ด้านสำนักบริหารหนี้สาธารณะรายงานว่า ณ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 บริษัทมีหนี้สะสม 1.5 แสนล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ในประเทศ 101,511 ล้านบาท และหนี้ต่างประเทศ 47,209 ล้านบาท[37] แม้ว่ากระทรวงการคลังจะออกเงินกู้วงเงิน 50,000 ล้านบาทที่กระทรวงการคลังค้ำประกันให้ แต่จำนวนดังกล่าวน่าจะทำให้บริษัทคงสภาพคล่องไปได้ถึงสิ้นปี พ.ศ. 2563 เท่านั้น[38]
    • 18 พฤษภาคม – ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้การบินไทยฟื้นฟูกิจการ และได้มีการเสนอคณะรัฐมนตรีในวันรุ่งขึ้น[39]
    • 19 พฤษภาคม – คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การบินไทยเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 โดยยื่นคำขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง ซึ่งมีผลให้การบินไทยในฐานะลูกหนี้สามารถหยุดพักชำระหนี้ได้โดยอัตโนมัติ เพื่อเริ่มต้นขั้นตอนเจรจาเจ้าหนี้ทั้งในและต่างประเทศ โดยจะมีการดำเนินการรวมทั้งหมด 10 ขั้นตอน[40]
    • 25 พฤษภาคม –
      • บมจ.การบินไทย ทำหนังสือแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม กระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ (จำนวน 1,113,931,061 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 51.03 ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระทั้งหมดของบริษัทฯ) ได้ลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ลงต่ำกว่าร้อยลง 50 ของจำนวนจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระทั้งหมดของบริษัทฯ แล้ว โดยจำหน่ายหุ้นร้อยละ 3.17 ให้แก่กองทุนรวมวายุภักษ์ 1 แต่ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ (ร้อยละ 47.86) ทั้งนี้ ภายหลังการลดสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าว ทำให้การบินไทยพ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง[41][42]
      • คณะกรรมการบริษัทการบินไทยฯ มีมติแต่งตั้งให้พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค, บุญทักษ์ หวังเจริญ, ไพรินทร์ ชูโชติถาวร และปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ แทนกรรมการเดิม[43]

ยื่นฟื้นฟูกิจการ

วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:
  • พ.ศ. 2563
    • 26 พฤษภาคม –
    • 27 พฤษภาคม – ศาลล้มละลายกลางรับคำร้องขอฟื้นฟูการบินไทย และนัดไต่สวนครั้งแรกในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 09:00 น. ซึ่งทำให้การบินไทยอยู่ในภาวะหยุดจ่ายหนี้ทุกรายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483[44]
    • 14 กันยายน – ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้การบินไทยดำเนินการฟื้นฟูกิจการตามที่บริษัทร้องขอ และได้เห็นสมควรให้บริษัท อีวาย คอร์ปอเรทแอดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส จำกัด รวมถึงกรรมการบริษัทอีก 6 คน ประกอบด้วย พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน, นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค, นายบุญทักษ์ หวังเจริญ, นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ และชาญศิลป์ ตรีนุชกร เป็นผู้ดำเนินการฟื้นฟูกิจการตามที่การบินไทยเสนอ
    • 5 พฤศจิกายน การบินไทยประกาศขายเครื่องบินเพิ่มเติม 22 ลำ ประกอบด้วย B777-200 6 ลำ (HS-TJA, HS-TJB, HS-TJC, HS-TJD, HS-TJG, HS-TJH) / B777-300 6 ลำ (HS-TKA, HS-TKB, HS-TKC, HS-TKD, HS-TKE, HS-TKF) / B747-400 10 ลำ (HS-TGA, HS-TGB, HS-TGF, HS-TGG, HS-TGO, HS-TGP, HS-TGW, HS-TGX, HS-TGY, HS-TGZ) ถือเป็นการปลดประจำการฝูงบิน Boeing 747 และในรุ่น Boeing 777 เหลือเพียงรุ่น ER (Extended Range) เท่านั้น ทำให้จำนวนเครื่องบินในฝูงบินการบินไทยเหลือเพียง 61 ลำ (ไม่นับรวม Thai Smile)

ใกล้เคียง

ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสนาพุทธ ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์จีน ประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์สหรัฐ ประวัติศาสตร์สเปน ประวัติศาสตร์เยอรมนี ประวัติการบินไทย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประวัติการบินไทย http://www.forbesthailand.com/article_detail.php?a... http://www.naewna.com/business/114947 http://www.routesonline.com/news/29/breaking-news/... http://thaiairways.com/offers/royal-orchid-plus-pr... http://publicinfo.thaiairways.com/international-de... http://www.thaiairways.com http://www.thaiairways.com/about-thai/company-prof... http://www.thaiairways.com/th_TH/news/news_announc... http://www.thailandexhibition.com/TradeShow-2015/6... http://www.travelweekly-asia.com/Travel-News/Phuke...