ทฤษฎีเกี่ยวกับสงครามกลางเมืองอังกฤษ ของ สงครามกลางเมืองอังกฤษ

พระเจ้าชาลส์ที่ 1

เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความคิดทางการเมืองตระกูลวิกมีอิทธิพลต่อทฤษฎีเกี่ยวกับสงครามกลางเมือง ที่อธิบายว่าสงครามกลางเมืองมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างรัฐสภา (โดยเฉพาะสภาสามัญชน) กับสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีมาเป็นร้อยๆ ปีก่อนหน้านั้น โดยฝ่ายรัฐสภาเป็นผู้พิทักษ์สิทธิของประชาชนชาวอังกฤษขณะที่ราชวงศ์สจวตพยายามขยายอำนาจในการเปลี่ยนแปลงกฎหมายโดยไม่คำนึงถึงกฎเกณฑ์หรือความกระทบกระเทือนต่อประชาชน

ซามูเอล รอว์สัน การ์ดิเนอร์ (Samuel Rawson Gardiner) นักประวัติศาสตร์คนสำคัญของวิกเสนอความคิดที่เป็นที่นิยมกันที่ว่าสงครามกลางเมืองคือ “การกบฏเพียวริตัน” (Puritan Revolution) ที่เป็นการต่อต้านการกดขี่ของสถาบันศาสนาของราชวงศ์สจวต และเป็นการปูพื้นฐานสำหรับ “การยอมรับความต่างศาสนา” ในสมัยของการฟื้นฟูราชวงศ์ ฉะนั้น กลุ่มเพียวริตัน จึงสนับสนุนผู้ที่ต้องการรักษาประเพณีดั้งเดิมในการต่อต้านอำนาจอันไม่เป็นธรรมของพระมหากษัตริย์

ทฤษฎีของฝ่ายวิกถูกคัดค้านโดยทฤษฎีของลัทธิมาร์กซที่เป็นที่นิยมกันในคริสต์ทศวรรษ 1940 ที่ตีความหมายของสงครามกลางเมืองอังกฤษว่าเป็นสงครามของการปฏิวัติของชนชั้นกลาง ตามความเห็นของนักประวัติศาสตร์มาร์กซคริสโตเฟอร์ ฮิลล์:

“สงครามกลางเมืองเป็นสงครามระหว่างชนชั้น ที่ประกอบด้วยฝ่ายขุนนางผู้เป็นเจ้าของที่ดินและพรรคพวกและสถาบันศาสนา กับอีกฝ่ายหนึ่งที่ประกอบด้วยชนชั้นผู้ค้าขายและผู้ทำการอุตสาหกรรมในเมืองหรือชนบทนอกเมืองหลวง . . .ผู้นำท้องถิ่นที่มีหัวก้าวหน้า. . .ประชากรส่วนใหญ่ที่มีโอกาสถกเถียงกันและเข้าใจถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้น. . . ในประวัติศาสตร์อังกฤษสงครามกลางเมืองเกิดขึ้นเมื่อชนชั้นกลางที่มีฐานะดีที่มีอำนาจทางสังคมตัดสินใจยุบเลิกระบบการปกครองของรัฐบาลอังกฤษที่มีมาตั้งแต่ยุคกลาง นอกจากนั้นวิกก็เช่นเดียวกับลัทธิมาร์กซพบบทบาททางศาสนา: ในทางระบบปรัชญาลัทธิเพียวริตันเหมาะสมกับชนชั้นกลาง ฉะนั้นลัทธิมาร์กซจึงถือว่ากลุ่มเพียวริตันคือชนชั้นกลาง”

ในคริสต์ทศวรรษ 1970 นักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ที่มารู้จักกันว่าลัทธิการสังคายนาประวัติศาสตร์ (Historical revisionism) ค้านกับทั้งทฤษฎีของวิกและลัทธิมาร์กซ[25] ในปี ค.ศ. 1973 กลุ่มนักประวัติศาสตร์สังคายนาพิมพ์ประชุมบทนิพนธ์ “ที่มาของสงคราการเมืองอังกฤษ” (The Origins of the English Civil War) (คอนราด รัสเซลล์ บรรณาธิการ) นักประวัติศาสตร์เหล่านี้ไม่เห็นด้วยกับทั้งทฤษฎีของวิกและลัทธิมาร์กซที่ว่าสงครามการเมืองอังกฤษเป็นสงครามสังคม-เศรษฐกิจระยะยาวของสังคมอังกฤษ และเห็นว่าเป็นผลงานที่เจาะจงเฉพาะช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีก่อนที่สงครามจะเกิดขึ้น และหันกลับไปพิจารณาข้อเขียนของเอ็ดเวิร์ด ไฮด์ เอิร์ลแห่งแคลเร็นดอนที่ 1 นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของสงครามกลางเมืองในหนังสือ “ประวัติศาสตร์ของการปฏิวัติและสงคราการเมืองในอังกฤษ” (History of the Rebellion and Civil Wars in England) ที่กลุ่มนักประวัติศาสตร์สังคายนาเห็นว่าเป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นถึงความแตกแยกของฝ่ายต่างๆ ที่ไม่ลงตัวตามการวิเคราะห์ของวิกและลัทธิมาร์กซ เช่นกลุ่มเพียวริตันเป็นต้นที่ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นพันธมิตรกับฝ่ายรัฐสภา หรือสมาชิกชนชั้นกลางหลายคนก็ต่อสู้ในฝ่ายนิยมกษัตริย์ ขณะที่ขุนนางเจ้าของที่ดินไปเข้าข้างฝ่ายรัฐสภา ฉะนั้นนักประวัติศาสตร์สังคายนาจึงไม่ถือว่าทฤษฎีของทั้งวิกและลัทธิมาร์กซเกี่ยวกับสงครามกลางเมืองอังกฤษเป็นทฤษฎีที่น่าเชื่อถือ[25]

เจน โอลไมเยอร์ (Jane Ohlmeyer) ละทิ้งคำว่า “สงครามกลางเมืองอังกฤษ” ไปใช้คำว่า “สงครามของสามอาณาจักร” (Wars of the Three) และ “สงครามกลางเมืองบริติช” (British Civil Wars) โดยให้ความเห็นว่าการศึกษาสงครามกลางเมืองในอังกฤษไม่อาจจะเข้าใจได้จากการศึกษาที่มองสงครามนี้โดยการแยกไปจากการเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์อื่นๆ ในส่วนอื่นๆ ของสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ พระเจ้าชาลส์ที่ 1 ทรงมีบทบาทสำคัญที่ไม่ทรงเป็นแต่เพียงพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรอังกฤษ และยังทรงมีความสัมพันธ์กับประชาชนกลุ่มอื่นๆ ในราชอาณาจักรอื่นๆ ของพระองค์ด้วย เช่นเมื่อทรงพยายามบังคับใช้หนังสือสวดมนต์อังกฤษในสกอตแลนด์ซึ่งทำให้เกิดการต่อต้านอย่างรุนแรงจากกลุ่มพันธสัญญา จนต้องทรงหันมาพึ่งกองทัพในการบังคับใช้ และทำให้ทรงต้องเรียกประชุมรัฐสภาแห่งอังกฤษเพื่อเก็บภาษีใหม่สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการรวบรวมกองกำลังในการรณรงค์ แต่รัฐสภาแห่งอังกฤษไม่เต็มใจที่จะทำตามพระราชประสงค์ในการที่พระเจ้าชาลส์จะทรงใช้เงินที่ได้มาในการรณรงค์ต่อสู้กับสกอตแลนด์นอกจากจะทรงยอมรับฟังคำร้องทุกข์จากฝ่ายรัฐสภาก่อน พอมาถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1640 พระเจ้าชาลส์ก็ทรงทำให้บ้านเมืองอยู่ในสภาพที่ปั่นป่วน และไม่ทรงยอมทำตามข้อเรียกร้องของรัฐสภาไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด เพราะถ้าทรงยินยอมให้ฝ่ายหนึ่งก็เท่ากับว่าทรงต้องเป็นศัตรูกับฝ่ายตรงข้าม ซึ่งความยุ่งเหยิงต่างๆ เหล่านี้มิสามารถทำให้การศึกษาสงครามการเมืองอังกฤษเป็นแต่เพียงสงครามที่เกี่ยวข้องกับอังกฤษเท่านั้น

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามแปซิฟิก สงครามเกาหลี สงครามอ่าว สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามครูเสด สงครามกัมพูชา–เวียดนาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: สงครามกลางเมืองอังกฤษ http://www.hcourt.gov.au/speeches/kirbyj/kirbyj_ch... http://users.erols.com/mwhite28/warstat0.htm#EnglC... http://books.google.com/books?id=tVugNXnVrVAC&pg=P... http://books.google.com/books?id=tVugNXnVrVAC&pg=P... http://books.google.com/books?id=tVugNXnVrVAC&pg=P... http://books.google.com/books?id=tVugNXnVrVAC&pg=P... http://www.history.com/topics/british-history/engl... http://www.mainlesson.com/display.php?author=abbot... http://www.mainlesson.com/display.php?author=abbot... http://www.nndb.com/people/435/000107114/