ผลของสงคราม ของ สงครามกลางเมืองอังกฤษ

จอร์จ มองค์ ดยุคแห่งอาลเบอมาร์ลที่ 1พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

สงครามทำให้อังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ทำให้อังกฤษกลายเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในทวีปยุโรปในขณะนั้นที่ไม่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หลังจากการปลงพระชนม์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 รัฐบาลสาธารณรัฐของเครือจักรภพแห่งอังกฤษ ปกครองอังกฤษ (และต่อมาสกอตแลนด์ และไอร์แลนด์) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1649 ถึง ค.ศ. 1653 และจากปี ค.ศ. 1659 ถึง ค.ศ. 1660 ระหว่างสองช่วงระยะเวลานี้รัฐสภาก็แบ่งตัวเป็นฝักเป็นฝ่ายและมีความขัดแย้งกันเองภายใน ในที่สุดโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ก็ขึ้นปกครองรัฐผู้พิทักษ์ในฐานะเจ้าผู้พิทักษ์ (ซึ่งก็เท่ากับเป็นระบอบเผด็จการ) จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1658

หลังจากครอมเวลล์ ถึงแก่อสัญกรรม ริชาร์ดลูกชายก็เข้ารับตำแหน่งเจ้าผู้พิทักษ์ต่อจากบิดาแต่ฝ่ายทหารไม่มีความเชื่อถือในสมรรถภาพของริชาร์ด เจ็ดเดือนหลังจากนั้นฝ่ายทหารก็ปลดริชาร์ด และในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1659 ฝ่ายทหารก็เรียกรัฐสภารัมพ์เข้ามาใหม่ แต่เมื่อเข้ามารัฐสภารัมพ์ก็ทำเหมือนไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1653 และปฏิบัติต่อฝ่ายทหารตามใจชอบ ฝ่ายทหารจึงยุบรัฐสภารัมพ์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1659 โอกาสที่บ้านเมืองจะกลายเป็นอนาธิปไตย ก็เพิ่มมากขึ้นทุกวันเมื่อฝ่ายทหารเองก็สลายตัวเป็นฝักฝ่ายแตกแยกกัน

ภายใต้บรรยากาศของความไม่แน่นอนของบ้านเมือ นายพลจอร์จ มองค์ผู้เป็นข้าหลวงของสกอตแลนด์ภายใต้ครอมเวลล์พร้อมด้วยกองทัพสกอตแลนด์ก็ยกทัพลงมาจากสกอตแลนด์ เพื่อปูทางในการฟื้นฟูราชวงศ์

เมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1660 ตามพระราชประกาศเบรดา (Declaration of Breda), พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงวางเงื่อนไขต่างๆ ในการยอมรับกลับมาเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรอังกฤษ นายพลมองค์ก็เรียก รัฐสภาคอนเว็นท์ชั่นที่เข้าประชุมกันครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1660 ในวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 รัฐสภาคอนเว็นท์ชั่นก็ประกาศว่าพระเจ้าชาลส์ที่ 2 เป็นประมุขของอังกฤษถูกต้องตามกฎหมายตั้งแต่การปลงพระชนม์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1649 พระเจ้าชาลส์เสด็จกลับจากการลี้ภัยที่เบรดาในประเทศเนเธอร์แลนด์เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ประชาชนชาวลอนดอนก็ได้มีโอกาสต้อนรับพระเจ้าชาลส์กลับมาเป็นพระมหากษัตริย์ พระราชพิธีราชาภิเศกเกิดขึ้นที่แอบบีเวสต์มินสเตอร์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1661 เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นที่รู้จักกันว่า “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ

แม้ว่าราชบัลลังก์จะได้รับการฟื้นฟูแต่ก็เป็นราชบัลลังก์ที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา ฉะนั้นสงครามกลางเมืองจึงมีผลในการวางพื้นฐานในการเปลี่ยนรูประบบการปกครองบ้านเมืองในอังกฤษและสกอตแลนด์เป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ระบบการปกครองนี้เป็นรากฐานของการก่อตั้งราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ต่อมาในปี ค.ศ. 1707 ภายใต้พระราชบัญญัติสหภาพ ที่เป็นการป้องกันการปฏิวัติแบบเสียเลือดเสียเนื้อที่มักจะขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตามแบบฉบับของการปฏิวัติในยุโรปหลังจากการปฏิวัติจาโคแบง (Jacobin) ในคริสต์ศตวรรษที่18 ในฝรั่งเศสและต่อมาการปฏิวัติของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ซึ่งมักจะมีผลในการยุบการปกครองพระมหากษัตริย์โดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะเมื่อพระมหากษัตริย์องค์ต่อมากดดันรัฐสภาจนในที่สุดรัฐสภาก็ตัดสินใจเลือกผู้ครองราชย์ใหม่ในปี ค.ศ. 1688 ในการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ และในปี ค.ศ. 1701 พระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ หลังจากการการฟื้นฟูราชวงศ์ฝักฝ่ายของรัฐสภาก็กลายเป็นพรรคการเมือง ที่ต่อมากลายเป็นพรรคทอรี (Tory) and พรรควิก (Whig)) ที่มีปรัชญาการปกครองที่แตกต่างกันในการมีอิทธิพลต่อการตัดสินพระทัยของพระมหากษัตริย์

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามแปซิฟิก สงครามเกาหลี สงครามอ่าว สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามครูเสด สงครามกัมพูชา–เวียดนาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: สงครามกลางเมืองอังกฤษ http://www.hcourt.gov.au/speeches/kirbyj/kirbyj_ch... http://users.erols.com/mwhite28/warstat0.htm#EnglC... http://books.google.com/books?id=tVugNXnVrVAC&pg=P... http://books.google.com/books?id=tVugNXnVrVAC&pg=P... http://books.google.com/books?id=tVugNXnVrVAC&pg=P... http://books.google.com/books?id=tVugNXnVrVAC&pg=P... http://www.history.com/topics/british-history/engl... http://www.mainlesson.com/display.php?author=abbot... http://www.mainlesson.com/display.php?author=abbot... http://www.nndb.com/people/435/000107114/