อาการ ของ โรคจิตชักนำโดยสาร

ดูบทความหลักที่: โรคจิต

โรคจิตมีอาการเป็นความสับสน ประสาทหลอนทางตา และ/หรือประสาทหลอนทางสัมผัส[2]เป็นภาวะที่สมรรถภาพการรับรู้ความเป็นจริง ในการสื่อสาร และในความสัมพันธ์กับผู้อื่นเกิดพิการแล้วรบกวนการดำเนินชีวิต[3]แม้โรคจิตจะมีหลายแบบ แต่แบบที่สารชักนำก็สามารถชี้ไปที่สารใดสารหนึ่งโดยเฉพาะ ๆ

== สาร ==--อาการโรคจิตสามารถเกิดหลังจากใช้สารต่าง ๆ ทั้งที่ถูกและผิดกฎหมายปกติแล้ว ภาวะเช่นนี้จะชั่วคราวและกลับคืนเป็นปกติได้ ยกเว้นที่เกิดจากยาปฏิชีวนะฟลัวโรควิโนโลน (fluoroquinolone มักใช้รักษาการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ)ยาที่ใช้รักษาโรค ที่ใช้อย่างผิด ๆ หรือที่หยุดแล้วมีอาการขาดอันก่ออาการโรคจิตรวมถึงยาดังที่จะกล่าวต่อไป

บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (ICD)

โรคจิตชักนำโดยสาร (substance-induced psychotic disorder) มีรหัสกำหนดโดย ICD-10 ระหว่าง F10.5—F19.5 รวมทั้ง

  • F10.5 แอลกอฮอล์[4][5][6] - แอลกอฮอล์เป็นเหตุสามัญของโรคจิตหรือคราวเกิดอาการโรคจิต (episode) ซึ่งอาจเกิดเพราะเป็นพิษอย่างฉับพลัน ติดแอลกอฮอล์เรื้อรัง ขาดแอลกอฮอล์ ทำโรคอื่นที่มีให้แย่ลง หรือมีปฏิกิริยาไวผิดเพี้ยนที่เกิดโดยฉับพลัน (acute idiosyncratic reaction)[4] งานศึกษาแสดงว่า การติดแอลกอฮอล์เพิ่มความเสี่ยงโรคจิตเป็น 8 เท่าในชายและเป็น 3 เท่าในหญิง[7][8] แม้กรณีโดยมากจะเกิดแบบฉับพลันแล้วหายไปค่อนข้างเร็วเมื่อรักษาหรืองดแอลกอฮอล์ แต่บางครั้งก็กลายเป็นอาการเรื้อรังและคงยืน[4] โรคจิตเหตุแอลกอฮอล์บางครั้งก็วินิจฉัยผิดเป็นความผิดปกติทางจิตอย่างอื่นเช่น โรคจิตเภท[9]
  • F12.5 แคนนาบินอยด์ (cannabinoid) - งานศึกษาบางงานแสดงว่า กัญชาอาจก่ออาการโรคจิตอย่างเต็มตัวได้[10] งานศึกษาบางส่วนก็พบความเสี่ยงโรคจิตที่สูงขึ้นในผู้เสพกัญชา[11]
  • F13.5 ยาระงับประสาท/ยานอนหลับ (บาร์บิเชอเรต[12][13] เบ็นโซไดอาเซพีน[14][15][16]) ในประเด็นนี้ ต้องเข้าใจผลปฏิทรรศน์ (paradoxical effect) ของยาระงับประสาทบางอย่าง[17] คือยาระงับประสาทอาจกลายมีผลตรงกันข้ามกับตามที่ต้องการโดยเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง สถาบันจิตเวช (IoP) แห่งมหาวิทยาลัยคิงส์คอลเล็จลอนดอน (KCL) ประเมินความชุกของปฏิกิริยาที่ไม่เป็นประโยชน์เช่นนี้ที่อัตราร้อยละ 5 แม้เมื่อใช้ยาในระยะสั้น[18] ผลปฏิทรรศน์อาจรวมความซึมเศร้าโดยอาจมีหรือไม่มีความโน้มเอียงในเรื่องการฆ่าตัวตาย โรคกลัว ความดุร้าย พฤติกรรมรุนแรง และอาการต่าง ๆ ที่บางครั้งวินิจฉัยผิดว่าเป็นอาการโรคจิต[19][20] และจริง ๆ อาการโรคจิตสัมพันธ์กับอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน (benzodiazepine withdrawal syndrome) มากกว่ากับยาระงับประสาท[21]
  • F14.5 โคเคน[22]
  • F15.5 สารกระตุ้นอื่น ๆ รวมทั้งแอมเฟตามีน[23] เมแทมเฟตามีน[23] methylphenidate[23] รหัส F15.5 ยังรวมโรคจิตที่กาเฟอีนชักนำด้วย แม้จะไม่ได้ระบุตรง ๆ ใน DSM-IV แต่ก็มีหลักฐานว่าเมื่อได้เป็นจำนวนมากหรือว่าใช้ผิด ๆ อย่างหนักเป็นเวลานาน อาจก่ออาการโรคจิต[24][25]
  • F16.5 สารก่อประสาทหลอน (แอลเอสดีและอื่น ๆ)[ต้องการอ้างอิง]
  • F18.5 ตัวทำละลายระเหยง่าย (ที่สูดเข้าทางจมูก)[26]

ส่วนรหัส F11.5 สำรองไว้สำหรับโรคจิตที่โอปิออยด์ชักนำ และ F17.5 สำหรับยาสูบ แต่ทั้งสองอย่างก็ไม่สัมพันธ์กับการก่อโรคจิตโดยดั้งเดิม

ยารักษา

ยาผิดกฎหมายอื่น ๆ

ยาที่ผิดกฎหมายอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้กล่าวมาก่อนรวมทั้ง

  • methylenedioxymethamphetamine (MDMA) หรือที่เรียกกันว่า ecstasy[57]
  • เฟนไซคลิดีน (PCP)[58]
  • ketamine วิสัญญีแพทย์โดยหลักใช้เพื่อเริ่มวางยานอนหลับและดำรงสภาพการนอนหลับ
  • สารเคมีสังเคราะห์ที่ใช้ในงานวิจัยแต่กลับไปใช้เป็นยาเสพติดรวมทั้ง
    • JWH-018 และแคนนาบินอยด์สังเคราะห์อื่น ๆ หรือสารที่มีมันผสม เช่น "Spice", "Kronic", "MNG" หรือ "Mr. Nice Guy", "Relaxinol"[59][ลิงก์เสีย] สารประกอบ "JWH-XXX" ต่าง ๆ ที่พบใน "Spice" หรือ "Incense" ยังพบด้วยว่า ก่ออาการโรคจิตในบุคคลบางพวก[60][61][62]
    • mephedrone และยาคล้ายแอมเฟตามีนซึ่งสัมพันธ์กันโดยอำพรางขายเป็น "เกลือผสมน้ำอาบในอ่างอาบน้ำ" หรือ "เป็นอาหารพืช"[63]

พืช

พืชเหล่านี้มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทที่อาจก่ออาการโรคจิต

  • ใบระบาด (Argyreia nervosa, Hawaiian baby woodrose) เป็นพืชพื้นเมืองของอินเดียแต่ปัจจุบันได้กระจายไปยังบริเวณต่าง ๆ ทั่วโลก มีสาร ergine หรือเรียกอีกอย่างว่า d-lysergic acid amide (LSA) ซึ่งเชื่อว่า ก่ออาการโรคจิต (แต่ก็ยังไม่ชัดเจน)
  • เมล็ดของพืชประเภท morning glory (เป็นไม้ดอกมีพันธุ์เป็น 1,000 สปีชีส์ในวงศ์ Convolvulaceae) มีสาร ergine (ดูใบระบาดที่รายการบน)
  • ลำโพงม่วง (Datura stramonium, jimsonweed, Datura, angel's trumpet, thorn apple)[64] เชื่อว่ามาจากเม็กซิโกแต่ปัจจุบันพบอยู่ในที่หลายที่ในโลก มีสาร atropine, hyoscyamine (เป็นสาร anticholinergic ประเภทหนึ่ง) และ scopolamine
  • Atropa belladonna (belladonna, deadly nightshade) พบในยุโรป แอฟริกาเหนือ และเอเชียตะวันตก มีสาร atropine, hyoscine/scopolamine และ hyoscyamine
  • Salvia divinorum[65] พบในเขตห่างไกลของรัฐวาฮากา เม็กซิโก มี Salvinorin A อันเป็นสารก่อประสาทหลอนและเป็นสารปฏิปักษ์ต่อหน่วยรับ κ-opioid และ D2

สารที่ไม่ใช่ยา

สารที่ปกติไม่ใช่ยาอาจก่ออาการโรคจิตรวมทั้ง

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคจิตชักนำโดยสาร http://www.airforcetimes.com/news/2011/06/air-forc... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=292.... http://www.minddisorders.com/Py-Z/Substance-induce... http://www.primarypsychiatry.com/aspx/articledetai... http://www.psychiatrist.com/jcp/article/Pages/2016... http://www.theannals.com/cgi/pmidlookup?view=long&... http://medical-dictionary.thefreedictionary.com/to... //citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/summary?doi=10.1.1... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1401636 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2802388