การพยากรณ์โรค ของ โรคอัลไซเมอร์

การสูญเสียปีสุขภาวะสำหรับอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมอื่นต่อผู้อยู่อาศัย 100,000 คนในปี 2547
  ไม่มีข้อมูล
  ≤ 50
  50–70
  70–90
  90–110
  110–130
  130–150
  150–170
  170–190
  190–210
  210–230
  230–250
  ≥ 250

การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ในระยะแรกทำได้ยาก การวินิจฉัยแน่นอนมักต้องปรากฏความบกพร่องในการรู้ที่เป็นอันตรายต่อกิจวัตรประจำวันแม้ว่าผู้ป่วยจะยังสามารถอยู่โดยไม่พึ่งพาผู้อื่นได้ โรคจะดำเนินต่อไปจากปัญหาการรู้เล็กน้อยเช่นความจำเสื่อม ไปเป็นระยะที่รบกวนการรู้และอื่น ๆ จนไม่อาจดำรงชีวิตอยู่ด้วยตัวเองได้ โดยเฉพาะในระยะท้ายของโรค[35]

ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มีการคาดหมายคงชีพน้อยกว่าประชากรปกติ[223] อายุคาดหมายคงชีพหลังวินิจฉัยตรงแบบมีพิสัยระหว่าง 3 ถึง 10 ปี[223] ผู้ป่วยน้อยกว่า 3% ดำรงชีวิตอยู่เกิน 14 ปีหลังได้รับการวินิจฉัย[224] ลักษณะที่สำคัญของโรคนี้อันสัมพันธ์กับอัตรารอดชีพที่ลดลง คือ การเพิ่มความรุนแรงของความบกพร่องทางการรู้, การลดระดับการทำหน้าที่, ประวัติการล้ม, และการรบกวนการทดสอบทางประสาทวิทยา โรคอื่น ๆ ที่อาจเกิดร่วม เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน หรือประวัติการติดสุราก็เกี่ยวข้องกับการรอดชีพที่ลดลง[225][226] แม้ว่าผู้ป่วยยิ่งเกิดโรคอัลไซเมอร์เร็วเท่าใดก็ยิ่งมีปีรอดชีพรวมนานขึ้น แต่การคาดหมายคงชีพจะลดลงเป็นพิเศษเมื่อเทียบกับประชากรสุขภาพดีในกลุ่มที่มีอายุน้อย[227] ชายมีแนวโน้มพยากรณ์รอดชีพน้อยกว่าหญิง[224][228]

ปอดบวมและภาวะขาดน้ำเป็นสาเหตุสุดท้ายของการตายที่พบบ่อยที่สุด ส่วนมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบน้อยกว่าประชากรทั่วไป[228]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคอัลไซเมอร์ http://www.sbgg.org.br/profissional/artigos/pdf/de... http://www.scielo.br/scielo.php?script=sci_arttext... http://www.abstractsonline.com/viewer/viewAbstract... http://adisonline.com/drugs/Abstract/2010/70050/In... http://works.bepress.com/cgi/viewcontent.cgi?artic... http://www.dfgdocs.com/Directory/Titles/700.aspx http://www.diagnosticimaging.com/news/display/arti... http://www.diseasesdatabase.com/ddb490.htm http://www.emedicine.com/neuro/topic13.htm http://www.frx.com/pi/namenda_pi.pdf