วิทยาการระบาด ของ โรคอัลไซเมอร์

อัตราเกิดโรคหลังอายุ 65 ปี[229]
อายุผู้ป่วยใหม่ต่อ
พันคน–ปี
65–69 3
70–74 6
75–79 9
80–8423
85–8940
90–  69

การศึกษาทางวิทยาการระบาดอาศัยการวัดหลัก 2 ชนิด คือ อุบัติการณ์และความชุกของโรค อุบัติการณ์คือจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ต่อหน่วยคน–เวลาที่เสี่ยงรับโรค (มักใช้จำนวนผู้ป่วยใหม่ต่อพันคน–ปี) ในขณะที่ความชุกของโรคคือจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดที่เป็นโรคในประชากรทั้งหมดในเวลาหนึ่ง

เมื่อพิจารณาอุบัติการณ์ การศึกษาตามแผน (cohort study) ติดตามประชากรที่ยังไม่มีโรคอัลไซเมอร์ในระยะเวลาหลายปี พบว่ามีอัตราเกิดภาวะสมองเสื่อมระหว่าง 10–15 ต่อพันคน–ปี และอัตราเป็นโรคอัลไซเมอร์ 5–8 ต่อพันคน–ปี[229][230] ซึ่งหมายความว่าในจำนวนผู้ป่วยสมองเสื่อมใหม่ในแต่ละปีมีครึ่งหนึ่งเป็นโรคอัลไซเมอร์ การมีอายุมากขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของโรคนี้ และอัตราอุบัติการณ์โรคในแต่ละช่วงวัยก็ไม่เท่ากันกล่าวคือหลังจากอายุ 65 ปีขึ้นไป ทุกๆ 5 ปีหลังจากนั้นความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอัลไซเมอร์จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า คือเพิ่มตั้งแต่ 3 จนถึง 69 ต่อพันคน–ปี[229][230] นอกจากนี้อัตราอุบัติการณ์ยังแตกต่างกันระหว่างเพศ เพศหญิงจะมีความเสี่ยงมากกว่าที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประชากรที่มีอายุมากกว่า 85 ปี[230][231] ในสหรัฐ ความเสี่ยงการเสียชีวิตจากโรคอัลไซเมอร์ในประชากรขาวที่มิใช่ฮิสแปนิกสูงกว่าประชากรดำที่มิใช่ฮิสแปนิก 26% ขณะที่ประชากรฮิสแปนิกมีความเสี่ยงต่ำกว่าประชากรขาวที่มิใช่ฮิสแปนิก 30%[232]

ความชุกของโรคอัลไซเมอร์ในประชากรขึ้นกับปัจจัยต่าง ๆ เช่น อุบัติการณ์และอัตรารอด เนื่องจากอุบัติการณ์ของโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นตามอายุ การวิเคราะห์จึงจำเป็นต้องอาศัยอายุเฉลี่ยของประชากรที่สนใจด้วย มีการประมาณความชุกของโรคอัลไซเมอร์ในสหรัฐที่ประมาณ 1.6% ในปี 2543 ทั้งในประชากรทั้งหมดและในกลุ่มอายุ 65–74 ปี และมีอัตราเพิ่มขึ้นเป็น 19% ในกลุ่มอายุ 75–84 ปี และ 42% ในกลุ่มอายุมากกว่า 84 ปี[233] อัตราความชุกในประเทศกำลังพัฒนาน้อยกว่าในประเทศพัฒนาแล้ว[234] องค์การอนามัยโลกประมาณว่าในปี 2548 ประชากรทั่วโลก 0.379% มีภาวะสมองเสื่อม และอุบัติการณ์จะเพิ่มขึ้นเป็น 0.441% ในปี 2558 และเป็น 0.556% ในปี 2573[235] การศึกษาอื่นๆ ก็ให้ข้อสรุปที่ใกล้เคียงกัน[234] การสึกษาอื่นให้ข้อสรุปคล้ายกัน ในการศึกษาครั้งหนึ่งประมาณว่าในปี 2549 ประชากรโลก 0.40% (พิสัย 0.17–0.89%; จำนวนสัมบูรณ์ 26.6 ล้านคน; พิสัย 11.4–59.4 ล้านคน) ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ และอัตราความชุกจะเพิ่มเป็น 3 เท่า และจำนวนสัมบูรณ์จะเพิ่มเป็น 4 เท่าในปี 2593[236]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคอัลไซเมอร์ http://www.sbgg.org.br/profissional/artigos/pdf/de... http://www.scielo.br/scielo.php?script=sci_arttext... http://www.abstractsonline.com/viewer/viewAbstract... http://adisonline.com/drugs/Abstract/2010/70050/In... http://works.bepress.com/cgi/viewcontent.cgi?artic... http://www.dfgdocs.com/Directory/Titles/700.aspx http://www.diagnosticimaging.com/news/display/arti... http://www.diseasesdatabase.com/ddb490.htm http://www.emedicine.com/neuro/topic13.htm http://www.frx.com/pi/namenda_pi.pdf