ทิศทางการวิจัย ของ โรคอัลไซเมอร์

ยา

ในรอบทศวรรษปี 2545–2555 มีการประเมินสารประกอบ 244 ชนิดในการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1, 2 และ 3 และมีสารประกอบชนิดเดียว (เมแมนทีน) ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐ[264] โซเลนซูแมบ (solanezumab) และอะดูคานูแมบ (aducanumab) ไม่แสดงว่ามีประสิทธิภาพในผู้ที่มีอาการของโรคอัลไซเมอร์แล้ว[265]

พื้นที่การวิจัยหนึ่งมุ่งเน้นการรักษาพยาธิภาพโรคพื้นเดิม การลดระดับบีตาแอมีลอยด์เป็นเป้าหมายทั่วไปของสารประกอบที่กำลังอยู่ระหว่างการสืบสวน (เช่น อะโปมอร์ฟีน)[266] การบำบัดด้วยภูมิคุ้มกันหรือการให้วัคซีนสำหรับโปรตีนแอมีลอยด์เป็นวิธีการรักษาหนึ่งที่อยู่ระหว่างการศึกษา[267] จะใช้การบำบัดแบบสันนิษฐาน (putative therapy) เพื่อรักษาผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยแล้ว ซึ่งต่างจากการให้วัคซีนเพื่อป้องกัน ทั้งนี้ ตั้งอยู่บนมโนทัศน์ของการฝึกระบบภูมิคุ้มกันให้รับรู้ โจมตีและย้อนกลับซึ่งการสะสมแอมีอยด์เพื่อเปลี่ยนแปลงการดำเนินโรค[268] ตัวอย่างของวัคซีนป้องกันที่กำลังอยู่ระหว่างการสืบสวนได้แก่ ACC-001[269][270] แม้มีการระงับการทดลองในปี 2551[271] สารที่คล้ายกันอีกสารหนึ่ง ได้แก่ บาพินิวซูแมบ (bapineuzumab) ซึ่งเป็นแอนติบอดีที่ได้รับการออกแบบมาให้เหมือนกับแอนติบอดีต่อแอมีลอยด์ที่เหนี่ยวนำตามธรรมชาติ[272] อย่างไรก็ดี พบว่าสารภูมิคุ้มกันบำบัดก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่น่ากังวลบางอย่าง เช่น ความผิดปกติของการสร้างภาพที่เกี่ยวข้องกับแอมีลอยด์ (amyloid-related imaging abnormalities)[273] แนวทางการพัฒนายาอย่างอื่นคือสารที่ช่วยป้องกันระบบประสาท เช่น AL-108[274] และสารการลดอันตรกิริยาโลหะกับโปรตีน (metal-protein interaction attenuation agent) เช่น PBT2[275] ด้านโปรตีนรวมตัวที่ขัดขวางตัวรับทีเอ็นเอฟแอลฟา (TNFα receptor-blocking fusion protein) อีแทเนอร์เซปต์ (etanercept) ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ให้ความเชื่อมั่น[276]

ในปี 2551 มีการทดลองทางคลินิกแยกกันสองการทดลองแสดงผลลัพธ์เชิงบวกในการเปลี่ยนการดำเนินโรคใน AD ขั้นเบาและปานกางด้วยเมทิลไทโอนิเนียมคลอไรด์ ซึ่งเป็นยายับยั้งการสะสมโปรตีนเทา[277][278] และไดมีบอน สารต้านฮิสตามีน[279] แต่การทดลองระยะที่ 3 ของไดมีบอนไม่มีผลเชิงบวกในจุดสิ้นสุดปฐมภูมิและทุติยภูมิ[280][281][282] งานวิจัยเมทิลไทโอนิเนียมคลอไรด์แสดงว่าชีวปริมาณออกฤทธิ์ของเมทิลไทโอนิเนียมจากทางเดินอาหารได้รับผลกระทบจากการได้รับอาหารและความเป็นกรดของกระเพาะอาหาร ทำให้ขนาดยาแปรปรวนอย่างไม่คาดคิด[283] สูตรที่มีการปรับให้เสถียรแล้วตัวใหม่ เช่น โปรดรัก LMTX อยู่ในการทดลองระยะที่ 3 (ในปี 2557)[284]

การป้องกันเชิงพฤติกรรม

การวิจัยเรื่องผลของการทำสมาธิต่อการสงวนความจำและการทำหน้าที่เชิงการรู้ยังอยู่ในขั้นแรกเริ่ม[285] บทปฏิทัศน์ในปี 2558 เสนอว่าการรักษาที่เน้นสติอาจป้องกันหรือชะลอการเกิดความบกพร่องทางการรู้เล็กน้อยและโรคอัลไซเมอร์ได้[286]

การติดเชื้อและการส่งผ่าน

พบว่าไวรัสเริม HSV-1 อยู่ในบริเวณเดียวกับแอมีลอยด์พลาก[287] ซึ่งมีการเสนอว่ามีความเป็นไปได้ที่สามารถรักษาหรือป้องกัน AD ด้วยยาต้านไวรัส[287][288] การศึกษายาต้านไวรัสในการเพาะเซลล์ให้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ[289]

มีการอธิบายการติดเชื้อราของสมองผู้ป่วย AD[290] มีการเสนอสมมติฐานโดยนักจุลชีววิทยา แอล. คาร์ราสโค เมื่อกลุ่มของเขาพบสหสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างการติดเชื้อราทั่วร่างกับ AD[291] งานวิจัยเพิ่มเติมเปิดเผยว่ามีการติดเชื้อราในบริเวณต่าง ๆ ของสมองผู้ป่วย AD แต่ไม่พบในปัจเจกควบคุม[292][293] การติดเชื้อราอธิบายอาการที่สังเกตได้ในผู้ป่วย AD การดำเนินโรคอย่างช้าของ AD สมกับสภาพเรื้อรังของการติดเชื้อราทั่วกายบางชนิด ซึ่งอาจไม่มีอาการ ฉะนั้นจึงไม่ผิดสังเกตและไม่ได้รับการรักษา[292] สมมติฐานเชื้อรายังเข้าได้กับสมมติฐาน AD อื่นที่มีอยู่แล้วอื่น เช่น สมมติฐานแอมีลอยด์ ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าเป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง[294][295][296] ดังที่ อาร์. มัวร์และ อาร์. แทนซีในแบบจำลอง AD ของหนูและหนอน

นอกจากนี้ กำลังมีการศึกษาการส่งผ่านระหว่างบุคคลที่เป็นไปได้ในผู้ป่วยหายาก[297] เช่น ในผู้ป่วยโกรทฮอร์โมน[298]

การสร้างภาพ

ในบรรดาเทคนิคการสร้างภาพทางการแพทย์ เครื่องถ่ายภาพรังสีชนิดแกมมาหลายระนาบ (single photon emission computed tomography) ดูเหมือนดีที่สุดในการแยกโรคอัลไซเมอร์จากภาวะสมองเสื่อมชนิดอื่น และมีการแสดงว่าระดับความแม่นยำสูงกว่าเมื่อเทียบกับการทดสอบทางจิตวิทยาและการวิเคราะห์ประวัติทางการแพทย์[299] ความก้าวหน้าดังกล่าวนำให้มีการเสนอให้เป็นเกณฑ์การวินิจฉัยใหม่[23][132]

การถ่ายภาพรังสีระนาบด้วยการปล่อยโพซิตรอน (เพท) ด้วยพิตต์สเบิร์กคอมพาวน์บี (PiB) ยังใช้สืบสวนโรคได้อยู่ แต่เภสัชรังสีเพทสแกนคล้ายกัน ชื่อ ฟอร์เบตาพีร์ (florbetapir) ซึ่งมีฟลูออรีน-18 นิวไคลด์กัมมันตรังสีที่อยู่ได้นานกว่า เป็นเครื่องมือวินิจฉัยในโรคอัลไซเมอร์[300][301]

การสร้างภาพแอมีลอยด์น่าจะใช้ร่วมกับมาร์กเกอร์อื่นมากกว่าใช้เป็นทางเลือกเดี่ยว ๆ[302] เอ็มอาร์ไอเชิงปริมาตรสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงขนาดบริเวณต่าง ๆ ของสมองได้ การวัดบริเวณเห่านี้ว่าการฝ่อระหว่างการดำเนินโรคอัลไซเมอร์มีการแสดงผลลัพธ์ที่มีหวังว่าจะเป็นตัวบ่งชี้เพื่อวินิจฉัยในอนาคต และอาจมีราคาถูกกว่าวิธีสร้างภาพแบบอื่นที่กำลังศึกษาอยู่ในปัจจุบัน[303]

ในปี 2554 คณะกรรมการองค์การอาหารและยาสหรัฐออกเสียงเป็นเอกฉันท์แนะนำการอนุมัติฟอร์เบตาพีร์[304] สารที่ใช้สร้างภาพดังกล่าวสามารถช่วยตรวจจับพลากสมองของโรคอัไซเมอร์ได้[305] ผลสแกนเป็นลบบ่งชี้ว่ามีพลากกระจัดกระจายหรือไม่มีพลาก ซึ่งไม่สอดคล้องกับการวินิจฉัย AD[306]

การวินิจฉัย

มีการเน้นการวิจัยโรคอัลไซเมอร์ในด้านการวินิจฉัยโรคดังกล่าวก่อนเริ่มปรากฏอาการ[307] มีการพัฒนาการทดสอบทางชีวเคมีหลายอย่างเพื่อให้ตรวจพบได้เร็วยิ่งขึ้น การทดสอบดังกล่าวบางอย่างเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์น้ำหล่อสมองไขสันหลังเพื่อหาบีตาแอมีลอยด์ ความเข้มข้นของโปรตีนเทารวม และโปรตีนเทา181พีที่เติมหมู่ฟอสเฟต[308] การเจาะน้ำหล่อสมองไขสันหลังทำให้เจ็บปวดจึงควรเลี่ยงการเจาะซ้ำ ๆ การตรวจเลือดเพื่อหาไมโครอาร์เอ็นเอในระบบไหลเวียนและไบโอมาร์กเกอร์การอักเสบเป็นตัวบ่งชี้ทางเลือกที่อาจเป็นไปได้[308]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคอัลไซเมอร์ http://www.sbgg.org.br/profissional/artigos/pdf/de... http://www.scielo.br/scielo.php?script=sci_arttext... http://www.abstractsonline.com/viewer/viewAbstract... http://adisonline.com/drugs/Abstract/2010/70050/In... http://works.bepress.com/cgi/viewcontent.cgi?artic... http://www.dfgdocs.com/Directory/Titles/700.aspx http://www.diagnosticimaging.com/news/display/arti... http://www.diseasesdatabase.com/ddb490.htm http://www.emedicine.com/neuro/topic13.htm http://www.frx.com/pi/namenda_pi.pdf