ประวัติศาสตร์ ของ โรคอัลไซเมอร์

ออกุสต์ เด. (Auguste D) ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์รายแรกที่ได้รับการวินิจฉัยโดยอาลอยซ์ อัลซไฮเมอร์ เมื่อปี 2444

นักปรัชญาและแพทย์ในยุคกรีกโบราณและโรมันเชื่อมโยงวัยสูงอายุกับภาวะสมองเสื่อมที่เพิ่มขึ้น[237] แต่ย่างเข้าปี 2444 กว่าที่จิตแพทย์ชาวเยอรมันชื่อ อาลอยซ์ อัลซไฮเมอร์ (Alois Alzheimer) สามารถระบุผู้ป่วยคนแรกด้วยโรคที่ต่อมาได้ชื่อว่า โรคอัลไซเมอร์ ในผู้ป่วยหญิงอายุ 55 ปีชื่อ ออกุสต์ เด. เขาติดตามผู้ป่วยรายนี้จนเสียชีวิตในปี 2449 และได้รายงานต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกในปีนั้น[238] จากนั้นเป็นเวลา 5 ปี มีรายงานผู้ป่วยที่มีอาการเดียวกัน 11 รายในเอกสารทางการแพทย์ รายงานบางส่วนเริ่มใช้คำว่า "โรคอัลไซเมอร์" แล้ว[237] เอมิล เครเพลิน (Emil Kraepelin) อธิบายโรคนี้เป็นโรคใหม่เป็นครั้งแรกหลังระงับลักษณะทางคลินิก (หลงผิดและประสาทหลอน) และลักษณะทางพยาธิวิทยา (พลากหลอดเลือดแดงแข็ง) ที่อยู่ในรายงานต้นฉบับของออกุสต์ เด. เขาใส่ โรคอัลไซเมอร์ หรือที่เครเพลินเรียกว่า ภาวะสมองเสื่อมก่อนวัยชรา (presenile dementia) เข้าเป็นชนิดย่อยของ ภาวะสมองเสื่อมในวัยชรา ใน ตำราจิตเวชศาสตร์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 8 ซึ่งตีพิมพ์ปี 2453[239]

สำหรับช่วงเวลาส่วนใหญ่ของคริสต์ศตวรรษที่ 20 การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์สงวนไว้สำหรับปัจเจกอายุระหว่าง 45 ถึง 65 ปีซึ่งมีอาการภาวะสมองเสื่อม ศัพทวิทยาเปลี่ยนหลังปี 2520 เมื่อการประชุมเรื่อง AD สรุปว่าการแสดงออกทางคลินิกและพยาธิวิทยาของภาวะสมองเสื่อมก่อนวัยชราและวัยชราแทบไม่ต่างกัน[240] แม้ผู้ประพันธ์เสริมว่าทั้งนี้ยังมีความเป็นไปได้ว่าอาจมีสาเหตุอย่างอื่น สุดท้ายทำให้การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ไม่ขึ้นกับอายุ[241] มีการใช้คำว่า ภาวะสมองเสื่อมวัยชราชนิดอัลไซเมอร์ (SDAT) อยู่ช่วงหนึ่งเพื่ออธิบายโรคอัลไซเมอร์ในบุคคลอายุเกิน 65 ปี และคำว่า "โรคอัลไซเมอร์คลาสสิก" ใช้อธิบายบุคคลที่อายุน้อยกว่า 65 ปี สุดท้าย มีการเห็นชอบอย่าเป็นทาการให้ใช้โรคอัลไซเมอร์ในการตั้งชื่อทางการแพทย์เพื่ออธิบายบุคคลอายุเท่าใดก็ได้ที่มีรูปแบบอาการทั่วไป การดำเนินโรคและประสาทพยาธิวิทยาอันเป็นลักษณะของโรคอัลไซเมอร์[242]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคอัลไซเมอร์ http://www.sbgg.org.br/profissional/artigos/pdf/de... http://www.scielo.br/scielo.php?script=sci_arttext... http://www.abstractsonline.com/viewer/viewAbstract... http://adisonline.com/drugs/Abstract/2010/70050/In... http://works.bepress.com/cgi/viewcontent.cgi?artic... http://www.dfgdocs.com/Directory/Titles/700.aspx http://www.diagnosticimaging.com/news/display/arti... http://www.diseasesdatabase.com/ddb490.htm http://www.emedicine.com/neuro/topic13.htm http://www.frx.com/pi/namenda_pi.pdf