เศรษฐกิจ ของ ข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม

คุณค่าทางเศรษฐกิจของอาหารแปรพันธุกรรมเป็นประโยชน์สำคัญอย่างหนึ่งของพืช รวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาด้วย[337][338][339]งานศึกษาในปี 2553 พบว่า ข้าวโพด Bt ให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่า 6,900 ล้านเหรียญสหรัฐระหว่างปี 2538-2552 ในมลรัฐ 5 รัฐในสหรัฐแต่ว่า ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ที่ได้ (ประเมินที่ 4,300 ล้านเหรียญ) กลับเกิดกับเกษตรกรที่ไม่ได้ใช้ข้าวโพด Btเพราะว่า ประชากรหนอนเจาะข้าวโพดยุโรปลดลง เนื่องจากประสบกับข้าวโพด Bt ทำให้มีหนอนน้อยลงที่จะทำลายข้าวโพดธรรมดาที่อยู่ใกล้ ๆ กัน[340][341]นักเศรษฐศาสตร์เกษตรคำนวณว่า "กำไรทั่วโลกเพิ่มขึ้น 240.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 6,091 ล้านบาท) ในปี 2539 จากกำไรทั้งหมดนี้ เกษตรกรชาวอเมริกันได้แชร์ใหญ่ที่สุด (59%) บริษัทขายเมล็ดพันธุ์มอนแซนโตได้แชร์ใหญ่รองต่อมา (21%) ตามมาด้วยผู้บริโภคชาวอเมริกัน (9%) ตามมาด้วยกลุ่มต่าง ๆ ในโลกที่เหลือ (6%) และบริษัทขายเชื้อพันธุ์ Delta and Pine Land (5%)"[342]งานศึกษาที่กว้างขวางในปี 2555 ของบริษัทให้คำปรึกษา PG Economics สรุปว่า พืชผลแปรพันธุกรรมเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรทั่วโลก 14,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 441,000 ล้านบาท) ในปี 2553 โดยครึ่งหนึ่งเป็นเกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นผู้ได้[343]

ส่วนผู้ไม่เห็นด้วยคัดค้านเรื่องผลประโยชน์ที่เกษตรกรได้ เนื่องจากความแพร่หลายของผู้สังเกตการณ์ที่มีอคติ และการไม่มีการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมพืชผล Bt หลักที่ปลูกโดยเกษตรกรรายย่อยในประเทศกำลังพัฒนาก็คือฝ้ายงานปฏิทัศน์ในปี 2549 ของฝ้าย Bt ทำโดยนักเศรษฐศาสตร์เกษตรสรุปว่า "แม้ว่าจะดูสดใส บัญชีงบดุลโดยทั่วไปแล้วปน ๆ กันไป รายได้แตกต่างกันมากโดยปี โดยประเภทไร่นา และโดยภูมิภาค"[344]แต่ว่า อดีตผู้ปฏิบัติการณ์หัวรุนแรงที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งคือมารค์ ไลนาส ได้กล่าวว่า การปฏิเสธพันธุวิศวกรรมโดยสิ้นเชิง "เป็นเรื่องไม่มีเหตุผล และอาจจะมีผลลบต่อประโยชน์ของคนที่ยากจนกว่าและต่อสิ่งแวดล้อม"[345]

ในปี 2556 คณะกรรมการให้คำปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ของบัณฑิตยสถานยุโรป (European Academies Science Advisory Council ตัวย่อ EASAC) เรียกร้องให้สหภาพยุโรป (EU) อนุญาตการพัฒนาเทคโนโลยีแปรพันธุกรรมสำหรับเกษตรกรรม เพื่อเพิ่มความสามารถการทำเกษตรกรรมยั่งยืน และเพื่อใช้พื้นที่เพาะปลูก ทรัพยากรน้ำและสารอาหารอื่น ๆ ที่น้อยกว่านอกจากนั้นแล้ว EASAC ยังวิจารณ์ "ระบบควบคุมที่เปลืองเวลามากและมีค่าใช้จ่ายสูง" ของ EU แล้วกล่าวว่า EU ล้าหลังในการใช้เทคโนโลยีแปรพันธุกรรม[346]

เกษตรระดับอุตสาหกรรม

พืชผลแปรพันธุกรรมเป็นหลักสำคัญในเกษตรกรรมระดับอุตสาหกรรม (intensive crop farming) ซึ่งอาจใช้ระบบเกษตรกรรมพืชเดี่ยว ใช้ยาฆ่าวัชพืชและยาฆ่าศัตรูพืช ใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้พลังงานจำนวนมหาศาลและต้องพึ่งระบบชลประทานมีผู้ต่อต้านสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมบางท่าน ที่ปฏิบัติต่อเกษตรกรรรมระดับอุตสาหกรรมและพืชดัดแปรพันธุกรรม โดยเป็นประเด็นใกล้เคียงกัน และเรียกร้องให้มีข้อปฏิบัติทางเกษตรกรรมที่ลดประเด็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม[347][348][349][350][351]

ส่วนผู้สนับสนุนชี้ว่า พืชดัดแปรพันธุกรรมให้ผลผลิตสูง มีราคาต่ำ ให้ทางเลือกมากกว่า และอ้างว่า เทคโนโลยีนี้จำเป็นต่อการเลี้ยงประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ[352][353][354][355]

ประเทศกำลังพัฒนา

มีความเห็นแย้งกันเกี่ยวกับประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งข้ออ้างว่า จำเป็นต้องเพิ่มเสบียงอาหาร[356][357][358]และวิธีดำเนินการเพื่อให้ถึงเป้าหมายนั้น

ยังมีนักวิมตินิยมที่อ้างว่า การขาดแคลนอาหารดังที่ปรากฏ มีเหตุจากการแจกจ่ายอาหารและการเมือง ไม่ใช่เพราะการผลิต[359][360][361]:73

นักวิทยาศาสตร์บางพวกเสนอว่า ปฏิวัติสีเขียว (การปฏิวัติการผลิตพืชผลทำให้ได้ผลมากขึ้นอย่างมหาศาล) ครั้งที่สอง ซึ่งรวมการใช้พืชดัดแปรพันธุกรรม เป็นเรื่องจำเป็นเพื่อที่จะผลิตอาหารได้เพียงพอ[362][363]:12โอกาสที่อาหารดัดแปรพันธุกรรมจะช่วยประเทศกำลังพัฒนา เป็นเรื่องที่องค์กรของธนาคารโลกคือ International Assessment of Agricultural Science and Technology for Development (IAASTD) รับรู้ แต่ว่า โดยปี 2551 IAASTD ก็ยังไม่พบหลักฐานที่ชัดเจนว่าการแก้ปัญหาควรจะเป็นอย่างไร[364]

นักวิจารณ์พวกอื่นกล่าวว่า โลกมีคนมากมายอย่างนี้ก็เพราะว่าการปฏิวัติสีเขียวครั้งที่สองเริ่มใช้ข้อปฏิบัติทางเกษตรกรรมที่ไม่ยั่งยืน มีผลให้เกิดคนมากกว่าที่โลกจะสามารถรับรองได้[365]มีนักวิจารณ์อื่นอีกที่กล่าวว่า แม้ว่า การใช้เทคโนโลยีแปรพันธุกรรมจะสามารถเลี้ยงประชากรโลกปัจจุบันได้ แต่เพราะว่าเป็นระบบที่ต้องใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ ในที่สุดราคาเชื้อเพลิงและอาหารก็จะเพิ่มสูงขึ้นในระดับหายนะ[366]

ข้อจำกัดในการใช้ในประเทศกำลังพัฒนาที่อ้างรวมทั้งการเข้าถึงได้ยาก อุปกรณ์มีราคาแพง และสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาที่มีผลลบต่อประเทศกำลังพัฒนาอุปสรรคอื่น ๆ รวมทั้งการเข้าถึงสิทธิบัตร สัญญาการใช้เพื่อการค้า และปัญหาอื่น ๆ ที่ประเทศกำลังพัฒนามี ในการเข้าถึงทรัพยากรเกี่ยวกับพันธุกรรมและทรัพย์สินทางปัญญาอื่น ๆสนธิสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับทรัพยากรพันธุกรรมของพืชสำหรับอาหารและการเกษตร (International Treaty on Plant Genetic Resources for Food and Agriculture) พยายามที่จะแก้ปัญหานี้ แต่ผลที่ได้ยังไม่สม่ำเสมอดังนั้น "พืชผลกำพร้า" อย่างเช่น หญ้าสปีชีส์ Eragrostis tef ข้าวฟ่าง ถั่วฝักยาว และพืชเฉพาะพื้นที่อื่น ๆ ที่มีความสำคัญในประเทศกำลังพัฒนา ก็ยังได้รับความสนใจน้อย[367]

ในหนังสือปี 2543 การหยุดความโหยหิวในโลก: ความหวังในเทคโนโลยีชีวภาพและภัยจากความบ้าคลั่งต่อต้านวิทยาศาสตร์[368]ของผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ผู้มีชื่อว่าเป็นบิดาของปฏิวัติสีเขียวคือ ดร.นอร์แมน บอร์ล็อก มีเนื้อความที่นักวิชาการหลายท่านยังยอมรับว่าเป็นจริงแม้ในปี 2553[369]มีการกล่าวถึงหนังสือของ ดร.บอร์ล็อก ว่า

ดร. บอร์ล็อกเห็นว่า พืชผลดัดแปรพันธุกรรมเป็นธรรมชาติและปลอดภัยเท่า ๆ กับข้าวสาลีที่ใช้ทำขนมปังทุกวันนี้ และเขาก็ยังเตือนสตินักวิทยาศาสตร์เกษตรว่า พวกเขามีหน้าที่ทางจริยธรรมที่จะยืนหยัดต่อต้านพวกที่คัดค้านวิทยาศาสตร์ และที่จะเตือนผู้มีอำนาจออกนโยบายว่า ความไม่มั่นคงเกี่ยวกับอาหารในระดับโลกจะไม่สามารถแก้ได้โดยไม่มีเทคโนโลยีใหม่นี้ และการไม่สนใจความจริงที่ว่านี้ จะทำให้การแก้ปัญหาในอนาคตยากที่จะสำเร็จผลได้

ผลผลิต

ผลผลิตข้าวโพดในสหรัฐไม่เพิ่มขึ้นจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1930 เมื่อการใช้พืชพันธุ์ลูกผสมแบบธรรมดาเริ่มเพิ่มผลผลิตขึ้นประมาณ .8 bushel/เอเคอร์/ปี ระหว่าง ค.ศ. 1937-1955ต่อจากนักนั้น วิธีการปลูกรวมทั้งพันธุ์ที่ดีขึ้น ปุ๋ย ยาฆ่าศัตรูพืช การใช้เครื่องกล เพิ่มอัตราการเพิ่มผลิตเป็น 1.9 bushel/เอเคอร์/ปีและในปีหลังจากการผลิตข้าวโพดดัดแปรพันธุกรรม อัตราการเพิ่มเพิ่มขึ้นเป็น 2.0 bushel/เอเคอร์/ปี[370]ในสหรัฐอเมริกา ผลผลิตเฉลี่ยข้องข้าวโพดอยู่ที่ 174.2 bushel/เอเคอร์ ในปี 2557[371]

พืชผลดัดแปรพันธุกรรมที่วางตลาดแล้วมีลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ที่ลดความเสียหายจากแมลงและวัชพืช[372][373]ทั้งพืชผลและสัตว์ที่กำลังได้รับการพัฒนา ล้วนแต่มีการแสดงออกของยีนที่เพิ่มผลผลิต[374]ผลิตภัณฑ์ที่ใกล้จะวางตลาดก็คือ ปลาแซลมอนแปรพันธุกรรม ที่ผลิตฮอร์โมนการเติบโตได้เองมีผลเป็นการโตเร็วได้ 2 เท่า[375]

งานปฏิทัศน์ปี 2557

งานปฏิทัศน์ปี 2557 ที่ใหญ่ที่สุดที่เคยมีมาสรุปว่า พืชผลดัดแปรพันธุกรรมมีผลบวกต่อเกษตรกรรม[314]เป็นงานวิเคราะห์อภิมานที่พิจารณางานวิจัยภาษาอังกฤษทั้งหมดที่เคยตีพิมพ์ เกี่ยวกับผลทางเกษตรและทางเศรษฐกิจของพืช ระหว่างปี 2538 จนถึงเดือนมีนาคม 2557งานศึกษาพบว่า พืชผลทนยาฆ่าวัชพืชมีค่าใช้จ่ายในการผลิตน้อยกว่าพืชธรรมดา ในขณะที่พืชผลทนแมลงที่ลดระดับการใช้ยาฆ่าแมลง จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าเพื่อซื้อพันธุ์พืช จึงมีค่าใช้จ่ายเท่ากับพืชธรรมดา[376]

ผลผลิตเพิ่มขึ้น 9% สำหรับพืชทนยาฆ่าวัชพืช และเพิ่มขึ้น 25% สำหรับพืชทนแมลงเกษตรกรที่ใช้พืชดัดแปรพันธุกรรมทำกำไรได้ 69% สูงกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้งานปฏิทัศน์ยังพบอีกด้วยว่า พืชผลดัดแปรพันธุกรรมช่วยเกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนา โดยเพิ่มผลผลิตประมาณ 14%[376]

ผู้วิจัยรวมงานศึกษาบางงานที่ไม่มีการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน และงานศึกษาจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้รายงานขนาดตัวอย่าง (sample sizes)ผู้วิจัยพยายามแก้ความผิดพลาดที่มาจากความเอนเอียงในการตีพิมพ์ (publication bias) โดยรวมเอางานที่ไม่ได้พิมพ์ในวารสารวิชาการการมีข้อมูลเป็นจำนวนมากทำให้ผู้วิจัยสามารถควบคุมตัวแปรกวนเช่นการใช้ปุ๋ยในงานนี้ได้นอกจากนั้นแล้ว ผู้วิจัยยังสรุปว่า แหล่งเงินทุนงานวิจัยไม่ได้มีผลต่อผลงานวิจัย[376]

งานปฏิทัศน์ปี 2553

บทความในปี 2553 ที่สนับสนุนโดยสมาคมการค้าเกษตร CropLife International สรุปผลของงานวิจัยที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน 49 งาน[377][378]โดยเฉลี่ยแล้ว มีการเพิ่มผลผลิตในอัตรา 6% สำหรับเกษตรกรในประเทศพัฒนาแล้ว และ 29% สำหรับประเทศกำลังพัฒนา

การไถนาลดลง 25-58% สำหรับถั่วเหลืองที่ทนยาฆ่าวัชพืชคือพืชที่ทนไกลโฟเสตทำให้เกษตรกรปลูกพืชเป็นแนวชิดต่อกันยิ่งขึ้น เพราะว่าไม่ต้องควบคุมวัชพืชด้วยการไถนา[379]การใช้ยาฆ่าแมลงสำหรับพืช Bt ลดลง 14-76% และเกษตรกร 72% ทั่วโลกประสบผลบวกทางเศรษฐกิจ

งานปฏิทัศน์ปี 2552

ในปี 2552 กลุ่ม Union of Concerned Scientists (สหภาพนักวิทยาศาสตร์ผู้ห่วงใย) ซึ่งเป็นกลุ่มต่อต้านพันธุวิศวกรรมและการโคลนสัตว์เลี้ยงเป็นอาหาร สรุปงานวิจัยที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันเกี่ยวกับผลผลิตที่ได้จากถั่วเหลืองและข้าวโพดดัดแปรพันธุกรรมในสหรัฐ[380]ว่า วิธีการเกษตรกรรมอื่น ๆ มีผลต่อผลผลิตในระดับชาติเมื่อเร็ว ๆ นี้ มากกว่าพันธุวิศวกรรม

งานวิจัยรัฐวิสคอนซิน

งานวิจัยที่มีลักษณะการตีพิมพ์ที่ไม่ทั่วไปโดยเป็นจดหมายถามตอบแทนที่จะเป็นบทความ ตรวจสอบข้าวโพดดัดแปรพันธุกรรมออกแบบเพื่อให้มีการแสดงออกของยีน 4 อย่างคือ ทนต่อหนอนเจาะข้าวโพดยุโรป ทนต่อหนอนรากข้าวโพด (corn rootworm) ทนต่อไกลโฟเสต และทนต่อกลูโฟสิเนต แบบทีละอย่าง ๆ หรือแบบผสมผสานกันในแปลงปลูกพืชรัฐวิสคอนซินระหว่างปี 2533-2553[381]แล้วพบว่า ผลผลิตที่ได้ปีต่อปีแตกต่างกันน้อยกว่าพืชธรรมดา โดยมีการเพิ่มผลผลิต 0.8-4.2 bushel/เอเคอร์ โดยที่พันธุ์ทนหนอนเจาะข้าวโพดยุโรปเพิ่มขึ้น +6.4 bushel/เอเคอร์ พันธุ์ทนกลูโฟสิเนตเพิ่มขึ้น +5.76 พันธุ์ทนไกลโฟเสตลดลง -5.98 และพันธุ์ทนหนอนรากข้าวโพดลดลง -12.22งานศึกษาพบการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างยีนในพันธุ์ที่มีการแปรพันธุ์หลายลักษณะ โดยที่ผลรวมกันที่ได้แตกต่างจากการบวกผลของลักษณะสายพันธุ์แต่ละอย่างเข้าด้วยกันยกตัวอย่างเช่น การรวมลักษณะสายพันธุ์ทนต่อหนอนเจาะข้าวโพดยุโรปกับลักษณะทนต่อกลูโฟซิเนตเพิ่มผลผลิตเพียงแค่ 3.13 bushel/เอเคอร์ ซึ่งน้อยกว่าพันธุ์ที่มีลักษณะต่างหาก ๆ สองพันธุ์รวมกัน[382]

สภาวะการตลาด

มีบริษัทไม่กี่บริษัทที่ครองตลาดอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์พืช ล้วนแต่เป็นบริษัทที่รวมหน่วยธุรกิจตามแนวยืน (vertically integrated)[383][384]ในปี 2554 บริษัทเพียงแค่ 10 บริษัทควบคุม 73% ของตลาดโลก[385]

ในปี 2544 กระทรวงเกษตรสหรัฐรายงานว่า การรวมตัวบริษัทแม้จะนำไปสู่การประหยัดค่าใช้จ่ายเนื่องจากขนาด แต่ก็ตั้งข้อสังเกตว่า การที่บริษัทบางบริษัทได้ขายหน่วยธุรกิจผลิตเมล็ดพันธุ์พืช ทำให้การอยู่รอดของบริษัทรวมธุรกิจเหล่านี้ ยังเป็นที่น่าสงสัย[386]นักเศรษฐศาสตร์สองท่าน ผู้เป็นแขกรับเชิญให้พูดใน AgBio Forum[387]อ้างว่า อำนาจการตลาดของบริษัทเมล็ดพันธุ์พืชอาจจะเพิ่มผลประโยชน์ให้แก่สังคม ถึงแม้ว่าจะมีการตั้งราคาที่ดูจะไม่อำนวย เพราะว่า "แม้ว่า การตั้งราคาแตกต่างกันจะบ่อยครั้งพิจารณาว่า เป็นความบิดเบือนการตลาดที่ไม่น่าปรารถนา แต่มันอาจจะเพิ่มประโยชน์โดยรวม (ให้กับสังคม) ด้วยการเพิ่มผลผลิตโดยรวม และด้วยการวางจำหน่ายในตลาดที่จะไม่มีผลิตภัณฑ์นี้โดยประการอื่น"[388]

การครองตลาดช่วยให้บริษัทสามารถตั้งหรือมีอิทธิพลในการตั้งราคา กำหนดกติกา และเป็นอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดของบริษัทใหม่ ๆและช่วยให้มีอำนาจต่อรองกับรัฐบาลในการออกนโยบายต่าง ๆ[389][390]ในเดือนมีนาคมปี 2553 กระทรวงยุติธรรมและกระทรวงเกษตรสหรัฐประชุมกันเพื่อพิจารณาการแข่งขันกันในตลาดของอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์พืชหัวหน้าแผนกการป้องกันการผูกขาดขอองกระทรวงยุติธรรมแจ้งว่า กำลังตรวจสอบว่า มีการใช้สิทธิบัตรของเมล็ดพันธุ์พืชแปรพันธุ์โดยไม่ชอบหรือไม่[391]ประเด็นปัญหาที่สำคัญก็คือ สัญญาอนุญาตให้ใช้ลักษณะสายพันธุ์ทนต่อไกลโฟเสตของบริษัทมอนแซนโต ที่พบในถั่วเหลือง 93% ที่ปลูกในสหรัฐปี 2552[392]มีกลุ่มเกษตรกร ผู้บริโภค และผู้ที่คัดค้านเกษตรกรรมแบบบริษัทกว่า 250 คนที่จัดการประชุมหมู่บ้านก่อนการประชุมของรัฐ เพื่อประท้วงการซื้อบริษัทเมล็ดพันธุ์พืชที่เป็นอิสระโดยมอนแซนโต แล้วจดสิทธิบัตรและขึ้นราคาเมล็ดพันธุ์พืช[391]

ทรัพย์สินทางปัญญา

โดยธรรมดาทั่วไปแล้ว เกษตรกรของทุก ๆ ชาติเก็บเมล็ดพันธุ์พืชของตนเองเพื่อเพาะปลูกในปีต่อไปแต่ว่า เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1900 มีการใช้พืชลูกผสมอย่างกว้างขวางในประเทศพัฒนาแล้ว และเมล็ดพืชเหล่านี้ต้องซื้อปีต่อปีจากผู้ผลิต[393]คือลูกหลานของข้าวโพดลูกผสม แม้ว่าจะไม่เป็นหมัน แต่ก็จะสูญเสียประโยชน์ (heterosis) ที่ได้จากพันธุ์ลูกผสมนี่เป็นเหตุหลักที่จะไม่ปลูกเมล็ดพันธุ์พืชรุ่นที่สองแต่ว่า สำหรับพืชผลแปรพันธุกรรมเช่นถั่วเหลือง บริษัทเมล็ดพันธุ์จะใช้สัญญาบังคับโดยกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และกฎหมายเกี่ยวกับการมอบการครอบครองทรัพย์ (bailment) เพื่อป้องกันเกษตรกรไม่ให้ปลูกเมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้ยกตัวอย่างเช่น ใบอนุญาตการมอบการครอบครองทรัพย์ของบริษัทมอนแซนโตจะห้ามการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ และบังคับให้ผู้ซื้อเซ็นสัญญาใบอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรต่างหาก[394][395]

บริษัทผู้ผลิตกล่าวว่า จำเป็นที่จะป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ของเมล็ดพันธุ์พืช เพราะเป็นหน้าที่ต่อผู้ถือหุ้นบริษัท และเพื่อเป็นทุนสำหรับการพัฒนายิ่ง ๆ ขึ้นไปบริษัทดูปองท์ใช้เงินครึ่งหนึ่งจากงบประมาณการวิจัยและพัฒนา 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 61,000 ล้านบาท) สำหรับเกษตรกรรมในปี 2554[396]ในขณะที่มอนแซนโตใช้จ่าย 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2557[397]

แต่ผู้ไม่เห็นด้วยเช่นกลุ่มกรีนพีซกล่าวว่า กฎหมายสิทธิบัตรให้อำนาจทางเกษตรกรรมกับบริษัทมากเกินไป[398]และศูนย์เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับระบบนิเวศ (Center for Ecoliteracy) อ้างว่า "การจดสิทธิบัตรสำหรับเมล็ดพันธุ์พืชให้อำนาจกับบริษัทมากเกินไป ในเรื่องจำเป็นสำหรับชีวิตของทุกคน"[399]ส่วนรายงานปี 2543 ภายใต้การสนับสนุนของบัณฑิตยสถานนานาชาติกล่าวว่า "ถ้าสิทธิของเครื่องมือ (ทางกฎหมาย)เหล่านี้มีการบังคับใช้อย่างเข้มงวดและทั่วไป และไม่มีการอนุญาตให้ใช้ หรือให้ใช้ฟรีในประเทศกำลังพัฒนา โอกาสการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแปรพันธุกรรมที่อธิบายมาก่อนแล้ว ก็จะไม่ให้ประโยชน์กับประเทศด้อยพัฒนาเป็นระยะเวลายาวนาน" (คือจนกระทั่งสิทธิบัตรหมดอายุ)[400]

บ.มอนแซนโตได้จดสิทธิบัตรพืชพันธุ์ของตน และบังคับให้เกษตรกรผู้เลือกที่จะซื้อเมล็ดพืชของ บ. เซ็นสัญญาให้ใช้สิทธิ โดยบังคับให้เก็บหรือขายพืชผลที่ปลูกเท่านั้น ไม่ให้ปลูกใหม่[156]:213[401]โดยที่ บ. มีประวัติฟ้องคดีละเมิดสิทธิบัตรในศาลต่อเกษตรกร 145 รายเริ่มแต่ปี 2540 แต่มี 11 รายเท่านั้นที่สู้คดีในศาล[402]และใน 11 คดีเหล่านั้น เกษตรกรล้วนแต่อ้างว่า เกิดการปนเปื้อนที่ไม่ได้ตั้งใจเพราะเหตุการถ่ายเทของยีน แต่ บ. ได้ชนะคดีเหล่านั้นทั้งหมด[402]หัวหน้าแผนกมนุษยสัมพันธ์ของมอนแซนโตแคนาดากล่าวว่า "มันไม่ใช่ และไม่เคยใช่ นโยบายของมอนแซนโตแคนาดาที่จะบังคับใช้สิทธิบัตรของพืชผล Roundup Ready ถ้ามันเกิดขึ้นในแปลงเกษตรกรโดยอุบัติเหตุ แต่ต่อเมื่อมีการละเมิดสิทธิทั้งที่รู้และตั้งใจเท่านั้น ที่มอนแซนโตจะดำเนินการ"[403]ในปี 2552 มอนแซนโตประกาศว่า หลังจากสิทธิบัตรถั่วเหลืองหมดอายุลงในปี 2557 บ. จะไม่ห้ามเกษตรกรไม่ให้ปลูกเมล็ดถั่วเหลืองที่เป็นผลผลิตอีกต่อไป[404]

ตัวอย่างของการฟ้องศาลเช่นนี้คือคดีบริษัทมอนแซนโตแคนาดากับนายชไมเซอร์[405]ซึ่งเป็นคดีที่เข้าใจผิดกันอย่างกว้างขวาง[406]คือในปี 2540 นายเพอร์ซี ชไมเซอร์ ผู้เป็นเกษตรกรที่ปลูกและเพาะพันธุ์พืชวงศ์ผักกาดในเมืองบรูโน รัฐซัสแคตเชวัน พบว่าแปลงพืชของเขาแปลงหนึ่งดื้อต่อยาฆ่าวัชพืช Roundupเขาไม่ได้ซื้อเมล็ดพันธุ์เช่นนี้ ซึ่งพัดเข้ามาในที่ของเขาจากแปลงข้างเคียงต่อมาเขาเก็บผลผลิตจากแปลงนั้น แล้วก็เก็บไว้ที่หลังรถกระบะ[405]:ย่อหน้า 61 & 62ก่อนปีเพาะปลูก 2541 ปีต่อไป ผู้แทนของ บ.มอนแซนโตได้แจ้งนายชไมเซอร์ว่า การใช้พืชผลอันนี้เพื่อปลูกพืชจะเป็นการละเมิดสิทธิบัตร แล้วยื่นข้อเสนอให้ใบอนุญาตแก่เขา ซึ่งเขาปฏิเสธ[405]:ย่อหน้า 63[407]ตามศาลสูงสุดของประเทศแคนาดา แม้ว่าหลังจากการคุยกันเช่นนี้ "นายชไมเซอร์ก็ยังนำเอาผลผลิตที่เก็บไว้ที่รถกระบะไปยังโรงงานบำบัดเมล็ด แล้วบำบัดพืชผลนั้นเพื่อจะใช้เมล็ด และเมื่อบำบัดแล้ว มันก็ไม่สามารถจะใช้อะไรอย่างอื่นได้อีก นายชไมเซอร์ปลูกเมล็ดที่บำบัดในไร่ 9 แปลง เต็มเนื้อที่ประมาณ 1,000 เอเคอร์ (ประมาณ 2,529 ไร่) การทดสอบที่เป็นอิสระต่อ ๆ กันทำโดยผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ยืนยันว่า พืชวงศ์ผักกาดที่นายชไมเซอร์เพาะปลูกในปี 2541 95-98% เป็นพันธุ์ทนยา Roundup"[405]:ย่อหน้า 63-64หลังจากการคุยกันนอกศาลระหว่างนายชไมเซอร์กับมอนแซนโตล้มเหลว มอนแซนโตฟ้องนายชไมเซอร์ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรแล้วชนะคดีในศาลเบื้องต้นต่อมานายชไมเซอร์ได้อุทธรณ์ต่อศาลและแพ้คดี แล้วจึงยื่นฎีกาต่อศาลสูงสุดแคนาดาอีก ซึ่งในปี 2547 ตัดสินโดยเสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 ให้มอนแซนโตชนะ โดยกล่าวว่า "มันชัดเจนในการสืบคดีของศาลชั้นต้นว่า ผู้อุทธรณ์เก็บ ปลูก เก็บเกี่ยว แล้วขายผลผลิตจากต้นพืชที่มียีนและเซลล์พืชที่มอนแซนโตได้จดสิทธิบัตร"[405]:ย่อหน้า 68

การค้าขายระหว่างประเทศ

พืชผลดัดแปรพันธุกรรมเป็นจุดชนวนหนึ่งของข้อพิพาทในประเทศที่ส่งอาหารออกขายว่า การเริ่มใช้พืชผลดัดแปรพันธุกรรมจะเป็นอันตรายต่อการส่งสินค้าออกไปยังประเทศอื่นหรือไม่[408]

ในประเทศแคนาดาปี 2553 การส่งแฟลกซ์ (ต้นไม้คล้ายป่าน) ไปยังยุโรปถูกปฏิเสธ เมื่อพบร่องรอยของแฟลกซ์แปรพันธุกรรมที่ยังอยู่ในขั้นทดลอง[409]ซึ่งมีผลให้สมาชิกรัฐสภาท่านหนึ่งเสนอกฎหมาย (C-474) ที่บังคับให้ "มีงานวิเคราะห์เกี่ยวกับโอกาสผลลบที่มีต่อการส่งออก ก่อนที่จะอนุญาตให้ขายเมล็ดพันธุ์พืชแปรพันธุกรรมใหม่ ๆ"[410]ส่วนผู้คัดค้านอ้างว่า "การรวมมาตรฐานทางสังคม-เศรษฐกิจที่เข้มงวดเข้ากับระบบการควบคุมที่มีมูลฐานอยู่บนวิทยาศาสตร์ อาจเป็นเหตุระงับการลงทุนทำงานวิจัย (เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ) ของเอกชน เพราะว่า ถ้าบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพไม่เห็นผลตอบแทนจากการลงทุน ก็จะลงทุนงบประมาณการวิจัยของตนในเรื่องอื่น ๆ"[409]ต่อมาในปี 2554 กฎหมายไม่ผ่านรัฐสภาโดยมีคะแนนเสียง 97-176[411]

ใกล้เคียง

ข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม ข้อต่อ ข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกัน ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1970 ข้อตกลงออสโล ข้อตกลงสำหรับเครื่องหมายพาสซีฟ ข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ข้อต่อกลีโนฮิวเมอรัล ข้อตกลงพลาซา ข้อต่ออโครมิโอคลาวิคิวลาร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม http://92.52.112.178/web/sa/saweb.nsf/GetInvolved/... http://www.canberratimes.com.au/act-news/gm-crop-d... http://www.farmweekly.com.au/news/agriculture/crop... http://www.smh.com.au/environment/greenpeace-activ... http://www.theland.com.au/news/agriculture/croppin... http://www.foodstandards.gov.au/_srcfiles/Review_o... http://www.foodstandards.gov.au/consumer/gmfood/se... http://www.foodstandards.gov.au/consumerinformatio... http://www.foodstandards.gov.au/consumerinformatio... http://www.foodstandards.gov.au/scienceandeducatio...