กำเนิด ของ ประชาธิปไตยเสรีนิยม

ประชาธิปไตยเสรีนิยมมีแหล่งกำเนิดและได้ชื่อมาจากยุโรปสมัยคริสต์ทศวรรษที่ 18 ที่เรียกว่ายุคเรืองปัญญาในเวลานั้น รัฐส่วนมากในยุโรปเป็นราชาธิปไตย โดยพระราชาหรือขุนนางมีอำนาจทางการเมืองแต่ประชาธิปไตยในฐานะระบอบการปกครอง ไม่ได้รับพิจารณาอย่างจริงจังตั้งแต่สมัยคลาสสิกโบราณแล้วเพราะความเชื่อทั่วไปว่า ประชาธิปไตยไม่เสถียรโดยธรรมชาติและจะสร้างความยุ่งเหยิงในนโยบายของรัฐ เพราะประชาชนจะเปลี่ยนใจไป ๆ มา ๆและว่า ประชาธิปไตยขัดแย้งกับธรรมชาติมนุษย์ เพราะมองว่า มนุษย์ตามธรรมชาติชั่วร้าย รุนแรง และจำเป็นต้องมีผู้นำที่เข้มแข็งเพื่อควบคุมความหุนหันพลันแล่นที่ก่อความเสียหายส่วนพระราชาชาวยุโรปก็ทรงถือว่า อำนาจของพระองค์เป็นสิทธิที่มาจากพระเป็นเจ้า และแม้แต่ความสงสัยต่อสิทธิเพื่อปกครองของพระองค์ก็เท่ากับเป็นการดูหมิ่นศาสนา

ความคิดในกรอบเช่นนี้ต่อมาถูกคัดค้านโดยกลุ่มปัญญาชนเล็ก ๆ ในยุคเรืองปัญญาผู้เชื่อว่า

  • กิจของมนุษย์ควรทำตามเหตุผล ตามหลักเสรีภาพและหลักความเท่าเทียมกัน
  • มนุษย์ทั้งหมดเกิดมาเท่าเทียมกัน และดังนั้น อำนาจทางการเมืองไม่สามารถมีเหตุเพียงจาก "เลือดขุนนาง" จากความสัมพันธ์แบบอภิสิทธ์กับพระเป็นเจ้า หรือลักษณะอื่นทั้งหมดที่อ้างว่า ทำให้บุคคลหนึ่งดีกว่าอีกคนหนึ่ง
  • รัฐบาลมีไว้เพื่อรับใช้ประชาชน ไม่ใช่ตรงกันข้าม
  • กฎหมายควรบังคับใช้ต่อทั้งผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้การปกครอง ซึ่งเป็นแนวคิดซึ่งต่อมาเรียกว่า หลักนิติธรรม

แนวคิดเหล่านี้เริ่มปฏิบัติในประเทศอังกฤษในคริสต์ทศวรรษที่ 17[3]โดยคำร้องขอสิทธิที่ผ่านเป็นกฎหมายในปี 2171 และกฎหมาย Habeas Corpus Act ที่ผ่านในปี 2172 ก็ได้ให้เสรีภาพบางอย่างต่อข้าแผ่นดินส่วนไอเดียเกี่ยวกับพรรคการเมือง ได้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเป็นกลุ่มอภิปรายสิทธิการมีผู้แทนทางการเมือง (Putney Debates) ในปี 2190

หลังจากสงครามกลางเมืองอังกฤษระหว่างปี 2185-2194 และการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ปี 2231 บัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมืองก็ผ่านเป็นกฎหมายในปี 2232 ซึ่งเป็นประมวลกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพบางอย่างบัญญัติบังคับให้มีการเลือกตั้งเป็นประจำ ตั้งกฎเสรีภาพในการพูดในรัฐสภา และจำกัดอำนาจของพระราชา ซึ่งรับรองว่า โดยไม่เหมือนยุโรปโดยมากในยุคนั้น สมบูรณาญาสิทธิราชย์จะไม่มีชัย[4][5]และเปลี่ยนแปลงสังคมอังกฤษอย่างสำคัญเพราะกำหนดฐานะบุคคลในสังคม และเพราะรัฐสภามีอำนาจยิ่งขึ้นเทียบกับพระราชา[6][7]

โดยปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 นักปรัชญาชั้นแนวหน้าได้พิมพ์ผลงานที่เผยแพร่ไปทั่วยุโรปและที่อื่น ๆไอเดียและความเชื่อเหล่านี้ได้ให้แรงดลใจแก่การปฏิวัติอเมริกันและการปฏิวัติฝรั่งเศส ให้กำเนิดอุดมการณ์เสรีนิยม และสร้างรูปแบบรัฐบาลที่พยายามประยุกต์ใช้หลักของนักปรัชญายุคเรืองปัญญาให้เป็นภาคปฏิบัติแต่ว่า รูปแบบของรัฐบาลปฏิวัติทั้งสองก็ไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมตามความหมายทุกวันนี้โดยข้อแตกต่างสำคัญที่สุดก็คือ สิทธิการลงคะแนนเสียงที่ยังจำกัดต่อชนกลุ่มน้อย และความเป็นทาสที่ถูกกฎหมายอนึ่ง ความพยายามของชาวฝรั่งเศสก็คงอยู่ได้ไม่นาน แม้จะกลายเป็นต้นแบบที่ระบอบประชาธิปไตยต่อ ๆ มาบูรณาการและเนื่องจากผู้สนับสนุนรูปแบบรัฐบาลเช่นนี้ตอนนั้นเรียกว่า พวกเสรีนิยม (liberal) รัฐบาลของพวกเขาต่อมาก็เลยรู้จักกันว่า ประชาธิปไตยเสรีนิยม (liberal democracy)

ช่วงที่ประชาธิปไตยเสรีนิยมกำลังเกิด พวกเสรีนิยมได้ถูกมองว่า เป็นผู้มีแนวคิดสุดโต่งและเป็นคนอันตราย เป็นภัยต่อทั้งสันติภาพและเสถียรภาพในระดับสากลส่วนพวกราชาธิปไตยนิยมแบบอนุรักษนิยมผู้ต่อต้านทั้งเสรีนิยมและประชาธิปไตย ก็มองตัวเองว่าเป็นผู้ปกป้องประเพณีค่านิยมและกฎธรรมชาติและข้อวิจารณ์ประชาธิปไตยของพวกเขาก็ได้ข้อพิสูจน์เมื่อนโปเลียน โบนาปาร์ต ขึ้นยึดอำนาจในสาธารณรัฐฝรั่งเศส เปลี่ยนรัฐเป็นจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง แล้วออกพิชิตยุโรปโดยมากเมื่อนโปเลียนพ่ายแพ้ในที่สุด จึงเกิดตั้งพันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์ในยุโรปเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเสรีนิยมและประชาธิปไตยอย่างไรก็ดีโดยไม่นานนัก อุดมคติประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมก็กลายเป็นเรื่องที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในสาธารณชน และในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ระบบราชาธิปไตยทั่วไปก็ตกเป็นฝ่ายตั้งรับและถอยทัพ

ต่อมา ประเทศในเครือจักรภพอังกฤษก็กลายเป็นห้องทดลองประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นไปในแคนาดา รัฐบาลที่มีภาระรับผิดชอบต่อรัฐสภาก็เกิดขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1840 ตลอดจนในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ส่วนรัฐบาลแบบรัฐสภาที่ประชาชนชายเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงแบบลับ ก็เกิดขึ้นเริ่มต้นที่ทศวรรษ 1850 ส่วนหญิงต่อมาจึงได้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งเริ่มที่ทศวรรษ 1890[8]

ทั้งการปฏิรูปและการปฏิวัติช่วยเปลี่ยนประเทศยุโรปโดยมากให้เป็นประชาธิปไตยเสรีนิยมแล้วคติเสรีนิยมก็ยุติเป็นความเห็นสุดโต่งแล้วกลายเป็นเรื่องกระแสหลักทางการเมืองในขณะเดียวกัน คติแบบไม่เสรีนิยมจำนวนหนึ่งก็ได้พัฒนาขึ้น โดยรับเอาแนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยเสรีนิยมให้เป็นส่วนของคติอันชี้ว่า พิสัยความคิดทางการเมืองได้เปลี่ยนไปแล้วคือ ราชาธิปไตยธรรมดากลายเป็นมุมมองสุดโต่ง ในขณะที่ประชาธิปไตยเสรีนิยมกลายเป็นเรื่องธรรมดาโดยที่สุดของศตวรรษที่ 19 ประชาธิปไตยเสรีนิยมก็ไม่ใช่แนวคิด "เสรีนิยม" อีกต่อไป แต่เป็นเรื่องที่สนับสนุนโดยคตินิยมต่าง ๆ มากมายหลังจาก สงครามโลกครั้งที่ 1 และโดยเฉพาะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประชาธิปไตยเสรีนิยมก็กลายเป็นเรื่องเด่นในบรรดาทฤษฏีการปกครองทั้งหลาย โดยบัดนี้ก็มีมุมมองทางการเมืองมากมายที่สนับสนุนแนวคิดเช่นนี้

แม้ว่า ประชาธิปไตยเสรีนิยมจะเริ่มมาจากคนเสรีนิยมยุคเรืองปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างประชาธิปไตยกับเสรีนิยมก็เป็นเรื่องถกเถียงกันตั้งแต่ต้น โดยกลายเป็นปัญหาในศตวรรษที่ 20[9]คือ คติของเสรีนิยม โดยเฉพาะในรูปแบบคลาสสิก นิยมความเป็นส่วนตัว (คือ ปัจเจกนิยม) มาก ดังนั้นจึงนิยมจำกัดอำนาจของรัฐเหนือบุคคลโดยเปรียบเทียบกัน บางคนมองประชาธิปไตยว่าเป็นอุดมคติแบบชุมชนนิยม ที่เล็งการเพิ่มอำนาจให้แก่ชุมชนดังนั้น ประชาธิปไตยเสรีนิยมอาจมองได้ว่า เป็นการออมชอมกันระหว่างปัจเจกนิยมกับกระแสชุมชนนิยมของประชาธิปไตยผู้เห็นอย่างนี้บางครั้งชี้ไปยังระบบประชาธิปไตยแบบไม่เสรี หรืออัตตาธิปไตยแบบเสรี ว่าเป็นหลักฐานว่า เสรีภาพ/เสรีนิยมที่กำหนดในรัฐธรรมนูญไม่จำเป็นต้องเชื่อมกับระบอบประชาธิปไตย

ในนัยตรงกันข้าม ก็มีมุมมองว่า เสรีภาพ/เสรีนิยมในรัฐธรรมนูญกับระบอบประชาธิปไตยไม่เพียงแค่เข้ากันได้ แต่จำเป็นเพื่อจะมีทั้งสองอย่างได้จริง ๆ เพราะทั้งสองเกิดจากแนวคิดพื้นฐานของความเสมอภาคทางการเมืองมีการยืนยันด้วยว่า ทั้งเสรีภาพและความเสมอภาคจำเป็นในประชาธิปไตยเสรีนิยม[10]

ส่วนองค์การนอกภาครัฐ ฟรีดอมเฮาส์ (Freedom House)[11] ปัจจุบันนิยามประชาธิปไตยเสรีนิยมอย่างง่าย ๆ ว่าเป็นประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งที่ปกป้องเสรีภาพของพลเมือง

แผนที่สะท้อนการสำรวจขององค์การนอกภาครัฐที่ได้ทุนจากรัฐบาลกลางสหรัฐ "ฟรีดอมเฮาส์"[11] เกี่ยวกับเสรีภาพในโลกปี 2558 (พิมพ์ปี 2559) ซึ่งมีสหสัมพันธ์ระดับสูงกับค่าต่าง ๆ เกี่ยวกับประชาธิปไตย[12]แต่ค่าประเมินเหล่านี้บางครั้งถูกคัดค้านและเป็นเรื่องสร้างข้อโต้แย้ง[13]
  เสรี
  กึ่งเสรี
  ไม่เสรี
เปอร์เซ็นต์ของประเทศทั้งหมดที่อยู่ในแต่ละหมวด จากรายงานของ "ฟรีดอมเฮาส์"[11] ปี 2516 จนถึง 2556  เสรี (90)  กึ่งเสรี (58)  ไม่เสรี (47)รัฐแบ่งโดยระบอบการปกครอง
   สาธารณรัฐแบบรัฐสภา โดยประธานาธิบดีผู้ทั้งเลือกตั้งโดยและขึ้นอยู่กับรัฐสภา จะบังคับใช้กฎหมาย
   ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญแบบรัฐสภาที่พระราชาไม่ทรงอำนาจเอง
   ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่พระราชาทรงอำนาจเอง บ่อยครั้งพร้อมกับรัฐสภาที่อ่อนแอ
   สาธารณรัฐที่ข้อกำหนดการปกครองในรัฐธรรมนูญถูกระงับ
   รัฐที่ไม่เข้ากับระบอบที่กล่าวแล้ว
   ไร้รัฐบาล
ประเทศที่ระบายสี น้ำเงินระบุว่าเป็น ประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง ในงานสำรวจพิมพ์ในปี 2559 ขององค์การนอกภาครัฐ "ฟรีดอมเฮาส์"[11] คือ "เสรีภาพในโลก (Freedom in the World)" เป็นข้อมูลสำหรับปี 2558[1]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประชาธิปไตยเสรีนิยม http://www.asgp.co/sites/default/files/documents//... http://members.aol.com/CSPmgm/conflict.htm http://www.freetheworld.com/papers.html http://www.historyisaweapon.com/defcon1/bernprop.h... http://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id... http://thehumananimal.com/usa/?p=381 http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,1... http://www.news.harvard.edu/gazette/2004/11.04/05-... http://muse.jhu.edu/demo/jod/10.3sen.html http://polisci.la.psu.edu/faculty/Casper/caspertuf...