การยอมแพ้ของญี่ปุ่น ของ การยึดครองญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1945 เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นชี้แจงสัมพันธมิตรถึงการยอมรับปฏิญญาพ็อทซ์ดัม ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะทรงประกาศความพ่ายแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไขทางวิทยุ การประกาศนั้นเป็นครั้งแรกของสมเด็จพระจักรพรรดิที่ประกาศทางวิทยุและครั้งแรกของประชาชนที่ได้ยินเสียงของพระจักรพรรดิ

วันดังกล่าวเป็นที่รู้จักในชื่อวันชัยเหนือญี่ปุ่น (V-J - Victory over Japan) ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสู่การสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองและการเริ่มต้นของเส้นทางที่ยาวนานในการฟื้นฟูประเทศญี่ปุ่น ในวันชัยเหนือญี่ปุ่นนั้น แฮร์รี ทรูแมน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกานัดหมายจอมพลดักลาส แมคอาเธอร์ ในฐานะผู้บัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตร (Supreme Commander for the Allied Powers (SCAP)) สำหรับแผนดำเนินการยึดครองญี่ปุ่น

เนื่องจากในระหว่างสงครามนั้น บรรดาชาติมหาอำนาจต่างๆของฝ่ายสัมพันธมิตรวางแผนที่จะแบ่งประเทศญี่ปุ่นเพื่อปกครองเอง ซึ่งหลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรรบชนะเยอรมนีแล้วได้ยึดครองเป็นที่เรียบร้อย ด้านผู้บัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตรจึงเป็นผู้ควบคุมโดยตรงบนเกาะหลักของญี่ปุ่น (ฮนชู ฮกไกโด ชิโกกุ และคีวชู) และเกาะโดยรอบ โดยการเป็นเจ้าของดินแดนต่าง ๆ ถูกแบ่งให้กับชาติมหาอำนาจของฝ่ายสัมพันธมิตร ดังนี้

สำหรับการเข้ายึดครองดินแดนต่างๆของญี่ปุ่นนั้น ไม่มีสาเหตุชัดเจนว่าเหตุใดแผนจึงถูกเปลี่ยนแปลง ซึ่งก็มีทฤษฎีทั่วไปรวมถึงอำนาจที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐอเมริกาในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ อีกทั้งแฮรี่ ทรูแมนไม่เชื่อมั่นในสหภาพโซเวียตมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับแฟรงกลิน โรสเวลต์ อีกทั้งสหภาพโซเวียตเคยมีความตั้งใจในการยึดครองเกาะฮกไกโด ซึ่งอาจนำมาใช้เป็นฐานของลัทธิคอมมิวนิสต์ในประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม มีความแตกต่างระหว่างการยึดครองเยอรมันตะวันออกและเกาหลีเหนือของโซเวียต ซึ่งทางประธานาธิบดีแฮรี่ ทรูแมน ไม่ยอมให้แผนการของฝ่ายคอมมิวนิสต์สำเร็จ

ประเทศผู้เข้าร่วม
สหราชอาณาจักร · ฝรั่งเศส · สหภาพโซเวียต · สหรัฐ · จีน · โปแลนด์ · แคนาดา · ออสเตรเลีย · นิวซีแลนด์ · แอฟริกาใต้ · เชโกสโลวาเกีย · นอร์เวย์ · เบลเยี่ยม · เนเธอร์แลนด์ · ลักเซมเบิร์ก · อียิปต์ · กรีซ · ยูโกสลาเวีย · เอธิโอเปีย · ฟิลิปปินส์ · อิตาลี (หลังกันยายน 1943) · เม็กซิโก · บราซิล · ฝรั่งเศสเสรี · รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส · คิวบา · เซาเทิร์นโรดีเชีย · อินเดีย
ลำดับเหตุการณ์
เรียงตามปี
1939 · 1940 · 1941 · 1942 · 1943 · 1944 · 1945
แง่มุม
ทั่วไป

ใกล้เคียง

การยึดกรุงไซ่ง่อน การยึดครองญี่ปุ่น การยึดครองเซอร์เบียของออสเตรีย-ฮังการี การยึดครองเยอรมนีของสยาม การยึดครองกลุ่มรัฐบอลติก การยึดกรุงคาบูล (พ.ศ. 2564) การยึดครองโรมาเนียของโซเวียต การยึดครองพม่าของญี่ปุ่น การยึดครองกัมพูชาของญี่ปุ่น การยึดครองเมืองซารันจ์