วันที่ ของ เส้นเวลาของศาสนาพุทธ

ศตวรรษที่ 6–5 ก่อนคริสตกาล

ปีเหตุการณ์
ประมาณ 563 หรือประมาณ 480 ปีก่อนคริสตกาลปีที่พระโคตมพุทธเจ้าประสูติ ยังไม่มีใครทราบวันที่โดยประมาณที่แน่นอนของวันประสูติและปรินิพพานของพระโคตมพุทธเจ้า นักวิชาการส่วนใหญ่ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 บันทึกให้พระพุทธเจ้ามีชีวิตประมาณ 563 ถึง 483 ปีก่อนคริสตกาล[1][2] ล่าสุดถือว่าปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานอยู่ในช่วง 411 ถึง 400 ปีก่อนคริสตกาล ในระหว่างการประชุมสัมมนาใน ค.ศ. 1988 นักวิชาการส่วนใหญ่เสนอแนวคิดว่าให้เพิ่มจำนวนปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานอีก 20 ปี ข้างใดข้างหนึ่งใน 400 ปีก่อนคริสตกาลศักราช[1][3]
ประมาณ 413–345 ปีก่อนคริสตกาลพระเจ้าศิศุนาคขึ้นครองราชย์ เริ่มต้นราชวงศ์ศิศุนาค

ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล

ปีเหตุการณ์
383 หรือประมาณ 330 ปีก่อนคริสตกาล[4]พระเจ้ากลาโศกแห่งราชวงศ์ศิศุนาคทรงจัดการประชุมการสังคายนาครั้งที่สองที่เวสาลี สงฆ์แบ่งออกเป็นสถาวีรวดิน (Sthaviravadin) กับมหาสังฆิกะที่นำโดยพระมหาเทวะ ส่วนใหญ่เกี่ยวกับคำถามของการเพิ่มหรือลดกฎจากพระวินัย[5]
345–321 ปีก่อนคริสตกาลจักรวรรดินันทะมีชัยเหนือแคว้นมคธของราชวงศ์ศิศุนาค[6]
326 ปีก่อนคริสตกาลอเล็กซานเดอร์มหาราชเดินทางไปถึงอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือ อาณาจักรอินโด-กรีกที่เจริญขึ้นในภายหลังได้รับอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาของศาสนาพุทธ[7]
ประมาณ 324 ปีก่อนคริสตกาลพีโร นักปราชญ์ในศาลของอเล็กซานเดอร์มหาราช เรียนรู้องค์ประกอบของพุทธปรัชญาในอินเดียจากปราชญ์เปล่า (gymnosophists) เขามีส่วนในศาสนาพุทธ โดยเฉพาะไตรลักษณ์ ซึ่งก่อให้เกิดปรัชญาลัทธิพีโร (Pyrrhonism) ในปรัชญาเฮลเลนิสติก[8]
ประมาณ 321 – ประมาณ 297 ปีก่อนคริสตกาลรัชสมัยของพระเจ้าจันทรคุปตเมารยะ พระอัยกาของพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้พิชิตราชวงศ์นันทะใน ประมาณ 320 ปีก่อนคริสตกาล และพิชิตอินเดียเหนือ[9]

ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล

ปีเหตุการณ์
ประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาลพระเจ้าอโศกมหาราชทรงจัดการประชุมการสังคายนาครั้งที่สาม และพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระรวบรวมกถาวัตถุเพื่อลบล้างมุมมองและทฤษฎีนอกรีตของบางนิกาย
ประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาลพระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระธรรมทูตไปยังประเทศอันไกลโพ้น ซึ่งไปไกลถึงจีน, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ และอาณาจักรมลายูทางตะวันออกและอาณาจักรเฮลเลนิสต์ทางตะวันตก
ประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาลตัวอย่างอักษรขโรษฐีที่พัฒนาแล้วครั้งแรกในจารึกที่ชาห์บาซการ์ฮีกับมานเซราฮ์ในแคว้นคันธาระ
ประมาณ 220 ปีก่อนคริสตกาลพุทธนิกายเถรวาทเริ่มเข้ามายังประเทศศรีลังกาผ่านมหินทะ พระราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช ในรัชสมัยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ แห่งอนุราธปุระ

ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล

ปีเหตุการณ์
185 ปีก่อนคริสตกาลพระเจ้าปุษยมิตรศุงคะโค่นล้มจักรวรรดิโมริยะและก่อตั้งจักรวรรดิศุงคะ เป็นจุดเริ่มต้นของคลื่นการข่มเหงศาสนาพุทธ
180 ปีก่อนคริสตกาลดิมิตรีอุสที่ 1 แห่งแบกเตรียโจมตีอินเดียไปไกลถึงปาฏลีบุตรและก่อตั้งอาณาจักรอินโด-กรีก (180–10 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งเป็นช่วงที่ศาสนาพุทธรุ่งเรือง
165–130 ปีก่อนคริสตกาลรัชสมัยของพระเจ้ามิลินท์ ตามรายงานจากมิลินทปัญหา พระองค์เข้ารับศาสนาพุทธจากพระนาคเสนเถระ
121 ปีก่อนคริสตกาลรายงานจากจารึกที่ถ้ำโม่เกา ตุนหวง จักรพรรดิฮั่นอู่ (156–87 ปีก่อนคริสตกาล) ได้รับพระพุทธรูปทองคำสององค์

ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล

ปีเหตุการณ์
ประมาณ 55 ปีก่อนคริสตกาลเธโอโดรุส ผู้ว่าการอาณาจักรอินโด-กรีก บูชาพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอุทิศให้กับ "องค์ศากยมุนี"
29 ปีก่อนคริสตกาลรายงานจากพงศาวดารสิงหล มีการเขียนพระไตรปิฎกภาษาบาลีในรัชสมัยของ Vaṭṭagamiṇi (29–17 ปีก่อนคริสตกาล)[10]

คริสตศตวรรษที่ 1

ปีเหตุการณ์
67มีการบันทึกการทำพิธีศาสนาพุทธในประเทศจีนครั้งแรกจากการสนับสนุนศาสนาพุทธของหลิว ยิง
67ศาสนาพุทธเข้ามายังประเทศจีนผ่านพระสงฆ์สองรูป พระกาศยปมาตังคะและพระธรรมรักษ์
68ศาสนาพุทธตั้งถิ่นฐานในประเทศจีนอย่างเป็นทางการผ่านการสร้างวัดม้าขาว
78ปาน เชา นายพลชาวจีน ทำลายอาณาจักรโคตัน
ประมาณ 78–101รายงานจากนิกายมหายาน มีการจัดการสังคายนาครั้งที่สี่ที่ใกล้กับชลันธร ประเทศฮินเดีย ในรัชสมัยพระเจ้ากนิษกะ

คริสตศตวรรษที่ 2

ปีเหตุการณ์
116กุษาณะ ภายใต้การปกครองของพระเจ้ากนิษกะ ก่อตั้งอาณาจักรที่มีศูนย์กลางที่คัชการ์ ครอบครองโคตันและยาร์คันด์ในแอ่งตาริม
148อาน ชี่กาว เจ้าชายแห่งจักรวรรดิพาร์เธียและพระสงฆ์ เดินทางมาที่จีนเพื่อแปลคัมภีร์นิกายเถรวาทฉบับแรก
ประมาณ 150–250ชาวพุทธในอินเดียและเอเชียกลางเดินทางไปเวียดนาม
178โลกเกษม พระสงฆ์จากจักรวรรดิกุษาณะ เดินทางไปที่ลั่วหยางเพื่อแปลคัมภีร์นิกายมหายานไปเป็นภาษาจีน

คริสตศตวรรษที่ 3

ปีเหตุการณ์
ประมาณ 250แคว้นคันธาระเลิกใช้งานอักษรขโรษฐี
ประมาณ 250–350มีการใช้อักษรขโรษฐีในโคตันและนียาที่เส้นทางสายไหมตอนใต้
296เอกสารตัวเขียนศาสนาพุทธฉบับแรกสุดของจีนถูกเขียนในปีนี้ (Zhu Fo Yao Ji Jing, พบที่ต้าเหลียนในช่วงปลาย ค.ศ. 2005)

คริสตศตวรรษที่ 4

ปีเหตุการณ์
320–467มหาวิทยาลัยนาลันทารองรับพระสงฆ์ 3,000–10,000 รูป
372ฝูเจียน (苻堅) แห่งเฉียนฉินส่งพระสงฆ์ช่านเต่า (順道) ไปที่เกาหลีของพระเจ้าโซซูริม[11]
384มรนันตะ พระสงฆ์จากแคว้นคันธาระ เดินทางมาถึงอาณาจักรแพ็กเจ พระเจ้าอาซินถึงกับประกาศว่า "ประชาชนควรเชื่อในศาสนาพุทธและแสวงหาความสุข"[11]
399–414ฝาเสี่ยนเดินทางไปอินเดีย แล้วกลับมาแปลผลงานศาสนาพุทธไปเป็นภาษาจีน

คริสต์ศตวรรษที่ 5

ปีเหตุการณ์
ประมาณคริสตศตวรรษที่ 5อาณาจักรฟูนาน (อยู่ใจกลางประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน) เริ่มสนับสนุนศาสนาพุทธแทนศาสนาฮินดู เริ่มมีหลักฐานศาสนาพุทธช่วงต้นในประเทศพม่า (จารึกภาษาบาลี), ประเทศอินโดนีเซีย (รูปปั้น) เริ่มการสร้างสถูปที่ดัมบุลลา (ประเทศศรีลังกา)
402ด้วยพระราชประสงค์ของเหยา ซิ่ง พระกุมารชีพเดินทางไปถึงฉางอันและแปลคัมภีร์ไปเป็นภาษาจีน.
403ในประเทศจีน ฮุ่ย หย่วนโต้แย้งว่าพระสงฆ์ควรได้รับการยกเว้นจากการโค้งคำนับพระจักรพรรดิ
405เหยา ซิ่งยกย่องพระกุมารชีพ
425ศาสนาพุทธไปถึงเกาะสุมาตรา
464พุทธภัทรเดินทางถึงประเทศจีนเพื่อให้เทศน์ศาสนาพุทธ
485พระสงฆ์ 5 รูปจากแคว้นคันธาระเดินทางมาถึงฝูซาง (ประเทศญี่ปุ่น หรือเป็นไปได้ว่าเป็นทวีปอเมริกา)
495มีการสร้างวัดเส้าหลินขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาของจักรพรรดิเว่ยเซี่ยวเหวิน[12][13]

คริสต์ศตวรรษที่ 6

ปีเหตุการณ์
527พระโพธิธรรมพักอาศัยที่วัดเส้าหลินในมณฑลเหอหนาน ประเทศจีน[14]
531–579รัชสมัยของโฆสโรว์ที่ 1 แห่งเปอร์เซีย ผู้มีพระบรมราชโองการให้แปลเรื่องราวชาดกไปเป็นภาษาเปอร์เซีย
538 หรือ 552รายงานจากนิฮงโชกิ ศาสนาพุทธเข้ามายังประเทศญี่ปุ่นผ่านอาณาจักรแพ็กเจ (เกาหลี) นักวิชาการบางส่วนจัดให้เกิดใน ค.ศ. 538
ประมาณ 575สาวกเซ็นจากจีนเข้าไปยังประเทศเวียดนาม

คริสต์ศตวรรษที่ 7

ปีเหตุการณ์
607ราชทูตญี่ปุ่นไปเอาสำเนาพระสูตรที่จีนสมัยราชวงศ์สุย
616–634จิ้งหว่านเริ่มสลักพระสูตรลงบนหินที่ฝางชาน, หยู่โจว ซึ่งอยู่ห่างจากปักกิ่งทางตะวันตกเฉียงใต้ 75 กิโลเมตร[15]
617–649รัชสมัยพระเจ้าซรอนซันกัมโปแห่งทิเบต ถือเป็นกษัตริย์ทิเบตองค์แรกที่สนับสนุนการเข้ามาของศาสนาพุทธที่ทิเบต[16]
627–645พระถังซัมจั๋งเดินทางไปที่อินเดีย พบการกดขี่ชาวพุทธโดยSasanka (กษัตริย์แห่งGauda รัฐทางตะวันตกเฉียงเหนือของเบงกอล) ก่อนกลับไปที่ฉางอันเพื่อแปลคัมภีร์ศาสนาพุทธ
671ยี่จิ้ง ผู้แสวงบุญชาวจีนที่นับถือศาสนาพุทธ เดินทางมาที่ปาเล็มบัง เมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัยบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย และรายงานมาว่ามีพระสงฆ์อาศัยอยู่ที่นี่กว่า 1000 รูป

คริสต์ศตวรรษที่ 8

ปีเหตุการณ์
ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 8มีการแปลชาดกปัญจตันตระไปเป็นภาษาซีรีแอกและภาษาอาหรับ ยอห์นแห่งดามัสกัสแปลชีวประวัติของพระพุทธเจ้าไปเป็นภาษากรีก และมีการเผยแพร่ไปในหมู่ชาวคริสต์คู่กับบาร์ลามและโยซาฟัต ในคริสต์ศตรรษที่ 14 เรื่องราวของโยซาฟัตเป็นที่นิยมมากจนมีการประกาศเป็นนักบุญคาทอลิก
736หัวเหยียนถูกส่งไปญี่ปุ่นผ่านประเทศเกาหลี
743–754เจี้ยนเจิน พระสงฆ์ชาวจีนพยายามไปญี่ปุ่น 11 ครั้ง และประสบความสำเร็จใน ค.ศ. 754 เพื่อก่อตั้งสำนักริตสึที่ญี่ปุ่น ซึ่งเน้นนหลัก พระวินัย
760–830เริ่มต้นการก่อสร้างโบโรบูดูร์ สถาปัตยกรรมศาสนาพุทธที่โด่งดัง ซึ่งใช้เวลาสร้างประมาณ 50 ปี

คริสตศตวรรษที่ 9

ปีเหตุการณ์
804ในรัชสมัยจักรพรรดิคัมมุ มีเรือสี่ลำเดินทางไปที่จีน โดยสองลำที่ไปถึงจีน ลำหนึ่งมีพระสงฆ์นามว่าคูไก—ผู้ที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้อุปสมบทเป็นภิกษุ—รับคำสอนวัชรยานที่ฉางอันและกลับไปที่ญี่ปุ่น เพื่อก่อตั้งสำนักชิงงง ส่วนเรืออีกลำมีพระสงฆ์นามว่าไซโจ ผู้กลับมาญี่ปุ่นเพื่อก่อตั้งสำนักเท็นได ซึ่งอิงจากธรรมเนียมเทียนไถ
838 ถึง 841พระเจ้าลางทรมาครองราชย์ที่ทิเบต และข่มเหงศาสนาพุทธ
838–847เอ็นนิง พระสงฆ์จากสำนักเท็นได เดินทางไปที่จีนเป็นเวลา 9 ปี
841–846จักรพรรดิถังอู่จงแห่งราชวงศ์ถังครองราชย์ในประเทศจีน พระองค์เป็นหนึ่งในสามจักรพรรดิที่ห้ามศาสนาพุทธ จาก ค.ศ. 843 ถึง 845 จักรพรรดิถังอู่จงทรงดำเนินการการข่มเหงต่อต้านศาสนาพุทธครั้งใหญ่ ทำให้โครงสร้างสถาบันพุทธศาสนาในประเทศจีนอ่อนแอลงอย่างถาวร
859มีการก่อตั้งเซนสำนักเฉาต้งโดยต้งชาน เหลียงเจี้ยกับสาวกในจีนใต้

คริสต์ศตวรรษที่ 10

ปีเหตุการณ์
ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 10เริ่มสร้างวัดที่พุกาม ประเทศพม่า
ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 10เริ่มฟื้นฟูศาสนาพุทธในทิเบต

คริสต์ศตวรรษที่ 11

ปีเหตุการณ์
ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 11มาร์ปา, Konchog Gyalpo, อติสา และคนอื่น ๆ นำสายซาร์มาเข้าทิเบต
1009เริ่มต้นราชวงศ์ลี้ของเวียดนาม โดยจักรพรรดิทรงอุปถัมภ์ศาสนาพุทธมหายานกับจิตวิญญาณดั้งเดิม
1025อาณาจักรศรีวิชัยถูกโจมตีโดยโจฬะแห่งอินเดียใต้ ตัวอาณาจักรรอดพ้นจากเหตุการณ์ แต่มีความสำคัญลดลง หลังการโจมตี มีการย้ายศูนย์กลางไปทางเหนือจากปาเล็มบังไปยังจัมบี-เมอลายู
1056พระเจ้าอโนรธามังช่อแห่งอาณาจักรพุกามเข้ารับศาสนาพุทธนิกายเถรวาท
1057พระเจ้าอโนรธามังช่อยึดครองสะเทิม ทำให้ศาสนาพุทธเถรวาทในพม่าแข็งแกร่งขึ้น
1070ภิกษุจากพุกามเดินทางมาที่โปลนนรุวะ ประเทศศรีลังกา เพื่อฟื้นฟูสายเถรวาท
1084–1112ในประเทศพม่ารัชสมัยพระเจ้าจานซิต้า พระองค์เสร็จสิ้นจากการสร้างเจดีย์ชเวซี่โกน เจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งรวมถึงฟันจากประเทศศรีลังกา

คริสต์ศตวรรษที่ 12

ปีเหตุการณ์
1100–1125จักรพรรดิซ่งฮุ่ยจงประกาศให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนานอกกฎหมายเพื่อสนับสนุนลัทธิเต๋า พระองค์เป็นหนึ่งในสามจักรพรรดิที่ห้ามศาสนาพุทธ
1133–1212โฮเน็งก่อตั้งศาสนาพุทธพุทธเกษตรเป็นลัทธิเอกเทศในญี่ปุ่น
1164กลุ่มชาวต่างชาติทำลายโปลนนรุวะ ประเทศศรีลังกา ด้วยคำชี้แนะจากพระป่าสองรูป มหากัสสปะเถระกับสารีบุตรเถระ ปรากรมพาหุที่ 1 (Parakramabahu I) ทรงรวมภิกษุทั้งหมดในศรีลังกาตามแบบมหาวีระอีกครั้ง sect.
1181พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ผู้นับถือศาสนาพุทธมหายาน (และทรงอุปถัมภ์ศาสนาฮินดู) ปกครองจักรวรรดิเขมร พระองค์มีพระราชกระแสรับสั่งให้สร้างปราสาทบายน โครงสร้างทางพุทธศาสนาที่โดดเด่นที่สุดในกลุ่มวิหารอังกอร์ และใช้เวลาสร้างนานจนถึงช่วงที่ชาวเขมรหันไปนับถือนิกายเถรวาท
1190พระเจ้านรปติสี่ตู่แห่งพุกามปรับปรุงศาสนาพุทธในพม่าใหม่ด้วยสำนักมหาวีระแห่งซีลอน

คริสต์ศตวรรษที่ 13

ปีเหตุการณ์
ประมาณ ค.ศ. 1200นาลันทา ศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ในอินเดีย ถูกปล้นสดมภ์และเผาทิ้งโดยมุฮัมมัด อิบน์ บัคติยาร์ ค็อลญี
1222วันเกิดของนิจิเร็ง ไดโชนิง (1222–1282) ผู้ก่อตั้งสำนักนิชิเร็ง
1227โดเง็งนำสำนักเฉาต้งของเซ็นจากจีนมาญี่ปุ่นในฐานะสำนักโซโต
1236ภิกษุจากกัญจิปุรัม (Kañcipuram) ประเทศอินเดีย เดินทางมาที่ศรีลังกาเพื่อฟื้นฟูสายเถรวาท
1238ก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัยและให้ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำอาณาจักร
1244โดเง็ง เซ็นจิก่อตั้งวัดและอารมเซนโซโตะเอเฮจิ
ประมาณ ค.ศ. 1250เถรวาทเข้าครอบครองแทนที่มหายานในประเทศกัมพูชา
1260–1270กุบไล ข่านทำให้ศาสนาพุทธ (โดยเฉพาะพุทธแบบทิเบต) เป็นศาสนาประจำชาติโดยพฤตินัยในราชวงศ์หยวน
1279–1298พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งอาณาจักรสุโขทัยครองราชย์และยึดครองประเทศลาว พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยในปัจจุบัน พะโค (ประเทศพม่า) และบางส่วนของคาบสมุทรมลายูกลายเป็นรัฐบริวาร ทำให้ประเพณีศิลปะสุโขทัยแพร่หลาย หลังจากพ่อขุนรามคำแหงสวรรคต สุโขทัยจึงเสียการควบคุมดินแดนเพราะรัฐบริวารกลายเป็นเอกราช
1285อาร์กุนเปลี่ยนจักรวรรดิข่านอิลไปเป็นรัฐพุทธ
1287จักรวรรดิพุกาม อาณาจักรเถรวาทที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ล่มสลายจากการบุกครองของชาวมองโกล
1295ฆาซัน ข่าน ผู้นำมองโกลเข้ารับอิสลาม ทำให้ผู้นำที่นับถือศาสนาพุทธนิกายตันตรยานสิ้นสุดลง

คริสตศตวรรษที่ 14

ปีเหตุการณ์
1312ในนิกายมหายานช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 มูไง เนียวไดกลายเป็นหัวหน้าภิกษุณัรูปแรกของญี่ปุ่นและกลายเป็นเจ้าอาวาสเซ็นหญิงรูปแรก[17]
1351ในประเทศไทย พระเจ้าอู่ทอง ผู้น่าจะเป็นบุตรของครอบครัวพ่อค้าชาวจีน ก่อตั้งอยุธยาเป็นเมืองหลวงและเปลี่ยนพระนามเป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
1391–1474Gyalwa Gendun Drubpa ดาไลลามะองค์แรกของประเทศทิเบต

คริสตศตวรรษที่ 15

ปีเหตุการณ์
1405–1431เจิ้งเหอริเริ่มการเดินทางสมบัติหมิง ทำให้ผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย อ่าวเปอร์เซีย แอฟริกาตะวันออก และอียิปต์พบเห็นศาสนาพุทธแบบจีน

คริสตศตวรรษที่ 16

ปีเหตุการณ์
1578อัลตัน ข่านแห่งตือเมดยกตำแหน่งทะไลลามะให้กับSonam Gyatso (ต่อมามีชื่อว่า ทะไลลามะ องค์ที่สาม)

คริสตศตวรรษที่ 17

ปีเหตุการณ์
ประมาณ คริสต์ทศวรรษ 1600-1700เมื่อเวียดนามถูกแบ่งเป็นสองส่วน ผู้นำเหงียนทางใต้สนับสนุนศาสนาพุทธนิกายมหายานเป็นอุดมการณ์เชิงบูรณาการของสังคมพหุเชื้อชาติ ซึ่งเต็มไปด้วยชาวจามกับชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ
1614ตระกูลโทโยโตมิซ่อมแซมพระพุทธรูปที่วัดโฮโกจิ เกียวโต
1615ชาวมองโกลออยรัตเข้ารับศาสนาพุทธแบบทิเบต สำนักเกลุก
1642กือชิ ข่าน แห่งโคชูตมอบอำนาจอธิปไตยทิเบตให้กับทะไลลามะองค์ที่ 5

คริสตศตวรรษที่ 18

ปีเหตุการณ์
1753ประเทศศรีลังกาแต่งตั้งอุปสมบทพระสงฆ์จากประเทศไทยใหม่ – สยามนิกาย

คริสตศตวรรษที่ 19

ปีเหตุการณ์
1802–1820จักรพรรดิซา ล็องครองราชย์เวียดนามที่รวมตัวกันเป็นหนึ่ง พระองค์สามารถกำจัดกบฏเต็ยเซินในเวียดนามใต้ด้วยความช่วยเหลือจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แล้วค่อยยึดครองดินแดนทางเหนือของ Trinh และก่อตั้งรัฐลัทธิขงจื้อกับจำกัดอิทธิพลศาสนาพุทธ พระองค์สั่งห้ามผู้ใหญ่เข้าร่วมพิธีศาสนาพุทธ
1851–1868ในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว—ซึ่งเคยเป็นพระสงฆ์ก่อน—ทรงริเริ่มการรณรงค์ปฏิรูปพระภิกษุให้ทันสมัย
1860ในประเทศศรีลังกาเริ่มฟื้นฟูศาสนาพุทธขนานใหญ่ พร้อมกับความเป็นชาตินิยม
1879สภาภายใต้การอุปถัมภ์ของพระเจ้ามินดงไปปรับปรุงคัมภีร์ภาษาบาลีอีกครั้ง
1880เฮเลนา บลาวัตสกีย์และเฮนรี สตีล โอลคอตเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้รับสิทธิผู้ลี้ภัยกับเบญจศีล ซึ่งเป็นพิธีที่จะเข้ามานับถือศาสนาพุทธ[18]
1882มีการสร้างวัดพระหยกที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน โดยนำพระพุทธรูปสององค์จากพม่ามาประดิษฐานที่นี่
1884อู ธรรมโลก ชาวไอร์แลนด์ที่อุปสมบทในประเทศพม่า เป็นภิกขุตะวันตกรูปแรกที่ทราบชื่อแต่ไม่เป็นที่รู้จัก
1896นักโบราณคดีชาวเนปาลค้นพบเสาอโศกที่ลุมพีนี โดยการใช้บันทึกของฝาเสี่ยน

คริสตศตวรรษที่ 20

ปีเหตุการณ์
1911อู ธรรมโลกพยายามปลุกปั่นให้ต่อต้านมิชชันนารีในประเทศพม่า
1930มีการก่อตั้งสมาคมสร้างคุณค่าที่ญี่ปุ่น
1949มหาโพธิวิหารที่พุทธคยากลับอยู่ในน้ำมือของชาวพุทธ
1954มีการสังคายนาครั้งที่หกที่ย่างกุ้ง ประเทศพม่า ซึ่งดำเนินการโดยอู้นุ
1956ภีมราว รามจี อามเพฑกร บิดารัฐธรรมนูญอินเดียและผู้นำทลิต เข้ารับศาสนาพุทธแบบนวยาน
1959ทะไลลามะที่ 14 หนีออกจากทิเบตท่ามกลางช่วงก่อความไม่สงบ อารามใดที่มีส่วนรู้เห็นหรือให้ที่พักพิงสายลับที่ก่อความรุนแรง จะมีการลงโทษด้วยการทำลาย เผา หรือรื้ออารามทั้งหมด
1963ทิก กว๋าง ดึ๊กเผาตนเองเพื่อประท้วงต่อโง ดิ่ญ เสี่ยม
1965รัฐบาลพม่าจับกุมพระสงฆ์มากกว่า 700 รูปที่เขตเมืองฮเมาบี ใกล้ย่างกุ้ง เพราะพวกเขาไม่ยอมรับการปกครองของรัฐบาล
1966เฟรดา เบดี สตรีชาวอังกฤษ เป็นผู้หญิงชาวตะวันตกคนแรกที่นับถือศาสนาพุทธแบบทิเบต[19]
คริสตทศวรรษ 1970บริการทางโบราณคดีอินโดนีเซีย (Indonesian Archaeological Service) กับยูเนสโกร่วมฟื้นฟูโบโรบูดูร์
1974วัดป่านานาชาติ​ วัดแรกที่ก่อตั้งเพื่อฝึกฝนและสนับสนุนพระสงฆ์ชาวตะวันตกในสายพระป่าในประเทศไทย ก่อตั้งโดยพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)
1974ในประเทศพม่า ในช่วงการเดินขบวนที่งานศพของอู้ตั่น พระสงฆ์ 600 รูปถูกจับและบางรูปถูกกองทัพรัฐบาลแทงด้วยดาบปลายปืน
1975ผู้นำคอมมิวนิสต์ลาวพยายามเปลี่ยนแปลงมุมมองศาสนา—โดยเฉพาะการเรียกให้พระสงฆ์มาทำงาน ทำให้มีพระสงฆ์หลายรูปลาสิกขาไปใช้ชีวิตตามปกติ แต่ศาสนาพุทธยังคงเป็นที่นิยมอยู่
1975–1979พล พต ผู้นำเขมรแดงเกือบทำลายศาสนาพุทธสำเร็จ แต่เวียดนามโจมตีกัมพูชาเสียก่อนใน ค.ศ. 1978 พระสงฆ์และผู้รู้ศาสนาเกือบทั้งหมดถ้าไม่ถูกฆ่าก็เนรเทศออกนอกประเทศ และวัดกับหอสมุดถูกทำลายเกือบทั้งหมด
1978ในประเทศพม่า รัฐบาลจับ สึก และจำคุกพระสงฆ์และสามเณรมากกว่าเดิม อารามถูกปินและถูกยึดทรัพย์สิน
1980รัฐบาลทหารพม่ายืนยันอำนาจเหนือพระสงฆ์ และก่อความรุนแรงต่อพระสงฆ์ตลอดทั้งทศวรรษ
1988ในช่วงการก่อกำเริบ 1988 ทหารของสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐยิงใส่พระสงฆ์
199027 สิงหาคม – พระสงฆ์มากกว่า 7000 รูปรวมตัวกันที่มัณฑะเลย์เพื่อต่อต้านทหาร ทำให้รัฐบาลโจมตีอารามและจับกุมพระสงฆ์ร้อยกว่ารูป พระสงฆ์หลายรูปถูกจำคุกเป็นเวลายาวนาน และสั่งให้สึกทั้งหมด พระบางรูปถูกทรมาณขณะสอบสวน
199825 มกราคม – กลุ่มก่อการร้ายกองทัพพยัคฆ์ปลดปล่อยทมิฬอีแลมระเบิดฆ่าตัวตายที่วัดพระเขี้ยวแก้ว สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในศรีลังกากับแหล่งมรดาโลกของยูเนสโก ซึ่งบรรจุฟันของพระพุทธเจ้า มีประชาชนเสียชีวิต 8 คน และบาดเจ็บ 25 คน และสร้างความเสียหหายกับโครงสร้างวัดที่สร้างมาตั้งแต่ ค.ศ. 1592

คริสต์ศตวรรษที่ 21

วันที่เหตุการณ์
2001พฤษภาคม – พระพุทธรูปแห่งบามียานถูกพวกตอลิบานระเบิดทำลายที่บามยาน ประเทศอัฟกานิสถาน
2003Ayya Sudhamma Bhikkhuni เป็นหญิงอเมริกันคนแรกที่ได้รับการอุปสมบทเป็นภิกษุณีแบบเถรวาทที่ศรีลังกา[20][21][22]
2006Merle Kodo Boyd เกิดที่รัฐเท็กซัส เป็นหญิงชาวแอฟริกัน–อเมริกันคนแรกที่ได้รับการถ่ายทอดธรรมะแบบเซ็น[23]
2007Myokei Caine-Barrett เกิดและอุปสมบทที่ญี่ปุ่น เป็นภิกษุณีนิจิเร็งรูปแรกในอเมริกาเหนือ[24]
2011ทาง Institute for Buddhist Dialectical Studies (IBD) ที่ธรรมศาลา ประเทศอินเดีย มอบปริญญา geshe ให้กับเกลซัง วังโม ภิกษุณีชาวเยอรมัน ทำให้เธอกลายเป็นผู้หญิงคนแรกของโลกที่ได้รับ geshe[25][26]
2013หญิงทิเบตสามารถเข้าสอบ geshe ครั้งแรก[27]
2014ก่อตั้งมหาวิทยาลัยนาลันทาที่ราชคฤห์ โดยมีการให้ที่ดิน 455 เอเคอร์และจัดสรรจากรัฐบาลอินเดีย 2727 โกฏิ (10 ล้าน) รูปีอินเดีย (ประมาณ 454 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[28] และได้รับทุนจากรัฐบาลจีน, สิงคโปร์, ออสเตรเลีย, ไทย และอื่น ๆ[29]
2016ภิกษุณีทิเบต 20 รูปเป็นหญิงทิเบตรูปแรกที่ได้รับปริญญา geshe[30][31]

ใกล้เคียง

เส้นเวลาสงครามอิสราเอล–ฮะมาส พ.ศ. 2566 เส้นเวลาของศาสนาพุทธ เส้นเวลาการระบาดทั่วของโควิด-19 เส้นเวลาการสำรวจระบบสุริยะ เส้นเวลาของอนาคตไกล เส้นเวลาของอนาคตอันใกล้ เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะ เส้นเวลาของบิกแบง เส้นเวลาของเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก เส้นเวลาของคณิตศาสตร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: เส้นเวลาของศาสนาพุทธ http://www.chron.com/disp/story.mpl/life/religion/... http://www.easternmartialarts.com/kungfu_history.h... http://www.huffingtonpost.com/michaela-haas/buddhi... http://economictimes.indiatimes.com/news/politics-... http://timesofindia.indiatimes.com/india/Nalanda-U... http://www.lionsroar.com/twenty-tibetan-buddhist-n... http://press.princeton.edu/chapters/s10500.pdf http://indology.info/papers/cousins http://www.buddhanet.net/e-learning/history/s_scri... http://www.carolinabuddhist.net/bhikkhunisudhammab...