ภูมิหลังทางการเมือง ของ สงครามโบชิน

ประวัติศาสตร์จักรวรรดิญี่ปุ่น

วิกฤตการณ์การเงินโชวะ
กระบวนการสันติภาพแมนจูกัว
กติกาสัญญาต่อต้านคอมมิวนิสต์สากล
สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
กติกาสัญญาไตรภาคี
กติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น
สงครามแปซิฟิก
การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ
สงครามโซเวียต-ญี่ปุ่น
การยอมจำนนของญี่ปุ่น
การยึดครองญี่ปุ่นโดยฝ่ายสัมพันธมิตร

ความไม่พอใจรัฐบาลโชกุนช่วงต้น

ดูบทความหลักที่: บะกุมะสึ

เป็นเวลาสองศตวรรษก่อนหน้า ค.ศ. 1854 ญี่ปุ่นจำกัดการติดต่อกับต่างประเทศอย่างรุนแรง โดยยกเว้นสำคัญ คือ เกาหลีผ่านทางเกาะสึชิมะ จักรวรรดิต้าชิงผ่านทางหมู่เกาะริวกิว และดัตช์ผ่านทางสถานีการค้าเกาะเดะจิมะ[3] ใน ค.ศ. 1854 พลเรือจัตวาแมทธิว ซี. เพร์รี ได้ขู่ใช้กำลังบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศสู่การค้าโลก นำมาซึ่งยุคสมัยการพัฒนาอย่างรวดเร็วในการค้าต่างประเทศและการทำให้เป็นตะวันตก (Westernization) ส่วนใหญ่เนื่องจากเงื่อนไขอัปยศของสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมต่าง ๆ ดังที่เรียกความตกลงเช่นที่เพอร์รีถ่ายทอด ไม่นานรัฐบาลโชกุนเผชิญกับบความเป็นปรปักษ์ภายในประเทศ ซึ่งปรากฏเป็นรูปธรรมเป็นขบวนการมูลวิวัติ "ซนโนโจอิ" (ความหมายตามตัวแปลว่า "เทิดทูนจักรพรรดิ ขับอนารยชน")[4]

เรือ คันรินมะรุ ของฝ่ายรัฐบาลโชกุน เรือรบไอน้ำขับเคลื่อนด้วยใบจักรลำแรกของประเทศญี่ปุ่น ใน ค.ศ. 1855 รัฐบาลโชกุนมุ่งทำให้ทันสมัยอย่างขันแข็ง แต่เผชิญกับความไม่พอใจในประเทศที่เพิ่มขึ้นต่อภัยคุกคามอธิปไตยของชาติจากการติดต่อกับชาวตะวันตก

จักรพรรดิโคเมทรงเห็นด้วยกับอารมณ์ดังกล่าว และทรงเริ่มแสดงบทบาทในกิจการของรัฐ อันเป็นการทำลายธรรมเนียมของจักรพรรดิหลายศตวรรษ เมื่อสบโอกาส พระองค์ทรงวิพากษ์วิจารณ์สนธิสัญญาต่าง ๆ อย่างรุนแรง และทรงพยายามก้าวก่ายการสืบทอดตำแหน่งโชกุน ความพยายามของพระองค์สิ้นสุดด้วย "พระราชโองการขับอนารยชน" ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1863 แม้รัฐบาลโชกุนไม่มีความตั้งใจบังคับใช้ กระนั้นพระราชโองการก็จุดประกายการโจมตีรัฐบาลโชกุนเองและชาวต่างชาติในญี่ปุ่นขึ้นมา กรณีที่โด่งดังที่สุด คือ การเสียชีวิตของพ่อค้าอังกฤษชื่อ ชาร์ล เลนน็อกซ์ ริชาร์ดสัน (Charles Lennox Richardson) การเสียชีวิตของเขาทำให้รัฐบาลเอโดะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทน 100,000 ปอนด์สเตอร์ลิง[5] การโจมตีอื่นมีการระดมยิงการเดินเรือของต่างชาติในชิโมะโนะเซะกิ[6]

ระหว่าง ค.ศ. 1864 ต่างชาติตอบแทนการกระทำเหล่านี้สำเร็จด้วยการทำตอบโต้ด้วยอาวุธ เช่น การยิงถล่มคาโงชิมะของอังกฤษ และการยิงถล่มชิโมะโนะเซะกิโดยกองเรือนานาชาติ เวลาเดียวกัน กำลังแคว้นโชชูพร้อมด้วยโรนิน ก่อกบฏฮะมะกุริเพื่อยึดพระนครเกียวโตอันเป็นที่ตั้งของราชสำนักแต่ถูกกำลังรัฐบาลโชกุน ภายใต้การนำของโทกูงาวะ โยชิโนบุ อนาคตโชกุน รัฐบาลโชกุนออกคำสั่งเพิ่มให้มีการรบนอกประเทศลงโทษแคว้นโชชู และได้รับการยอมอ่อนน้อมของโชชูโดยปราศจากการรบอย่างจริงจัง ณ จุดนี้ การต่อต้านทีแรกในบรรดาผู้นำในโชชูและราชสำนักจักรพรรดิเพลาลง แต่ในปีต่อมา โทกุงะวะพิสูจน์ว่าไม่สามารถกลับควบคุมประเทศอย่างสมบูรณ์ได้เพราะไดเมียวส่วนใหญ่เริ่มเมินเฉยต่อคำสั่งและคำถามจากเอะโดะ[7]

ความช่วยเหลือทางทหารจากต่างชาติ

ภาพวาดกองทหารยุคบะกุมะสึบริเวณใกล้ภูเขาฟุจิใน ค.ศ. 1867 โดยจูลส์ บรูเนต์ นายทหารชาวฝรั่งเศส แสดงภาพการผสมผสานระหว่างญี่ปุ่นและชาติตะวันตกจากแหล่งต่างๆ

แม้เหตุยิงถล่มคาโงชิมะ แคว้นซัตสึมะก็ยังใกล้ชิดกับบริเตนมากขึ้น และมุ่งทำให้กองทัพบกและกองทัพเรือของตนให้ทันสัยด้วยการสนับสนุนจากชาติดังกล่าว[8] โทมัส เบลก โกลเวอร์ พ่อค้าชาวสกอต ขายปืนและเรือรบจำนวนมากให้หลายแคว้นทางใต้[9] ผู้เชี่ยวชาญทางทหารหลายคนชาวอเมริกันและอังกฤษหลายคน ซึ่งโดยทั่วไปเป็นอดีตนายทหาร อาจมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในความพยายามทางทหารนี้[10] แฮร์รี สมิธ ปากส์ (Harry Smith Parkes) เอกอัครราชทูตบริเตน สนับสนุนกำลังฝ่ายต่อต้านรัฐบาลโชกุนในการผลักดันให้สถาปนาการปกครองของจักรพรรดิเอกภาพและชอบธรรมในประเทศญี่ปุ่น และเพื่อตอบโต้อิทธิพลของฝรั่งเศสกับรัฐบาลโชกุน ในระยะเวลาดังกล่าว ผู้นำญี่ปุ่นภาคใต้ เช่น ไซโง ทะกะโมะริแห่งซัตสึมะ หรืออิโต ฮิโระบุมิ และอิโนะอุเอะ คะโอะรุแห่งโชชู เริ่มสร้างสายสัมพันธ์เฉพาะบุคคลกับนักการทูตบริติชหลายคน ที่สำคัญได้แก่ เออร์เนสต์ เมสัน ซาโตว์ (Ernest Mason Satow).[11]

รัฐบาลโชกุนยังเตรียมรับความขัดแย้งอีกโดยการทำให้กองทัพของตนทันสมัย ตามแนวการออกแบบของปากส์ ชาวบริติช ซึ่งจนถึงเวลานั้นเป็นหุ้นส่วนหลักของรัฐบาลโชกุน พิสูจน์ว่าไม่เต็มใจยื่นความช่วยเหลือ โทกุงะวะจึงอาศัยความชำนาญของฝรั่งเศสเป็นหลัก โดยสบายใจกับเกียรติภูมิทางทหารของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ในเวลานั้น ซึ่งได้มาจากความสำเร็จในสงครามไครเมียและสงครามอิตาลี

รัฐบาลโชกุนดำเนินก้าวสำคัญสู่การสร้างกองทัพสมัยใหม่ที่ทรงอำนาจ คือ กองทัพเรือโดยมีแกนกลางเป็นเรือรบไอน้ำแปดลำที่มีการสร้างโดยใช้เวลาหลายปีและเป็นกองทัพเรือที่เข้มแข็งที่สุดในทวีปเอเชียแล้ว ใน ค.ศ. 1865 มีการก่อสร้างโรงงานสรรพาวุธกองทัพเรือสมัยใหม่แห่งแรกของประเทศญี่ปุ่นในโยะโกะซุกะโดย Léonce Verny วิศวกรชาวฝรั่งเศส ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1867 คณะผู้แทนทหารฝรั่งเศสมาถึงเพื่อจัดระเบียบกองทัพรัฐบาลโชกุนใหม่และสร้างกำลังหัวกะทิเด็นชูตะอิ และมีคำสั่งซื้อเรือรบซีเอสเอส สโตนวอลล์ เรือรบหุ้มเกราะเหล็ก (ironclad) ที่ฝรั่งเศสสร้าง จากสหรัฐ ซึ่งเป็นสิ่งตกทอดจากสงครามกลางเมืองอเมริกา เนื่องจากชาติตะวันตกประกาศเป็นกลาง อเมริกาจึงปฏิเสธไม่ขายเรือ แต่เมื่อยกเลิกความเป็นกลางแล้ว กลุ่มแยกจักรพรรดิได้เรือและใช้ในยุทธนาการในฮาโกดาเตะโดยใช้ชื่อว่า โคเตะสึ ("เรือหุ้มเกราะเหล็ก")

รัฐประหาร

กองทัพของรัฐบาลโชกุนในปี ค.ศ. 1866 กองทัพสมัยใหม่ของรัฐบาลโชกุนในเวลานั้นปรากฏชัดว่ายังเป็นรองกองทัพของแคว้นโชชู

หลังรัฐประหารในโชชูซึ่งส่งผลให้กลุ่มแยกต่อต้านรัฐบาลโชกุนหัวรุนแรงกลับเถลิงอำนาจ รัฐบาลโชกุนจึงประกาศเจตนานำการรบนอกประเทศโคชูครั้งที่สองเพื่อลงโทษแคว้นทรยศนั้น เหตุนี้กระตุ้นให้โชชูตั้งพันธมิตรกับแคว้นซัตสึมะอย่างลับ ๆ ในฤดูร้อน ค.ศ. 1866 รัฐบาลโชกุนแพ้ต่อโคชู ทำให้เสื่อมอำนาจลงมาก ทว่า ปลาย ค.ศ. 1866 ทีแรกโชกุนอิเอะโมะชิเสียชีวิต แล้วจักรพรรดิโคเมเสด็จสวรรคต ซึ่งตำแหน่งตกแก่โยชิโนบุและจักรพรรดิเมจิตามลำดับ เหตุการณ์เหล่านี้ "ทำให้เลี่ยงการสงบศึกไม่ได้" ตามคำของนักประวัติศาสตร์ มารีอัส เจนเซน[12]

วันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1867 มีการประกอบพระราชโองการลับโดยแคว้นซัตสึมะและแคว้นโชชูในพระปรมาภิไธยจักรพรรดิเมจิ บัญชาให้ "ฆ่าโยชิโนบุโทษฐานทรยศ"[13] ทว่า ก่อนหน้านี้ และให้หลังข้อเสนอจากไดเมียวโทะซะ โยชิโนบุลาออกจากตำแหน่งและถวายอำนาจคืนแก่จักรพรรดิ โดยตกลง "เป็นเครื่องมือนำไปปฏิบัติ" ซึ่งพระบรมราชโองการของจักรพรรดิ[14] รัฐบาลเอโดะจึงสิ้นสุด[15]

แม้การลาออกของโยชิโนบุทำให้เกิดสุญญากาศในตำแหน่งระดับสูงสุดของรัฐบาล ระบบกลไกรัฐของเขานั้นยังดำรงอยู่ ยิ่งกว่านั้นรัฐบาลโชกุน โดยเฉพาะตระกูลโทกูงาวะ จะยังเป็นกำลังสำคัญในระเบียบการเมืองที่วิวัฒนาและจะมีอำนาจบริหารหลายอย่าง[16] เป็นภาพที่ผู้ไม่ประนีประนอม (hard-liner) จากซัตสึมะและโชชูทนไม่ได้[17] เหตุการณ์มาถึงจุดสูงสุดในวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1868 เมื่อทั้งสองแคว้นยึดพระราชวังจักรพรรดิที่กรุงเกียวโต และในวันรุ่งขึ้น จักรพรรดิเมจิ พระชนมายุ 15 พรรษา ทรงประกาศฟื้นฟูพระราชอำนาจเต็มของพระองค์ แม้สภาองคมนตรีจักรพรรดิฝ่ายข้างมากสุขกับคำประกาศการปกครองโดยตรงอย่างเป็นทางการของราชสำนักและมีแนวโน้มสนับสนุนการร่วมมือกับโทกูงาวะต่อ (ภายใต้มโนทัศน์ "รัฐบาลอันเป็นธรรม" ญี่ปุ่น: 公議政体 ทับศัพท์kōgiseitai) แต่ไซโง ทะกะโมะริคุกคามสภาให้เลิกตำแหน่ง "โชกุน" และสั่งริบที่ดินของโยชิโนบุ[18]

แม้ทีแรกเขาเห็นพ้องกับข้อเรียกร้องเหล่านี้ แต่ในวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1868 โยชิโนบุประกาศว่า เขาไม่ถูกผูกมัดกับคำประกาศฟื้นฟูพระราชอำนาจและเรียกร้องให้เลิกประกาศนั้น[19] วันที่ 24 มกราคม โยชิโนบุตัดสินใจเตรียมการโจมตีพระนครเกียวโตซึ่งถูกกำลังซัตสึมะและโชชูยึดครองอยู่ การตัดสินใจดังกล่าวนี้ถูกกระตุ้นจากที่เขาทราบว่าเกิดการลอบวางเพลิงหลายครั้งในเอะโดะ เริ่มจากการเผาฝ่ายหน้าของปราสาทเอะโดะ อันเป็นที่พำนักหลักของตระกูลโทกูงาวะ เหตุนี้ถูกกล่าวโทษแก่โรนินซัตสึมะ ซึ่งในวันนั้นโจมตีสำนักงานรัฐบาลแห่งหนึ่ง วันรุ่งขึ้น กำลังรัฐบาลโชกุนสนองโดยโจมตีที่พำนักของไดเมียวซัตสึมะในเอะโดะ ซึ่งคู่แข่งหลายคนของรัฐบาลโชกุน ภายใต้การชี้นำของทะกะโมะริ กำลังซ่อนตัวและก่อปัญหาอยู่ พระราชวังถูกเผหา และคู่แข่งหลายคนถูกฆ่าหรือถูกประหารชีวิตทีหลัง[20]

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามแปซิฟิก สงครามเกาหลี สงครามอ่าว สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามครูเสด สงครามกัมพูชา–เวียดนาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: สงครามโบชิน http://homepage3.nifty.com/naitouhougyoku/sub55.ht... http://www.uwosh.edu/home_pages/faculty_staff/earn... http://jpimg.digital.archives.go.jp/kouseisai/cate... http://www.eonet.ne.jp/~chushingura/p_nihonsi/epis... http://www.worldcat.org/oclc/50875162 http://www.worldcat.org/title/making-of-modern-jap... http://www.worldcat.org/title/treasures-among-men-... http://www.worldcat.org/wcpa/oclc/46731178 https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Boshin...